picture
รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทย
โดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 4 พ.ศ. 2551 - 2


การสำรวจสุขภาพประชาชนไทย เป็นการสำรวจที่ใช้มากกว่าแค่การสอบถามกลุ่มตัวอย่าง แต่ครอบคลุมถึงการตรวจร่างกายและการตรวจสารตัวอย่างด้วย ทำให้การสำรวจสุขภาพประชาชนไทย ได้ข้อมูลที่มีจุดแข็งคือ เป็นข้อมูลสถานะสุขภาพของประชาชนที่มีความน่าเชื่อถือ (เพราะมีการยืนยัน ด้วยการตรวจร่างกายและสารตัวอย่าง) และเป็นข้อมูลจากการสำรวจในชุมชนที่สามารถเป็นตัวแทน ประชากรได้ นอกจากนี้การสำรวจอย่างต่อเนื่อง ยังสามารถใช้ศึกษาแนวโน้มสถานะสุขภาพของ ประชาชนได้อย่างต่อเนื่องด้วย การสำรวจสุขภาพประชาชนไทยครั้งนี้เป็นครั้งที่ 4 (พ.ศ. 2551- 2552) ซึ่งบริหารจัดการและดำเนินการโดยสำนักงานสำรวจสุขภาพประชาชนไทย สถาบันวิจัย ระบบสาธารณสุข และได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณจาก สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานหลักประกันสุขภาพ แห่งชาติ และกรมอนามัย การเตรียมการสำรวจด้านวิชาการได้รับความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญ สาขาต่างๆ จากมหาวิทยาลัยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การสำรวจภาคสนามได้รับความร่วมมือ จากเครือข่ายนักวิชาการของมหาวิทยาลัยในภูมิภาคต่างๆ  รายงานผลการสำรวจฉบับสมบูรณ์นี้ เป็นผลของความพยายามและความร่วมมือของหน่วยงาน ต่างๆ ที่ทำงานนี้มานานกว่า 2 ปี เนื้อหาจะครอบคลุมการนำเสนอปัจจัยเสี่ยงสุขภาพสำคัญได้แก่ พฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับ การสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การบริโภคอาหาร กิจกรรม ทางกาย และสถานะทางสุขภาพต่างๆ โดยชี้ให้เห็นแนวโน้มเมื่อเปรียบเทียบกับการสำรวจครั้งที่ ผ่านมา (พ.ศ. 2546-2547) ข้อมูลทั้งหมดจึงเป็นประโยชน์อย่างมากต่อผู้กำหนดนโยบาย นักวิชาการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประชาชนทั่วไป

จัดทำโดย  สำนักงานสำรวจสุขภาพประชาชนไทย (สสท.)
สนับสนุนโดย   กระทรวงสาธารณสุข , สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ , สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข , สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
สารบัญรายงาน

  ส่วนนำรายงาน
คำนำ , สารบัญ , บทคัดย่อสำหรับผู้บริหาร
  บทที่ 1 บทนำ
  บทที่ 2 ระเบียบวิธีการสำรวจ
2.1 ประชากรเป้าหมาย
2.2 การสุ่มตัวอย่าง
2.3 ขนาดตัวอย่าง
2.4 การวิเคราะห์ข้อมูล
2.5 เครื่องมือการสำรวจข
2.6 การตรวจร่างกาย
  บทที่ 3 ลักษณะทางประชากร สังคม และเศรษฐกิจ
3.1 โครงสร้างอายุ เพศ ที่อยู่ตามเขตปกครองและภาคของตัวอย่างที่สำรวจ
3.2 การศึกษา
3.3 สถานภาพสมรส
3.4 สถานภาพทางเศรษฐกิจ รายได้
3.5 การนับถือศาสนา
  บทที่ 4 พฤติกรรมสุขภาพ
4.1 การสูบบุหรี่
4.2 การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
4.3 กิจกรรมทางกาย
4.4 พฤติกรรมการกินอาหาร
4.5 การกินผักผลไม้
4.6 การใช้ยาและอาหารเสริม
  บทที่ 5 สถานะสุขภาพ
5.1 ภาวะน้ำหนักเกินและอ้วน
5.2 โรคเบาหวาน
5.3 โรคความดันโลหิตสูง
5.4 ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ
5.5.1 ปัจจัยเสี่ยงต่อโรคระบบหัวใจและหลอดเลือดหลายปัจจัย (Multiple risk factors)
5.5.2 ภาวะเมแทบอลิกซินโดรม
5.6 โรคหลอดเลือดหัวใจ จากประวัติการวินิจฉัยโดยแพทย์ และโรคหลอดเลือดสมองจากประวัติอาการ
5.7 ประวัติโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต จากโรคหลอดเลือดสมอง
5.8 ภาวะโลหิตจาง
5.9 ภาวะซึมเศร้า
5.10 โรคเรื้อรังที่เคยได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์
5.11 การบาดเจ็บ
5.12 การวัดแรงบีบมือ (Grip strength)
  บทที่ 6 อนามัยเจริญพันธุ์
6.1 การมีประจำเดือนและการหมดประจำเดือน
6.2 การตั้งครรภ์และการคลอดบุตร
6.3 การแท้งลูก
6.4 การคุมกำเนิด
6.5 ภาวะการมีบุตรยาก
6.6 การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
6.7 การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม
  บทที่ 7 สุขภาพผู้สูงอายุ
7.1 ลักษณะตัวอย่างผู้สูงอายุ
7.2 ปัจจัยเกื้อหนุนต่อความอยู่ดีมีสุขของผู้สูงอายุ
7.3 ปัจจัยที่เกื้อหนุนผู้สูงอายุ ด้านหลักประกันในการอยู่อาศัยและความปลอดภัย
7.4 การพึ่งพิงในกิจวัตรประจำวัน
7.5 การตรวจคัดกรองภาวะสมองเสื่อม
7.6 ความเสื่อมถอยของอวัยวะ
7.7 การหกล้ม
7.8 โรคเรื้อรังในผู้สูงอายุ
7.9 การทดสอบความเร็วของการเดิน
7.10 การมองระยะใกล้ (Near Vision test)
  บทที่ 8 สรุปและข้อเสนอแนะ