picture
รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย สุขภาพเด็ก
คร้ังที่ 5 พ.ศ. 2557

โครงการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายเป็นโครงการสำรวจสถานะสุขภาพของประเทศที่ สำคัญ ที่ช่วยเฝ้าระวงัสภาวะทางสุขภาพประชาชนไทยการดา เนินการสำรวจคร้ังที่ 5 น้ีมีประเด็นทางสุขภาพที่ครอบคลุม ในการสำรวจคร้ังน้ีมีท้งัในเรื่องพฤติกรรมสุขภาพ สิ่งแวดล้อม ภาวะโภชนาการ พัฒนากรทางสติปัญญา และพัฒนาการ ด้านอารมณ์-จิตใจ-สังคม และจริยธรรมของเด็กไทย เป็นต้น

ข้อมูลจากการสำรวจน้ีเป็นส่วนหน่ึงของข้อมูลที่ช่วยให้ผู้ที่เกี่ยวข้องภาคส่วนต่างๆ ในภาครัฐและเอกชน ทั้งใน ส่วนที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ และหน่วยงานและหน่วยอื่นๆ นำไปใช้ประโยชน์ในการปรับเปลี่ยนดำเนินการระบบบริการ สุขภาพ นำไปสู่สังคมที่มีสุขภาวะบทความพิเศษประจำฉบับในปีนี้ ชวนท่านผ้อู่านมาทบทวนเรื่องพุทธศาสนา ว่าจะสามารถเอื้อต่อการสร้างสุขภาวะได้อย่างไร ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของสังคม ที่มีผลต่อความคิดความเชื่อและวิถีชีวิต เราจึงเปิดประเด็นชวนคิดว่า ศาสนายังมี ความสำคัญและจำเป็นต่อชีวิตมนุษย์อยู่หรือไม่? และเพื่อที่จะเข้าใจความเชื่อมโยงระหว่างพุทธศาสนากับสุขภาวะในปัจจุบัน ก็จำเป็นจะต้องรับรู้รับทราบที่มาของพุทธศาสนาก่อนว่าเข้ามาในแผ่นดินไทยเมื่อใด อย่างไร และทำหน้าที่ต่อสังคมไทย อย่างไรบ้าง บทความนี้ นำท่านวิเคราะห์ความเกี่ยวข้องระหว่างแก่นแท้ของพุทธศาสนา คือ หลักธรรมและวินัย ที่เป็น แนวทางของการสร้างสุขภาวะในทุกมิติ โดยได้เน้นให้เห็นความสำคัญของมิติทางปัญญา ที่ถือเป็นพื้นฐานของความสุข ทางกาย ทางจิตใจ และทางสังคม ปัญญา จะนำให้คนเรามองเห็นชีวิตตามความเป็นจริง หรือตามกฎของธรรมชาติ และใช้ชีวิต โดยไม่ประมาท ไม่ว่าจะการเป็นอยู่ การบริโภคอาหาร การประพฤติปฏิบัติ แล้วปัจจุบันนี้ กลไกของพุทธศาสนา ได้ทำ หน้าที่สร้าง ปัญญา ให้สังคมหรือไม่ นั่นคือ สิ่งที่ท่านจะได้เรียนรู้ต่อไป พระสงฆ์และวัด ทำหน้าที่สร้างเสริมสุขภาวะอย่างไร เช่น ธรรมเนียมการบวช บทบาทของวัดต่อชุมชน รวมไปถึงบทบาทของขบวนการชาวพุทธ ที่เกิดขึ้นมาช้านาน ท้ายที่สุด บทความได้ข้อสรุปว่า พุทธศาสนา เป็นหนทางไปสู่การสร้างสุขภาวะไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง และในระดับที่มากน้อยต่างกัน ขึ้นอยู่ที่ว่าพวกเรานับถือพุทธศาสนาแบบไหน

สนับสนุนโดย    สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.)
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

picture
รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย
ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557


โครงการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย เป็นโครงการสำรวจสถานะสุขภาพของประเทศที่สำคัญ ที่ช่วยเฝ้าระวังสภาวะทางสุขภาพประชาชนไทย การดำเนินการสำรวจครั้งที่ 5 นี้เริ่มต้นเตรียมการมาตั้งแต่ปี 2555 ดำเนินงาน ภาคสนามในปี 2557 และเสร็จในต้นปี 2558 เนื่องจากมีฐานข้อมูลจากหลายแหล่งจึงใช้เวลาในการดำเนินงาน ผ่านผู้อำนวยการ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขมาหลายท่านจนถึงปัจจุบัน ประเด็นทางสุขภาพที่ครอบคลุมในการสำรวจครั้งนี้มีทั้งในเรื่อง พฤติกรรมสุขภาพ ภาวะโรคที่สามารถตรวจวัดพื้นฐาน ได้แก่ การวัดสัดส่วนร่างกาย ความดันโลหิต และการตรวจวัดน้ำตาลในเลือด เป็นต้น โดยครอบคลุมทั้งในวัยทำงาน และวัยผู้สูงอายุ


ปัญหาสุขภาพอันดับต้นของสังคมในขณะนี้คือ โรคจากพฤติกรรมทางสุขภาพ การบาดเจ็บจากอุบัติภัย โรคไม่ติดต่อ เรื้อรัง การสำรวจภาวะสุขภาพโดยการตรวจร่างกายครั้งนี้ ทำให้เห็นภาพปัญหาพฤติกรรมสุขภาพที่มีแนวโน้มที่ลดลง ได้แก่ การสูบบุหรี่ในประชากรโดยรวมลดลง และการดื่มสุรา สำหรับการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพออยู่ในสถานะเดิม สำหรับการกิน ผักผลไม้อย่างเพียงพอมีแนวโน้มดีขึ้นเล็กน้อย อย่างไรก็ตามปัญหาสุขภาพที่เกิดจากพฤติกรรม วิถีชีวิตยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะภาวะอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ซึ่งมีผลแทรกซ้อนต่ออุบัติการณ์โรคระบบหัวใจและหลอดเลือดที่จะเกิดขึ้น ในอนาคต ซึ่งเป็นภาระของสังคมและระบบบริการสุขภาพ การดำเนินกลยุทธ์เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการป้องกันและ ลดภาระโรคเหล่านี้จึงเป็นประเด็นสำคัญ



จัดทำโดย  สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.)
สนับสนุนโดย   สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข , สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ และสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข พ

picture
รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย
ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2551-2552

( รายงานการสำรวจการบริโภคอาหารของประชาชนไทย )


อาหารเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อชีวิตและสุขภาพของมนุษย์ การได้รับอาหารที่ไม่เหมาะสม ทั้งประเภทและ ปริมาณ ย่อมมีผลกระทบต่อสุขภาพอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การประเมินเพื่อทราบสถานะและพฤติกรรมการบริโภค อาหารของประชาชนจึงมีความสำคัญต่อการจัดการระบบสุขภาพและสุขภาวะของประชาชน ประเทศไทยมีการ สำรวจภาวะอาหารและโภชนาการของประชากรไทยมาแล้ว 5 ครั้ง โดยกองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวง สาธารณสุข และภาควิชาโภชนวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในปี พ.ศ. 2503, 2518, 2529, 2538 และ 2546 ตามลำดับ สำหรับการสำรวจด้านพฤติกรรมการบริโภคอาหารในปี พ.ศ. 2551-2 นี้ เป็น ส่วนหนึ่งของการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 4 ปี พ.ศ. 2551-2 ซึ่งดำเนินการโดย สำนักงานสำรวจสุขภาพประชาชนไทย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข และนับเป็นครั้งแรกของการสำรวจสุขภาพ ประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายที่มีการสำรวจด้านโภชนาการรวมอยู่ด้วย โดยการสำรวจครอบคลุมพฤติกรรม การกินอาหาร ความถี่ในการบริโภคอาหารชนิดต่างๆ และอาหารที่บริโภคย้อนหลัง 24 ชั่วโมง สำหรับใน รายงานฉบับนี้เป็นการเสนอผลการสำรวจความถี่ในการบริโภคอาหารและอาหารที่บริโภคย้อนหลัง 24 ชั่วโมง ที่ผ่านมา ทางคณะผู้ดำเนินงานหวังเป็นอย่างยิ่งว่า รายงานผลการศึกษานี้จะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินด้าน โภชนาการและสุขภาพของประชาชนไทยต่อไป

