หนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก [ วันอังคาร ที่ 23 เดือนพฤจิกายน 2553 ]
ไวรัสบีกับมะเร็งตับสัมพันธ์กันอย่างไร?


จากสถิติทางคลินิกในปัจจุบันพบว่า กว่า 80% ของผู้ป่วยมะเร็งตับเกิดจากตับอักเสบไวรัส B ส่วนพาหะไวรัส B จะมีความเสี่ยงต่อมะเร็งตับสูงกว่าคนทั่วไปมากถึง 223 เท่า เหตุไฉนจึงทำให้ตับอักเสบไวรัส B กลายเป็นสาเหตุหลัก ๆ ของมะเร็งตับ?

จริง ๆ แล้วไวรัส B ในร่างกายจะทำลายเซลล์ตับอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการอักเสบและการซ่อมแซมของเซลล์ตับอย่างซ้ำซาก นานวันเข้าพังผืดที่คล้ายปุ่มและแผลเป็นที่มีลักษณะแข็งกว่าที่เกิดจาการซ่อมแซมของเซลล์ตับนั้นก็จะค่อย ๆ แทนที่เซลล์ตับที่ปกติ ทำให้ตับแข็งและไม่สามารถทำงานได้ปกติหากผู้ป่วยตับแข็งในระยะแรกเริ่มได้รับการรักษา ตับก็จะมีโอกาสสร้างเซลล์ใหม่ขึ้นมาทดแทนส่วนที่เสียไป ภาวะตับแข็งก็จะพัฒนาช้าลงแต่ถ้าผู้ป่วยไม่รู้ตัวหรือไม่รักษาเลย เซลล์ตับที่เกิดขึ้นใหม่จะถูกไวรัส B ทำลายอย่างต่อเนื่องและอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงลักษณะของ DNA อย่างเฉียบพลันจนกลายเป็นมะเร็งตับได้ในที่สุด ดังนั้น วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันมะเร็งตับคือต้องรักษาตับอักเสบเสียแต่เนิ่น ๆ


ส่วนสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยมะเร็งตับมีอัตราการอยู่รอดต่ำคือ มะเร็งตับในระยะแรกที่สามารถรักษาให้หายได้นั้นผู้ป่วยมักจะไม่มีอาการที่ชัดเจน แต่พอมีอาการที่ชัดเจนขึ้น เช่น อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร จุกเสียดแน่นท้อง น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็วหรือปวดแน่นชายโครงด้านขวา เป็นต้น ก็ยากที่จะเยียวยาแล้วเพราะมะเร็งตับได้ลุกลามจนเกือบทั่วทั้งตับแล้ว

การแพทย์จีนจะยึดมั่นในหลักการ เสริมสร้างเพื่อป้องกันดีกว่ารักษาเพื่อบรรเทาในการป้องกันและบำบัดโรคตับ

-เสริมสร้างเพื่อป้องกัน สำหรับผู้ที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไปหรือมีปัจจัยเสี่ยง การแพทย์จีนแนะนำควรบำรุงตับเป็นประจำเพื่อให้ตับอยู่ในสภาพสมดุลอยู่เสมอ

-ตัดไฟแต่ต้นลม สำหรับผู้ที่มีสัญญาณเตือนของโรคตับ การแพทย์จีนนิยมใช้วิธีการระบายพลังชี่ในตับให้กระจายไปทั่วร่างกาย เพื่อบำบัดโรคตับในระยะ แรกเริ่มและเปรียบเสมือนเป็นการตัดไฟแต่ต้นลม

-รักษาเพื่อบรรเทา สำหรับกลุ่มที่เป็นพาหะและตับอักเสบเรื้อรัง การแพทย์จีนนิยมใช้วิธีขับพิษร้อน-ชื้นร่วมกับการสลายเลือดคั่งในตับ เพื่อหยุดยั้งการลุกลามของโรคและช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพการทำงานของตับ




 










 


หน้าแรก | เกี่ยวกับแผนงาน | เครือข่ายและกิจกรรม | ผลผลิตและรายงาน | ข้อมูลสถิติ | การจัดการความรู้ | หน่วยงาน | ติดต่อแผนงาน | เจ้าหน้าที่ดูแลระบบ
แนะนำแผนงาน | ข่าวกิจกรรม | เกาะติดกิจกรรมเด่น | หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง | ผลผลิตและรายงาน| รายงานสุขภาพ| ก้าวใหม่กับ HISO | สถานการณ์สุขภาพประเทศไทย
การวิเคราะห์สถานการณ์สุขภาพ | สถานการณ์ข่าวสุขภาพ | เรื่องเล่าข่าวสุขภาพ | สื่อข้อมูลสุขภาพ | แบบสำรวจสุขภาพ | webbord | คำถามที่พบบ่อย | สมุดเยี่ยมชม | บริการข้อมูล