เกี่ยวกับแผนงาน

 
 

 



สุขภาพคนไทย 2550
( อ่านรายงานทั้งหมด )

 



ThaiHealth 2006
( อ่านรายงานทั้งหมด )

 



สุขภาพคนไทย 2549
( อ่านรายงานทั้งหมด )

 



ThaiHealth 2006
( อ่านรายงานทั้งหมด )

 



สุขภาพคนไทย 2548
( อ่านรายงานทั้งหมด )

 



ThaiHealth 2005
( อ่านรายงานทั้งหมด )

 



การสาธารณสุขไทย
2544 - 2547
( อ่านรายงานทั้งหมด )

 



Thailand Health Profile
2001 - 2004
( อ่านรายงานทั้งหมด )

 



การสำรวจสภาวะสุขภาพอนามัยของ
ประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย
ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2546 - 2547
( อ่านรายงานทั้งหมด )

 



สถานการณ์การแพทย์แผนไทย
การแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์
ทางเลือก ประจำปี พ.ศ. 2548 - 2550
( อ่านรายงานทั้งหมด )

 






 


แผนงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารแห่งชาติ
( ระยะที่ 2 พ.ศ. 2549 - 2553)

 


หลักการและกรอบแนวคิด


                1. ความต้องการด้านข้อมูลข่าวสารสุขภาพ

                ข้อมูลข่าวสารสุขภาพมีความสำคัญต่อการดำเนินงานด้านสุขภาพในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับนโยบาย จนถึงระดับปฏิบัติการในพื้นที่ รวมทั้งระดับประชาชน ที่มีความต้องการใช้ข้อมูลในลักษณะที่แตกต่างกัน ได้แก่ การใช้ข้อมูลเพื่อการกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ เพื่อการจัดสรรทรัพยากร เพื่อการติดตามและประเมินผล การดำเนินงาน และเพื่อการปรับวิธีปฏิบัติในการแก้ไขปัญหาสุขภาพ หรือแม้แต่เพื่อเป็นการสร้างความตระหนักต่อปัญหาสำหรับภาคประชาชน   โดยความต้องการใช้ข้อมูลข่าวสารสุขภาพเหล่านี้จะอยู่ในรูปแบบของการวัด โดยใช้ดัชนีชี้วัดทางสุขภาพที่หลากหลาย ตามนโยบายและยุทธศาสตร์ในการดำเนินการด้านสุขภาพ  ทั้งจากภายในประเทศและจากระดับนานาชาติ ได้แก่ การประเมินตามเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ(Millennium Development Goals : MDGs) การติดตามผลตามยุทธศาสตร์เมืองไทยแข็งแรง (Healthy Thailand)การประเมินผลการจัดหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (Universal Coverage of Health Insurance) การติดตามประเมินผลตามโครงการแก้ไขปัญหาสุขภาพเฉพาะ(Vertical Programs)การประเมินผลความสำเร็จตามเป้าหมายสำคัญของกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ รวมทั้งความต้องการข้อมูลสุขภาพในระดับพื้นที่ในการตอบสนองต่อปัญหาสุขภาพ ที่แตกต่างกันตามบริบทของแต่ละพื้นที่
                ความต้องการเหล่านี้จะเป็นหลักในการกำหนดระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพแห่งชาติ ที่จะต้องตอบสนองข้อมูลที่ถูกต้อง ทันการและแพร่หลาย รวมทั้งเป็นที่ยอมรับขององค์กรภาคีและเครือข่ายต่างๆ



                2. ปัญหาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ
 

                ความต้องการด้านข้อมูลข่าวสารสุขภาพในปัจจุบันบางส่วนมีข้อมูลมารองรับแต่บางส่วนยังขาดข้อมูลมารองรับ ทั้งนี้เนื่องจากขาดการวิเคราะห์ความต้องการด้านข้อมูลสุขภาพอย่างเป็นระบบ ทำให้ไม่ทราบส่วนขาดของระบบข้อมูลที่แท้จริง และขาดการวางแผนเพื่อพัฒนาระบบข้อมูล ข้อมูลส่วนใหญ่ถูกออกแบบมาเพื่อความต้องการข้อมูลระยะสั้นที่มักจะมีความไม่ยั่งยืน อย่างไรก็ดีในส่วนของข้อมูลที่มีอยู่ก็ยังประสบกับปัญหาต่างๆที่ทำให้การตอบสนองต่อความต้องการที่มีอยู่ ไม่สามารถทำได้เต็มที่ ได้แก่
 

           1) ปัญหาการมีข้อมูลแต่กระจัดกระจายอยู่ตามหน่วยงานต่างๆ ที่มีภารกิจเฉพาะ ขาดกลไกในการประสานข้อมูลที่มีอยู่อย่างเป็นระบบ เพื่อการใช้ข้อมูลร่วมกันและลดความซ้ำซ้อน
           2) ปัญหาการขาดการเชื่อมโยงฐานข้อมูลต่างๆเข้าด้วยกัน ทำให้การใช้ประโยชน์ในการตอบสนองความต้องการข้อมูลมีอยู่อย่างจำกัด และมีความซ้ำซ้อนในการจัดเก็บข้อมูล
           3) ปัญหาคุณภาพและความครบถ้วนของข้อมูลที่จัดเก็บ เนื่องจากขาดความตระหนักในความสำคัญของข้อมูล ขาดระบบกำกับและควบคุมคุณภาพ และขาดการใช้ประโยชน์จากข้อมูล
           4) ปัญหาความจำกัดในการวิเคราะห์ และสังเคราะห์ข้อมูลที่มีอยู่มาเป็นองค์ความรู้ที่พร้อมต่อการนำไปใช้ประโยชน์ในระดับต่างๆ อย่างเหมาะสมและต่อเนื่อง
           5) ปัญหาการเข้าถึงได้ของข้อมูลที่มีการจัดเก็บทั้งในระดับที่มีการวิเคราะห์แล้วและในระดับฐานข้อมูลทำให้การใช้ประโยชน์จากข้อมูลมีอย่างจำกัด เฉพาะในหน่วยงานที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูล

            ดังนั้นในการพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพจึงต้องให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์ความต้องการข้อมูล ควบคู่ไปกับการวิเคราะห์ส่วนขาดของระบบข้อมูล เพื่อนำไปสู่การพัฒนาระบบข้อมูลที่ตอบสนองต่อการใช้ประโยชน์ได้อย่างต่อเนื่อง



                3. ความเคลื่อนไหวด้านข้อมูลข่าวสารสุขภาพในระดับนานาชาติ

              ประเด็นระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ เป็นประเด็นที่กำลังได้รับความสำคัญและมีความเคลื่อนไหวในการสร้างกลไกความร่วมมือในระดับนานาชาติ ได้แก่


              Health Metrics Network (HMN) เป็นโครงการริเริ่มโดยองค์การอนามัยโลก (WHO)
โดยได้รับการสนับสนุนจาก Gates Foundation ในช่วงแรกระยะเวลา 7 ปี (2548-2554) มุ่งเน้นการพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพของประเทศกำลังพัฒนาโดยมีความพยายามในการพัฒนาเครื่องมือเพื่อการประเมินระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพของประเทศ เพื่อให้แต่ละประเทศสามารถประยุกต์ และใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพในระดับประเทศได้อย่างมีมาตรฐาน HMN มุ่งให้การสนับสนุนประเทศกำลังพัฒนาในการพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพเป็นระยะเวลา 5 ปีตั้งแต่พ.ศ. 2549 ถึง 2553 การบริหาร HMNดำเนินการในลักษณะภาคีเครือข่ายอิสระ มีคณะกรรมการ HMN ที่อิสระและมีเลขานุการที่อิสระแต่สนับสนุนโดย WHO HMN มุ่งเน้นการพัฒนาระบบทะเบียนการเกิด/การตาย การสำรวจสุขภาพ ระบบเฝ้าระวังโรค ระบบข้อมูลของระบบบริการสุขภาพและระบบบัญชีรายจ่ายสุขภาพ เป็นต้น

               จะเห็นได้ว่ากลไกระดับนานาชาติกำลังเข้ามามีส่วนในการสนับสนุนการพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพในระดับประเทศ ซึ่งจำเป็นจะต้องมีกลไกในระดับประเทศ ที่เชื่อมโยงกับการดำเนินงานดังกล่าว  เพื่อเป็นฐานในการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างประเทศและเชื่อมโยงกับองค์ความรู้ระดับนานาชาติด้านข้อมูลข่าวสารสุขภาพให้เกิดประโยชน์ต่อการดำเนินพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพภายในประเทศ


                4. แผนงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพแห่งชาติ

              กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ได้ร่วมกับองค์กรภาคีต่างๆจัดทำแผนงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพแห่งชาติขึ้น โดยในระยะที่ 1 ดำเนินการตั้งแต่ พ.ศ. 2547 ถึง 2548 บริหารจัดการโดยสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ดำเนินการ โดยแบ่งงานออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่

           1. การพัฒนาดัชนีชี้วัดและแผนที่ข้อมูลสุขภาพระดับชาติ
              (National Health Indicators andnbsp Mapping)
           2. การพัฒนาระบบข้อมูลและความรู้สุขภาพเฉพาะประเด็น
              (Issue-specific Health Information and Intelligence)
           3. การพัฒนาระบบข้อมูลสุขภาพระดับพื้นที่
              (Area-based Health Information System)
           4. การพัฒนามาตรฐานด้านข้อมูลสุขภาพ
              (Health Information Standards)

               โดยในการดำเนินงานระยะแรก ประกอบด้วย การเชื่อมโยงเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง การทบทวนดัชนีชี้วัดสุขภาพ การทบทวนระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ การวิเคราะห์คุณภาพของข้อมูล การวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลเป็นองค์ความรู้ การทบทวนมาตรฐานและกลไกกำหนดมาตรฐานด้านข้อมูลทางสุขภาพ โดยได้รับความร่วมมือจากเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งในส่วนของกระทรวงสาธารณสุข สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำนักงานสถิติแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และภาคีต่างๆภายหลังการดำเนินการได้ครบปีได้มีการจัดประชุมผู้บริหารระดับสูงขององค์กรภาคีต่างๆ ซึ่งต่างแสดงความพึงพอใจในการดำเนินงานและยินดีให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่และเห็นพ้องต้องกันว่ามีความจำเป็นจะต้องพัฒนาแผนงานฯนี้ให้มีการดำเนินงานที่ต่อเนื่องในระยะยาว(เอกสารแนบท้าย1)จึงได้มีการพัฒนาแผนงานระยะที่ 2 เป็นแผนงานระยะเวลา 5 ปี (พ.ศ. 2549-2553)
























 


หน้าแรก | เกี่ยวกับแผนงาน | เครือข่ายและกิจกรรม | ผลผลิตและรายงาน | ข้อมูลสถิติ | การจัดการความรู้ | หน่วยงาน | ติดต่อแผนงาน | เจ้าหน้าที่ดูแลระบบ
รู้จักแผนงาน | แผนระยะ 2 | กรรมการกำกับทิศทาง | ตารางกิจกรรม | ผลงานของแผนงาน | ข้อมูลสถิติ
รายงานสุขภาพ | E-Learning | Webbord | หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง | ติดต่อแผนงาน