picture
รายงานการสาธารณสุขไทย 2554 - 2558

บรรณาธิการ  นายแพทย์ภูษิต ประคองสาย
ผู้ช่วยบรรณาธิการ  นางสาวอารี สุทธิอาจ , นางสาวอารี สุทธิอาจ


กระทรวงสาธารณสุข โดยสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวง สาธารณสุขได้จัดทำรายงานการสาธารณสุขไทย (Thailand Health Profile) เป็นประจำทุก 2 ปี และสำหรับ ฉบับนี้เป็นฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2554-2558) ซึ่งเนื้อหายังคงต่อเนื่องจากฉบับก่อน และมีเนื้อหาเพิ่มเติมเกี่ยวกับสถานการณ์ ด้านสุขภาพที่เป็นประเด็นสำคัญในสถานการณ์ปัจจุบัน เป็นระยะเวลา 4 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 ถึงปี พ.ศ. 2558

สำหรับเนื้อหาสาระสำคัญในรายงานฉบับนี้ เป็นเนื้อหาที่ได้จากการทบทวนสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับ ระบบสาธารณสุขทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยผ่านกระบวนการสังเคราะห์และวิเคราะห์จากผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ ครอบคลุมทุกมิติ อาทิ ความพร้อมด้านสาธารณสุขของประเทศไทยในประชาคมอาเซียน ประเทศไทยกับการพัฒนาระบบสุขภาพโลก โรคติดต่ออุบัติใหม่ สิ่งแวดล้อมและสุขภาพคนไทย ระบบการแพทย์ ฉุกเฉินเพื่อรองรับภาวะปกติและภาวะพิบัติในประเทศ และสุดท้ายเป็นการเรียบเรียงเกี่ยวกับ 100 ปีการสาธารณสุข ไทย

จัดทำโดย  สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข
สนับสนุนโดย   กระทรวงสาธารณสุข , สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (แผนงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าสารสุขภาพ)
สารบัญรายงานการสาธารณสุขไทย 2554 - 2558

  ส่วนนำรายงานการสาธารณสุขไทย 2554 - 2558
คำนำ , รายนามผู้จัดทำเฉพาะบท , สารบัญตาราง , สารบัญภาพ
  บทที่ 1 พระราชจักรีวงศ์และการสาธารณสุขไทย
1. ยุคฟื้นฟูวิทยาการแพทย์แผนไทย ( พ.ศ. 2325 – 2394 )
2. ยุคบ้านเมืองเจริญรุ่งเรือง
3. ยุคบุกเบิกของการแพทย์และการสาธารณสุขแผนปัจจุบัน ( พ.ศ. 2460 – 2472 )
4. ยุคกำเนิดกระทรวงสาธารณสุข
5. ยุคสมัยรัชกาลที่ 9 ( ครองราชย์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2498 จนถึงพ.ศ. 2559)
  บทที่ 2 พระราชกรณียกิจที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ
1. โครงการเฉลิมพระเกียรติ โครงการตามพระราชดำริโครงการถวายเป็นพระราชกุศล และโครงการเทิดพระเกียรติพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์และอื่นๆ ในช่วงปีงบประมาณ 2558 ของกระทรวงสาธารณสุข
2. โครงการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558
  บทที่ 3 กรอบนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพของไทย
1. กรอบยุทธศาสตร์สุขภาพโลกของประเทศไทย พ.ศ. 2559 - 2563
    ( Thailand Global Health Strategic Framework 2016 – 2020 )
2. ทิศทางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 ( พ.ศ. 2560 – 2564 )
3. นโยบายที่สำคัญของกระทรวงสาธารณสุข
   3.1 นโยบายทีมหมอครอบครัว
   3.2 โครงการควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนแห่งชาติ
4. จากเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ ( Millennium Development Goals )
   สู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ( Sustainable Development Goals: SDGs )
5. พัฒนาการของกระบวนการนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ
  บทที่ 4 สถานการณ์แนวโน้มของปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ
1. สถานการณ์และแนวโน้มด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ
2. สถานการณ์และแนวโน้มด้านการศึกษา
3. สถานการณ์และแนวโน้มด้านประชากร ครอบครัวและการอพยพย้ายถิ่น
4. คุณภาพชีวิตของคนไทย
5. สถานการณ์และแนวโน้มด้านสภาพแวดล้อมในการดำรงชีวิต
6. สถานการณ์และแนวโน้มทางด้านการเมืองและการปกครอง
7. สถานการณ์และแนวโน้มด้านเทคโนโลยีที่มีผลต่อการสาธารณสุข
8. พฤติกรรมสุขภาพ
  บทที่ 5 สถานะสุขภาพและปัญหาสุขภาพของคนไทย
1. ดัชนีชี้วัดสภาวะสุขภาพทั่วไป
2. ปัญหาสุขภาพที่สำคัญ
  บทที่ 6 ระบบสุขภาพของประเทศไทย
1. ระบบสุขภาพแห่งชาติ
2. การปฏิรูปด้านสุขภาพ
3. การอภิบาลระบบสุขภาพ
4. การมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับระบบสุขภาพไทย
  บทที่ 7 ระบบบริการสุขภาพของประเทศไทย
1. กำลังคนด้านสุขภาพ
2. สถานบริการด้านสุขภาพ
3. ยาและเทคโนโลยีด้านสุขภาพ
4. การเงินการคลังด้านสุขภาพ
5. การเข้าถึงบริการสุขภาพ
6. ประสิทธิภาพและคุณภาพของการใช้บริการสุขภาพ
7. ความเป็นธรรมของบริการสุขภาพ
8. บทสรุประบบบริการสุขภาพในภาพรวม
  บทที่ 8 ผลสัมฤทธิ์และความท้าทายของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ในประเทศไทย