จัดทำโดย  สำนักงานสำรวจสุขภาพประชาชนไทย (สสท.)
สนับสนุนโดย   สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข , สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ , สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ , กระทรวงสาธารณสุข

picture
รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย
ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2551-2552

( สุขภาพเด็ก )


การสำรวจสุขภาพประชาชนไทย เป็นการสำรวจที่ครอบคลุมถึงการสัมภาษณ์ การตรวจร่างกาย และ การตรวจสารตัวอย่างด้วย ทำให้การสำรวจสุขภาพประชาชนไทยได้ข้อมูลที่มีจุดแข็งคือ เป็นข้อมูลสถานะสุขภาพ ของประชาชนที่มีความน่าเชื่อถือ และเป็นข้อมูลจากการสำรวจในชุมชนที่สามารถเป็นตัวแทนประชากรได้ นอกจากนี้ การสำรวจอย่างต่อเนื่อง ยังสามารถใช้ศึกษาแนวโน้มสถานะสุขภาพของประชาชนได้อย่างต่อเนื่องด้วย การ สำรวจสุขภาพประชาชนไทยครั้งหลังสุด เป็นการสำรวจครั้งที่ 4 (พ.ศ. 2551-2552) ซึ่งบริหารจัดการและ ดำเนินการโดย สำนักงานสำรวจสุขภาพประชาชนไทย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข โดยได้รับการสนับสนุน ด้านงบประมาณจาก สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานกองทุนสนับสนุนการ สร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และกรมอนามัย การเตรียมการสำรวจด้านวิชาการ ได้รับความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ จากมหาวิทยาลัยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การสำรวจภาคสนาม ได้รับความร่วมมือจากเครือข่ายนักวิชาการของมหาวิทยาลัยในภูมิภาคต่างๆ

รายงานผลการสำรวจสุขภาพเด็กไทยฉบับนี้ เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลจากการสำรวจสุขภาพประชาชน ไทยครั้งที่ 4 โดยเน้นกลุ่มเป้าหมายเด็ก ซึ่งจะเป็นกำลังสำคัญสำหรับการพัฒนาประเทศในอนาคต เนื้อหาจะ ครอบคลุมการนำเสนอปัจจัยเสี่ยงสุขภาพสำคัญได้แก่ พฤติกรรมพฤติกรรมทางสุขภาพ สถานสุขภาพทั่วไป ภาวะโภชนาการและการเจริญเติบโต และการพัฒนาทางสติปัญญา อารมณ์สังคมและจริยธรรม ข้อมูลทั้งหลายนี้ จึงเป็นประโยชน์อย่างมากต่อผู้กำหนดนโยบาย นักวิชาการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประชาชนทั่วไป

จัดทำโดย  สำนักงานสำรวจสุขภาพประชาชนไทย (สสท.)
สนับสนุนโดย   สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข , สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข , สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ , สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ , กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข , สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ

picture
รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทย
โดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 4 พ.ศ. 2551 - 2


