picture
รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย
ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2551-2 

( สุขภาพเด็ก )


การสำรวจสุขภาพประชาชนไทย เป็นการสำรวจที่ครอบคลุมถึงการสัมภาษณ์ การตรวจร่างกาย และ การตรวจสารตัวอย่างด้วย ทำให้การสำรวจสุขภาพประชาชนไทยได้ข้อมูลที่มีจุดแข็งคือ เป็นข้อมูลสถานะสุขภาพ ของประชาชนที่มีความน่าเชื่อถือ และเป็นข้อมูลจากการสำรวจในชุมชนที่สามารถเป็นตัวแทนประชากรได้ นอกจากนี้ การสำรวจอย่างต่อเนื่อง ยังสามารถใช้ศึกษาแนวโน้มสถานะสุขภาพของประชาชนได้อย่างต่อเนื่องด้วย การ สำรวจสุขภาพประชาชนไทยครั้งหลังสุด เป็นการสำรวจครั้งที่ 4 (พ.ศ. 2551-2552) ซึ่งบริหารจัดการและ ดำเนินการโดย สำนักงานสำรวจสุขภาพประชาชนไทย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข โดยได้รับการสนับสนุน ด้านงบประมาณจาก สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานกองทุนสนับสนุนการ สร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และกรมอนามัย การเตรียมการสำรวจด้านวิชาการ ได้รับความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ จากมหาวิทยาลัยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การสำรวจภาคสนาม ได้รับความร่วมมือจากเครือข่ายนักวิชาการของมหาวิทยาลัยในภูมิภาคต่างๆ

รายงานผลการสำรวจสุขภาพเด็กไทยฉบับนี้ เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลจากการสำรวจสุขภาพประชาชน ไทยครั้งที่ 4 โดยเน้นกลุ่มเป้าหมายเด็ก ซึ่งจะเป็นกำลังสำคัญสำหรับการพัฒนาประเทศในอนาคต เนื้อหาจะ ครอบคลุมการนำเสนอปัจจัยเสี่ยงสุขภาพสำคัญได้แก่ พฤติกรรมพฤติกรรมทางสุขภาพ สถานสุขภาพทั่วไป ภาวะโภชนาการและการเจริญเติบโต และการพัฒนาทางสติปัญญา อารมณ์สังคมและจริยธรรม ข้อมูลทั้งหลายนี้ จึงเป็นประโยชน์อย่างมากต่อผู้กำหนดนโยบาย นักวิชาการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประชาชนทั่วไป

จัดทำโดย  สำนักงานสำรวจสุขภาพประชาชนไทย (สสท.)
สนับสนุนโดย   สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข , สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข , สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ , สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ , กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข , สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ
สารบัญรายงาน

  ส่วนนำรายงาน (กิติกรรมประกาศ บทคัดย่อ Abstract สรุปสาระสำคัญ สารบัญ)
  บทที่ 1 บทนำ
  บทที่ 2 ระเบียบวิธีการสำรวจ
    2.1 ประชากรเป้าหมาย
    2.2 การสุ่มตัวอย่าง
    2.3 ขนาดตัวอย่าง
    2.4 การวิเคราะห์ข้อมูล
    2.5 เครื่องมือการสำรวจ
    2.6 การตรวจร่างกาย
  บทที่ 3 ลักษณะประชากร สังคม และเศรษฐกิจของเด็กและครอบครัว
    3.1 ข้อมูลพื้นฐานของเด็ก
    3.2 ข้อมูลพื้นฐานของครอบครัว
    3.3 สถานภาพทางเศรษฐกิจของครอบครัวที่เด็กอาศัยอยู่ด้วย
    3.4 สิ่งแวดล้อมในชุมชนที่เด็กอยู่อาศัย (neighborhood)
  บทที่ 4 พฤติกรรมสุขภาพ
    4.1 การนอนหลับและกิจกรรมทางกาย
    4.2 การดูโทรทัศน์และใช้คอมพิวเตอร์
    4.3 ความรุนแรงในโรงเรียนและชุมชน
    4.4 การสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
    4.5 การขับขี่จักรยานยนต์ และรถยนต์
  บทที่ 5 พฤติกรรมการกินอาหาร
    5.1 พฤติกรรมการกินนมแม่ในเด็กอายุ 1 ปี ถึง 1 ปี 11 เดือน
    5.2 พฤติกรรมการกินอาหารในเด็กอายุ 1 ปี ถึง 14 ปี
    5.3 การกินผักผลไม้
  บทที่ 6 สถานะสุขภาพทั่วไป
    6.1 สถานะสุขภาพทั่วไป
    6.2 การเกิดอุบัติเหตุ
    6.3 ความสามารถว่ายน้ำได้
  บทที่ 7 โรคหืด
  บทที่ 8 ภาวะโภชนาการของเด็ก
  บทที่ 9 ภาวะความดันโลหิตในเด็ก
  บทที่10 พัฒนาการทางสติปัญญา
    10.1 พัฒนาการเด็กปฐมวัย (อายุ 12-71 เดือน)
    10.2 พัฒนาการเด็กวัยเรียน
  บทที่ 11 พัฒนาการด้านอารมณ์-จิตใจ-สังคม และจริยธรรมของเด็ก
  บทที่ 12 ภาวะโภชนาการของสารไอโอดีนในเด็ก