หนังสือพิมพ์สยามรัฐ [ วันพฤหัสบดี ที่ 4 เดือนพฤจิกายน 2553 ]
20หน่วยงานจับมือทำMOUเสริมไอโอดีน


สาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก ร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุข โรงพยาบาลเอกชนองค์กรท้องถิ่น และโรงงานเกลือ ทำ MOU ส่งเสริมการบริโภคอาหารที่มีไอโอดีนในหญิงตั้งครรภ์และเด็ก หลังตรวจคัดกรองสุขภาพทารกแรกเกิดพบ มีระดับขาดสารไอโอดีนร้อยละ 7.22

กทม. :นพ.บุญเติม ตันสุรัตน์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก เปิดเผยว่า กระทรวงสาธารณสุขประกาศการแก้ไขปัญหาโรค เอ๋อหรือโรคขาดสารไอโอดีน เป็นวาระสำคัญของ ชาติส่วนหนึ่งมาจากข้อมูลของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขที่สำรวจไอคิวเด็กไทยในปี 2552 พบว่า ไอคิวเด็กไทยเฉลี่ยอยู่ที่ 91 จุด ขณะที่มาตรฐานอยู่ที่ 90-110 จุด สาเหตุของปัญหาดังกล่าวส่วนหนึ่งมาจากการที่เด็กขาดสารไอโอดีนตั้งแต่แรกเกิด จังหวัดพิษณุโลก ปี 2553 จากการตรวจคัดกรองสุขภาพทารกแรกเกิด ด้วยการเจาะเลือดส้นเท้าเด็กแรกเกิดของสถานบริการสาธารณสุขทุกแห่งพบว่า มีระดับขาดสารไอโอดีนในระดับเล็กน้อย หรือร้อยละ 7.22 จึงได้ดำเนินการแนะนำให้แม่หลังคลอดรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และวิตามินบำรุงร่างกายที่มีสารไอโอดีน พร้อมให้นมบุตรตลอด 6 เดือนเมื่อติดตามดูพัฒนาการของเด็กซึ่งไม่พบความผิดปกติแต่ประการใด

นพ.บุญเติม กล่าวว่า อย่างไรก็ตาม เพื่อให้การดำเนินงานดังกล่าวบรรลุผลจังหวัดพิษณุโลก โดยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลกได้จัดงานแถลงข่าวและลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการส่งเสริมการบริโภคอาหารที่มีไอโอดีน เมื่อวันที่ 29 ต.ค.ที่ผ่านมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างกระแสและส่งเสริมการได้รับสารไอโอดีนในหญิงตั้งครรภ์เด็กก่อนวัยเรียนเด็กวัยเรียน และประชาชนทั่วไป โดยเชิญหน่วยงานที่ร่วมลงนาม 20 หน่วยงาน คือ จังหวัดพิษณุโลก องค์การบริหารส่วนจังหวัด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเขต 1-3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขตที่ 39 ประชาสัมพันธ์จังหวัด ท้องถิ่นจังหวัดเทศบาลนครพิษณุโลก มหาวิทยาลัยนเรศวร โรงพยาบาลพุทธชินราช โรงพยาบาลค่ายสมเด็จพระนเรศวร โรงพยาบาลรัตนเวช ตัวแทนโรงพยาบาลเอกชน โรงพยาบาลบางระกำ ตัวแทนโรงพยาบาลชุมชนตำรวจตระเวนชายแดนที่ 31 ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข และโรงงานเกลือทั้ง3 แห่งในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก

"ทั้งนี้ เชื่อว่าความร่วมมือในครั้งนี้ จะนำไปสู่การผลิตเกลือที่มีไอโอดีน การดำเนินงานสนับสนุนให้มีการเสริมไอโอดีน กระจายเวชภัณฑ์ท้องถิ่นร่วมขับเคลื่อน พร้อมทั้งมีการติดตามผลเพื่อให้ชาวพิษณุโลกไม่ขาดสารไอโอดีน"




 










 


หน้าแรก | เกี่ยวกับแผนงาน | เครือข่ายและกิจกรรม | ผลผลิตและรายงาน | ข้อมูลสถิติ | การจัดการความรู้ | หน่วยงาน | ติดต่อแผนงาน | เจ้าหน้าที่ดูแลระบบ
แนะนำแผนงาน | ข่าวกิจกรรม | เกาะติดกิจกรรมเด่น | หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง | ผลผลิตและรายงาน| รายงานสุขภาพ| ก้าวใหม่กับ HISO | สถานการณ์สุขภาพประเทศไทย
การวิเคราะห์สถานการณ์สุขภาพ | สถานการณ์ข่าวสุขภาพ | เรื่องเล่าข่าวสุขภาพ | สื่อข้อมูลสุขภาพ | แบบสำรวจสุขภาพ | webbord | คำถามที่พบบ่อย | สมุดเยี่ยมชม | บริการข้อมูล