การสำรวจสุขภาพประชาชนไทย เป็นการสำรวจที่ใช้มากกว่าแค่การสอบถามกลุ่มตัวอย่าง แต่ครอบคลุมถึงการตรวจร่างกายและการตรวจสารตัวอย่างด้วย ทำให้การสำรวจสุขภาพประชาชนไทย ได้ข้อมูลที่มีจุดแข็งคือ เป็นข้อมูลสถานะสุขภาพของประชาชนที่มีความน่าเชื่อถือ (เพราะมีการยืนยัน ด้วยการตรวจร่างกายและสารตัวอย่าง) และเป็นข้อมูลจากการสำรวจในชุมชนที่สามารถเป็นตัวแทน ประชากรได้ นอกจากนี้การสำรวจอย่างต่อเนื่อง ยังสามารถใช้ศึกษาแนวโน้มสถานะสุขภาพของ ประชาชนได้อย่างต่อเนื่องด้วย การสำรวจสุขภาพประชาชนไทยครั้งนี้เป็นครั้งที่ 4 (พ.ศ. 2551- 2552) ซึ่งบริหารจัดการและดำเนินการโดยสำนักงานสำรวจสุขภาพประชาชนไทย สถาบันวิจัย ระบบสาธารณสุข และได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณจาก สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานหลักประกันสุขภาพ แห่งชาติ และกรมอนามัย การเตรียมการสำรวจด้านวิชาการได้รับความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญ สาขาต่างๆ จากมหาวิทยาลัยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การสำรวจภาคสนามได้รับความร่วมมือ จากเครือข่ายนักวิชาการของมหาวิทยาลัยในภูมิภาคต่างๆ  รายงานผลการสำรวจฉบับสมบูรณ์นี้ เป็นผลของความพยายามและความร่วมมือของหน่วยงาน ต่างๆ ที่ทำงานนี้มานานกว่า 2 ปี เนื้อหาจะครอบคลุมการนำเสนอปัจจัยเสี่ยงสุขภาพสำคัญได้แก่ พฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับ การสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การบริโภคอาหาร กิจกรรม ทางกาย และสถานะทางสุขภาพต่างๆ โดยชี้ให้เห็นแนวโน้มเมื่อเปรียบเทียบกับการสำรวจครั้งที่ ผ่านมา (พ.ศ. 2546-2547) ข้อมูลทั้งหมดจึงเป็นประโยชน์อย่างมากต่อผู้กำหนดนโยบาย นักวิชาการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประชาชนทั่วไป

จัดทำโดย  สำนักงานสำรวจสุขภาพประชาชนไทย (สสท.)
สนับสนุนโดย   กระทรวงสาธารณสุข , สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ , สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข , สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

picture
การสำรวจสภาวะสุขภาพอนามัยของประชาชนไทย
โดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 3 พ.ศ. 2546 - 2547


ข้อมูลข่าวสารเป็นองค์ประกอบสำคัญอย่างยิ่งของการกำหนดนโยบาย แผนงานและการประเมินผลงานทุกระบบ โดยเฉพาะระบบสุขภาพที่ต้องใช้ข้อมูลที่มีความแม่นยำถูกต้องครอบถ้วน และทันเวลา ระบบข้อมูลตามรายงานจากสถานบริการทุกระดับที่รวบรวมเป็นรายเดือนและรายปีนั้นเป็นข้อมูลจากผู้ป่วยเพียงส่วนเดียวซึ่งไม่เพียงพอต่อการกำหนดนโยบายและแผนงานระยะยาวของประเทศ  สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ร่วมกับสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข สถาบันการศึกษาทั้งในกรุงเทพฯและภูมิภาค ได้ร่วมกันสร้างฐานข้อมูลสถานะสุขภาพของคนไทยอย่างต่อเนื่อง โดยมีการสำรวจสภาวะสุขภาพอนามัยคนไทยมาแล้ว 2 ครั้ง และครั้งที่ 3 ได้ดำเนินการในปี 2547 โดยการตรวจร่างกาย เจาะเลือด สัมภาษณ์กลุ่มประชากรตัวอย่างเกือบ 40,000 ราย ครอบคลุมทุกภาคทั้งในเขตเมืองและชนบท ข้อมูลทั้งหมดได้รับการวิเคราะห์ และรายงานผลเบื้องต้นตามที่ปรากฎในรายงานฉบับนี้และจะมีการวิเคราะห์เชิงลึกเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอื่นๆ เพื่อตีพิมพ์เป็นบทความทางวิชาการเผยแพร่ในโอกาศต่อไป

