สุขภาพคนไทย 2553 เล่มนี้ได้นเสนอหัวข้อพิเศษประจำฉบับเรื่อง
วิกฤตทุนนิยม สังคมมีโอกาส? ที่ชี้ให้เห็นถึงอุดมการณ์ของทุนนิยมที่เป็น
ต้นตอของปัญหาหลายเรื่องข้างต้น เช่น การมุ่งแสวงหากำไร หรือการเติบโตทาง
เศรษฐกิจที่มีการทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ก่อให้เกิดปัญหา
มลพิษ และปัญหาโลกร้อน การเน้นการแข่งขันที่ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำ
ในสังคม ท้ายบทความนี้ได้เปิดประเด็นที่น่าคิดว่า วิกฤตทุนนิยม ที่เกิดขึ้น
ครั้งแล้วครั้งเล่าในประวัติศาสตร์นั้น เราจะนำสิ่งที่เราได้เรียนรู้มาเปลี่ยนวิกฤต
เป็นโอกาสได้อย่างไร เพื่อให้เกิด ทุนนิยมที่ดีกว่า ไม่ใช่ทุนนิยมที่มุ่งจะแสวงหา
กำรเพียงอย่างเดียว แต่เป็นทุนนิยมที่กลไกตลาดถูกกำกับควบคุมอย่างเหมาะสม
มีความโปร่งใส และเป็นธรรม และเกิดประโยชน์แก่คนส่วนใหญ่ในสังคม
ดัชนีชี้วัดทางสุขภาพในปีนี้นำเสนอเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพของ
แรงงานไทย ซึ่งมีทั้งหมด 12 หมวด ครอบคลุมทั้งเรื่องสุขภาพ
กายและใจ คุณภาพชีวิตแรงงาน ภาวะการเงิน ความปลอดภัยใน
การทำน แรงงานนอกระบบ แรงงานที่อยู่ในภาวะยากลำบาก
และประเด็นอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ในส่วนของ 10 สถานการณ์เด่นทาง
สุขภาพ ที่ได้มาจากการสำรวจความคิดเห็นจากภาคประชาชน
ปีนี้หนีไม่พ้นเรื่องวิกฤตการณ์ทางการเมืองที่ยืดเยื้อมากว่า 4 ปี
มาบตาพุดที่ปัญหาต่างๆ เริ่มเผยออกมาอย่างต่อเนื่อง ไข้หวัดใหญ่
สายพันธุ์ใหม่ที่คร่าชีวิตคนทั่วโลกนับหมื่นคน ฯลฯ ติดตามบันทึก
เหตุการณ์สำคัญในรอบปีที่ผ่านมาได้ใน สุขภาพคนไทย 2553
เล่มนี้
จัดทำโดย | สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล (วปส.) | |||
สนับสนุนโดย | สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
(แผนงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าสารสุขภาพ) |