หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ [ วันพฤหัสบดี ที่ 4 เดือนพฤจิกายน 2553 ]
ไทยจะเป็น"ฮับ"การแพทย์ ต้องไม่ลืมดูแลสุขภาพคนไทย


ประเทศไทยแข่งกับหลายประเทศที่จะเป็น "ฮับ" ของธุรกิจหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านการบิน การขนส่ง การค้า และการแพทย์ที่เรียกว่า "medical hub"

บางเรื่องทำได้ บางเรื่องควรทำ บางเรื่องต้องทำ และบางเรื่องต้องพิจารณาให้รอบด้าน

เพราะอะไรที่กระทบต่อผลประโยชน์ของคนไทยเอง การเฮตามทิศทางธุรกิจ หรือ "โลกาภิวัตน์" อย่างเดียวย่อมจะต้องเกิดปัญหาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้


กรณีของความพยายามของกระทรวงสาธารณสุข ที่จะให้ไทยเป็น "ศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ" หรือที่เรียกว่า "medical hub" ช่วงปี 2553-2557 ถูก อาจารย์อัมมาร สยามวาลา นักวิชาการเกียรติคุณสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือ TDRI วิพากษ์อย่างหนักหน่วงรุนแรง ว่า

"...เป็นนโยบายที่เลวที่สุดเท่าที่รัฐบาลคิดออกมา เพราะเป็นนโยบายที่ดึงดูดทรัพยากรด้านการรักษาพยาบาลของประเทศไปให้ชาวต่างชาติ ทั้งที่ปัจจุบัน ทั้งคนไทยรวมถึงคนชายขอบที่อยู่ในไทยกำลังขาดแคลนการรักษาพยาบาลอย่างแรง...ซ้ำคนไข้ต่างชาติที่เข้ามาใช้บริการยังบิด (ประมูล) ค่าตัวของหมอเพิ่มขึ้น..."

อาจารย์อัมมาร บอกว่า กระทรวงสาธารณสุขเองในที่สุดจะพบว่าเงินค่าตอบแทนที่เพิ่มให้หมอไปนั้นไม่เพียงพอแล้ว และต้องไล่ตามเพิ่มค่าตอบแทนไปเรื่อย ๆ...ในที่สุด "ระบบก็เป๋" เกิดความเสียหาย

อาจารย์ถามว่า "กระทรวงสาธารณสุขพร้อมที่จะแข่งขันแบบนี้แล้วหรือ"

นักวิชาการท่านนี้บอกว่า รัฐบาลควรจะต้องหยุดหรือถอยหลังกลับไปกับนโยบายเรื่องนี้ เพราะเป็นนโยบายที่เดินมาผิดตั้งแต่ต้นแล้ว

และหากรัฐบาลจะเดินหน้าเรื่องนี้ อาจารย์อัมมารก็เสนอให้เก็บภาษีกับผู้ป่วยต่างชาติเหล่านี้ เพื่อนำมาผลิตบุคลากรทางการแพทย์ให้มากขึ้น

กระนั้น อาจารย์ก็ยังยืนยันว่าคัดค้านและเห็นว่าไม่ควรมีนโยบายเพื่อต้อนรับ "อาคันตุกะขี้โรค" เหล่านี้

"วันนี้ ผมอยากถามว่าขณะนี้คนไข้ไทยได้เวลาของหมอในโรงพยาบาลรัฐแค่ไหน คุณไปรอกี่ชั่วโมงและได้เจอหมอกี่นาที แต่ผมขอใช้คำว่ากี่นาทีดีกว่า"

อาจารย์อัมมาร ยืนยันว่าแม้รัฐบาลจะสนับสนุนงบประมาณ เพื่อผลิตหมอให้เพียงพอ แต่ก็ยังมองว่านโยบายนี้ยังเลวอยู่ดี "เพราะคนไทยต้องไม่ได้รักษากับแค่หมอจบใหม่เท่านั้น แต่เราต้องการหมอที่เชี่ยวชาญในการรักษาที่ถูกดึงออกจากระบบด้วย"




 










 


หน้าแรก | เกี่ยวกับแผนงาน | เครือข่ายและกิจกรรม | ผลผลิตและรายงาน | ข้อมูลสถิติ | การจัดการความรู้ | หน่วยงาน | ติดต่อแผนงาน | เจ้าหน้าที่ดูแลระบบ
แนะนำแผนงาน | ข่าวกิจกรรม | เกาะติดกิจกรรมเด่น | หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง | ผลผลิตและรายงาน| รายงานสุขภาพ| ก้าวใหม่กับ HISO | สถานการณ์สุขภาพประเทศไทย
การวิเคราะห์สถานการณ์สุขภาพ | สถานการณ์ข่าวสุขภาพ | เรื่องเล่าข่าวสุขภาพ | สื่อข้อมูลสุขภาพ | แบบสำรวจสุขภาพ | webbord | คำถามที่พบบ่อย | สมุดเยี่ยมชม | บริการข้อมูล