เมื่อสิ้นสุด "เป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ" หรือ Sustainable Development Goals (SDGs) ถูกใช้เป็นกรอบคิดสำคัญภายใต้การนำขององค์การสหประชาชาติ รายงานสุขภาพคนไทยฉบับนี้จึงขอหยิบยก เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนมาเป็นประเด็นสำหรับหมวดตัวชี้วัด โดยจะน้นเป้าหมายที่ 3 "ชีวิตที่มีสุขภาพดีและสุขภาวะของทุกคนในทุกช่วงวัย" เป็นหลัก โดยนำเสนอ 11 ตัวชี้วัดภายใต้ชื่อ "สุขภาพคนไทยกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน" โดยเสนอให้เห็นถึงข้อมูลสำคัญที่สะท้อนปัญหาหลายด้าน ซึ่งหากประเทศไทยต้องการบรรลุเป้าหมาย "การพัฒนาอย่างยั่งยืน" อาจต้องเป็นงานท้าทายสำคัญ อาทิ อัตราการตายของมารดาที่ยังคงสูงอยู่ในบางพื้นที่ โรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่ทำให้คนไทยจำนวนมากเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ปัญหาอุบัติเหตุ ที่ยังครองแชมป์ในการทำให้คนไทยสูญเสียปีสุขภาวะหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ที่ยังมีปัญหาการเข้าถึงบริการสุขภาพที่เท่าเทียมและมีคุณภาพ นอกจากนี้ยังมีประเด็นเรื่องการใช้สารเสพติด ปัญหาสิ่งแวดล้อมรวมอยู่ด้วย
ส่วนที่สอง รายงาน 10 สถานการณ์เด่นทางสุขภาพปีนี้ได้หยิบยกเรื่องสำคัญที่เกิดขึ้นในรอบปี คือ รัฐธรรมนูญผ่านประชามติยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี พ.ร.บ. สุขภาพแห่งชาติสู่กฎหมายเพื่อสุขภาพของไทย ธรรมนูญระบบสุขภาพฉบับที่ 2 ควบ HIA ใหม่ ร่าง พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบจากการบริการสาธารณสุข นโยบายลงทะเบียนผู้มีรายได้น้อยมาตรการช่วยเหลือผู้สูงอายุรองรับสังคมสูงวัย การนำแรงงานข้ามชาติตาม MoU เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ และปัญหาราคาข้าวตกต่ำ ส่วน 4 ผลงานดีๆ ที่เกิดขึ้น ได้แก่ การให้สิทธิบัตรทองกับผูพิการทุกคน อนุมัติเรียนฟรีอนุบาล-ม.6 ไทยติดอันดับประเทศที่มีความทุกข์น้อยที่สุด และยกโครงการบัตรทองให้เป็นแม่แบบเอเซีย
เรื่องพิเศษประจำฉบับปีนี้ ได้นำเรื่อง “เสริมพลังกลุ่มเปราะบาง สร้างสังคมที่ไม่ทอดทิ้งกัน” ซึ่งจะทำให้เข้าใจมิติของความเปราะบางยิ่งขึ้น เข้าใจสาเหตุที่ทำให้คนเปราะบาง และลักษณะของความเปราะบางของคนแต่ละกลุ่ม ตลอดจนผลกระทบจากความเปราะบางและสิ่งที่ควรทำ เพื่อให้คนกลุ่มนี้พ้นจากสภาพความเปราะบาง และอยู่ในสังคมได้อย่างมีศักดิ์ศรี มีความเท่าเทียม และมีโอกาสเข้าถึงทรัพยากรอย่างเสมอหน้ากัน
จัดทำโดย | สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล (วปส.) | |||
สนับสนุนโดย | สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) |