จัดทำโดย  สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข , สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ , กระทรวงสาธารณสุข
สนับสนุนโดย   สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ , สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

picture
ผลสภาวะสุขภาพอนามัยของประชาชน
โดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 2 พ.ศ. 2539 - 2540


สุขภาพของประชาชนในชาติ เป็นปัจจัยสำคัญต่อการพัฒนาและความั่นคงของประเทศ การสภาวะสุขภาพประชาชนไทย ในช่วงปี พ.ศ. 2539-2540 นี้ เป็นการสำรวจครั้งที่สองต่อเนื่องจากครัังแรกที่ได้ดำเนินการมาแล้วในปี พ.ศ. 2534 ที่ต้องการทราบสภาวะสุขภาพของประชาชน ในอันที่จะนำความรู้นั้น มาวางแผน และจัดการระบบการแพทย์ การสาธารณสุข ให้กับประชาชน ให้มีประสิทธิภาพที่สุด อย่างไรก็ตาม ด้วยสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งเศรษฐกิจ สังคม กลวิธีการสำรวจ และการจัดองค์กร ทำให้รูปแบบการสำรวจจำต้องเปลี่ยนแปลงไป ผลที่ได้ในครั้งนี้จึงไม่อาจจะนำไปเปรียบเทียบกับผลการสำรวจที่ผ่านมาแล้วได้โดยตรง

การสำรวจทั้งสองครั้งใช้ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ ตลอดจนมองปัญหาในกลุ่มอายุต่าง ๆ ของประชากร เช่นเดียวกัน แต่ก็มีความแตกต่างตรงที่การเลือกกลุ่มตัวอย่าง เพื่อให้ เป็นตัวแทนของประชาชนไทย โดยในการสำรวจครั้งนี้ใช้รายชื่อบุคคลตัวอย่าง ที่สุ่มมาจากการสำรวจการย้ายถิ่นประชากร และกำหนดขนาดตัวอย่าง ให้สามารถตอบคำถามในระดับภาค และกรุงเทพมหานครได้ ที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ การมองสภาวะสุขภาพ ทั้งด้านบวก และด้านลบ โดยเน้น เรื่องพัฒนาการ สำหรับเด็กปฐมวัย เรื่องเชาวน์ปัญญา ในเด็กวัยเรียน เรื่องสุขภาพ และ โรคที่ตรวจพบได้ง่าย สำหรับผู้ใหญ่วัยทำงาน และเรื่องภาวะพึ่งพิงสำหรับผู้สูงอายุ ทำให้ดูเหมือนว่าเป็นการสำรวจ 4 โครงการ พร้อม ๆ กันไป ใน 5 ท้องถิ่น (4 ภาค และ กรุงเทพมหานคร)

ผลการสำรวจ แสดงให้เห็นชัดว่า พัฒนาการทางสังคมเศรษฐกิจที่ผ่านมาอย่างมากมาย ไม่ได้เอื้อประโยชน์ด้านสุขภาพ ให้กับประชาชนในสัดส่วนเดียวกันเลย ตรงกันข้าม ประชากรในเขตเมือง ดูเหมือนจะมีสภาวะสุขภาพโดยรวมด้อยกว่าประชากรชนบท และที่น่าเป็นห่วงยิ่งก็คือ ค่าเชาวน์ปัญญาของเด็กวัยเรียน ต่ำกว่าที่ควรเป็น นอกจากนี้ความตระหนักของผู้ดูแลเด็กปฐมวัย ก็มีบางส่วนไม่สอดคล้องกับสภาพที่แท้จริงของเด็ก สำหรับผู้สูงอายุนั้น ก็ได้ข้อมูลชัดเจนว่า ประชากรมีอายุยืนยาวขึ้น แต่ก็มีภาวะพึ่งพิงสูงขึ้นตามไปด้วย

จัดทำโดย  ""
สนับสนุนโดย   มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ , กระทรวงสาธารณสุข