หนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก [ วันศุกร์ ที่ 12 เดือนพฤจิกายน 2553 ]
ปกป้องคนไทยพ้นภัยเบาหวาน


14 พฤศจิกายน ของทุกปี เป็น "วันเบาหวานโลก" ที่ สหพันธ์เบาหวานนานาชาติ ร่วมกับ องค์การอนามัยโลก กำหนดไว้

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี กำหนดคำขวัญต่อต้านเบาหวาน ประจำปี 2553 ไว้ว่า “ปกป้องคนไทย พ้นภัยเบาหวาน” เสมือนเป็นการเพิ่มการดูแลรักษาตนเอง ผ่านการเรียนรู้ รวมทั้งตระหนักถึงภัยคุกคามที่ร้ายแรงของเบาหวาน และการหลีกเลี่ยงหรือชะลอการเกิดเบาหวานและภาวะแทรกซ้อน


"เบาหวาน" เกิดจากการขาดฮอร์โมนอินซูลินจากตับอ่อน เป็นเหมือนโรคระบาดที่กำลังมีอัตราเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทั่วโลก โดยเฉพาะในสังคมที่ยังขาดความรู้และความตื่นตัวโรคเบาหวาน สหพันธ์เบาหวานนานาชาติ คำนวณว่า ปี 2550 มีผู้เป็นเบาหวานประมาณ 246 ล้านคน และอีก 16 ปีข้างหน้า คาดว่าน่าจะมีผู้ที่เป็นเบาหวานสูงถึง 380 ล้านคน

อาการเบื้องต้นของเบาหวาน

1.ปวดปัสสาวะบ่อยครั้งขึ้น ปัสสาวะมีมดตอม ปัสสาวะตอนกลางคืนบ่อยขึ้น

3.กระหายน้ำ ดื่มน้ำในปริมาณมากๆ ต่อครั้ง

4.อ่อนเพลีย เหนื่อยง่ายไม่มีเรี่ยวแรง เบื่ออาหาร

5.น้ำหนักลดไม่ทราบสาเหตุ

6.ติดเชื้อง่าย และบ่อยกว่าปกติ เช่น ติดเชื้อทางผิวหนัง และกระเพาะอาหาร สังเกตได้จากเมื่อเป็นแผลแล้วจะหายยาก

7.สายตาพร่ามัว มองไม่ชัดเจน

8.มีอาการชาตามปลายมือปลายเท้า ไม่ค่อยมีความรู้สึก เนื่องจากเบาหวานจะทำลายเส้นประสาท ทำให้การรับรู้ความรู้สึกลดน้อยลง

ปัจจัยเสี่ยงเป็นเบาหวาน

1.ระดับน้ำตาลในเลือด ระหว่าง 110 และ 125 มก./ดล. ถือว่าอยู่ในเกณฑ์เสี่ยง (หรือภาวะก่อนเป็นเบาหวาน)

2.คนที่อายุเกิน 45 ปี ควรได้รับการตรวจเลือดเพื่อดูระดับน้ำตาลในเลือด

3.กรรมพันธุ์ ในครอบครัวมีคนเป็นเบาหวาน เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง

4.เชื้อชาติ

5.การออกกำลังน้อย ยิ่งมีความเสี่ยงมาก การออกกำลังกายช่วยให้ร่างกายใช้น้ำตาล ทำให้เซลล์มีความไวต่อการใช้อินซูลิน ทำให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น

6.ภาวะน้ำหนักเกิน อ้วน

7.เบาหวานตอนตั้งครรภ์ ตรวจพบเบาหวานตอนตั้งครรภ์ หรือคลอดลูกที่มีน้ำหนักมากกว่า 4 กก. มีความเสี่ยงต่อเบาหวานมากขึ้น

ป้องกันเบาหวาน

1.ควบคุมน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

2.ควบคุมอาหารให้มีความสมดุล เช่น หลีกเลี่ยงอาหารหวาน อาหารที่มีไขมันสูง อาหารมีกะทิเป็นส่วนประกอบ ไข่แดง ฯลฯ

3.ควรตรวจเช็กระดับน้ำตาลในเลือดสม่ำเสมอ โดยปรึกษาแพทย์

4.ยาบางชนิด หรือยาสมุนไพร อาจมีผลต่อการควบคุมน้ำตาลในเลือด จะต้องปรึกษาแพทย์และเภสัชกรก่อนใช้ยา หรือสมุนไพร

สิ่งสำคัญที่ต้องตระหนักคือ “เบาหวานควบคุมได้....เพียงรู้และเข้าใจ”

ศูนย์เบาหวาน ไทรอยด์ และต่อมไร้ท่อ

โรงพยาบาลเวชธานี




 










 


หน้าแรก | เกี่ยวกับแผนงาน | เครือข่ายและกิจกรรม | ผลผลิตและรายงาน | ข้อมูลสถิติ | การจัดการความรู้ | หน่วยงาน | ติดต่อแผนงาน | เจ้าหน้าที่ดูแลระบบ
แนะนำแผนงาน | ข่าวกิจกรรม | เกาะติดกิจกรรมเด่น | หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง | ผลผลิตและรายงาน| รายงานสุขภาพ| ก้าวใหม่กับ HISO | สถานการณ์สุขภาพประเทศไทย
การวิเคราะห์สถานการณ์สุขภาพ | สถานการณ์ข่าวสุขภาพ | เรื่องเล่าข่าวสุขภาพ | สื่อข้อมูลสุขภาพ | แบบสำรวจสุขภาพ | webbord | คำถามที่พบบ่อย | สมุดเยี่ยมชม | บริการข้อมูล