1. พัฒนาการของระบบประกันสุขภาพในประเทศไทย
2. ผลสัมฤทธิ์ของการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
3. การพัฒนาศักยภาพและความเข้มแข็งของระบบสุขภาพของประเทศไทย
4. ความท้าทายของระบบประกันสุขภาพ
5. บทสรุปการพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพไทยในอนาคต
  บทที่ 9 ความพร้อมด้านสาธารณสุขของประเทศไทยในประชาคมอาเซียน
1. สภาพการณ์ประชาคมอาเซียนและผลกระทบต่อประเทศไทยในด้านสุขภาพและ ระบบสาธารณสุขในการรวมประชาคม
2. การเตรียมความพร้อมทางด้านสาธารณสุขเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
3. การดำเนินการเชิงรับและเชิงรุกตามยุทธศาสตร์สาธารณสุขอาเซียน
  บทที่ 10 ประเทศไทยกับการพัฒนาระบบสุขภาพโลก ( Global Health )
1. ความสำคัญ
2. นิยามและพหุมิติของระบบสุขภาพโลก
3. สถานการณ์โดยรวมของระบบสุขภาพโลกในปัจจุบัน
บทบาทของประเทศไทยกับระบบสุขภาพโลก
5. การพัฒนาศักยภาพของประเทศไทย
6. การพัฒนาเครือข่ายด้านสุขภาพโลกในประเทศไทย
  บทที่ 11 โรคติดต่ออุบัติใหม่ในประเทศไทย
1. สถานการณ์โรคติดต่ออุบัติใหม่ที่สำคัญระหว่างปี พ.ศ. 2554 - 2558
2. การดื้อยาต้านจุลชีพ
3. แผนยุทธศาสตร์ระดับชาติเกี่ยวกับการควบคุมป้องกันโรคติดต่ออุบัติใหม่
  บทที่ 12 สิ่งแวดล้อมและสุขภาพคนไทย
1. สถานการณ์ปัญหาผลกระทบต่อสุขภาพจากมลพิษสิ่งแวดล้อม
2. มาตรการที่สำคัญในการจัดการปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อสุขภาพ
3. นโยบายและแผนระดับชาติที่เกี่ยวข้องกับงานอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม
  บทที่ 13 ระบบการแพทย์ฉุกเฉินเพื่อรองรับภาวะปกติและภาวะภัยพิบัติในประเทศ
1. แผนยุทธศาสตร์ระดับชาติเกี่ยวกับการแพทย์ฉุกเฉิน
2. แนวทางการพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉินในภาวะปกติและภาวะภัยพิบัติ
  บทที่ 14 วิวัฒนาการสาธารณสุขไทย
1. สถานการณ์แพทย์การสาธารณสุขไทยก่อนมีกรมสาธารณสุข
2. การแพทย์การสาธารณสุขไทยกับรัฐสมัยใหม่
3. การแพทย์การสาธารณสุขไทยยุคสงครามเย็น
4. การแพทย์การสาธารณสุขไทยในยุคโลกาภิวัฒน์
5. บทบาทการแพทย์ไทยในการมีส่วนร่วมทางการเมืองในแต่ละยุคสมัย
6. สรุปและวิเคราะห์บทบาทการแพทย์การสาธารณสุขในมิติสังคม เศรษฐกิจและการเมือง
  บทที่ 15 ข้อมูลพื้นฐานประเทศไทย
1. ที่ตั้ง อาณาเขตและพรมแดน
2. ลักษณภูมิประเทศและภูมิอากาศของไทย
3. ประชากร ภาษาและศาสนา
4. เศรษฐกิจ
5. ระบบการปกครองของไทย
  บรรณานุกรม