หนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก [ วันจันทร์ ที่ 1 เดือนพฤจิกายน 2553 ]
มดลูกหย่อน...มีวิธีให้กลับเข้าที่


โดยปกติสุขภาพสตรีจะไม่รู้สึกถึงตำแหน่งของมดลูก แต่หากคุณรู้สึกถึงตำแหน่งของมดลูก แสดงว่ามีความผิดปกติบางอย่างกำลังเกิดขึ้นกับมดลูกของคุณ เช่นเดียวกับผู้ป่วยที่เผชิญภาวะมดลูกหย่อน พวกเธอไม่เพียงรู้สึกได้ถึงตำแหน่งของมดลูก แต่ยังมีความรู้สึกหน่วงผิดปกติที่ยากจะบรรยาย ส่งผลให้ทั่วทั้งร่างกายรู้สึกไม่สบาย

คุณศิริญญา อายุ 30 ต้นๆ เป็นผู้จัดการร้ายขายเสื้อผ้าแบรนด์เนมแห่งหนึ่ง อาชีพการงานทำให้เธอต้องยืนเกือบทั้งวัน จะได้นั่งพักก็เฉพาะตอนนั่งรถกลับบ้านเท่านั้น อาชีพที่ต้องยืนตลอดเวลาแบบนี้เดิมทีไม่ได้มีอะไรน่ากังวลแต่หลังจากที่คุณศิริญญาคลอดบุตรไปเมื่อต้นปีที่ผ่านมาสถานการณ์ก็เปลี่ยนไป


ทำงานหลังคลอดแสนทรมาน...

แต่เดิมหลังจากที่คุณศิริญญาทำงานทั้งวันขอเพียงได้นั่งพักในรถสักครึ่งชั่วโมงก็หายเหนื่อยเมื่อถึงบ้านยังมีแรงเข้าครัวทำกับข้าวอีกต่างหากทว่าหลังจากพักฟื้นอยู่ไฟหลังคลอด 1 เดือนแล้วกลับบ้านทำงาน คราวนี้กลับเป็นคนละเรื่องเดียวกันนอกจากแข้งขาไม่มีเรี่ยวแรง อยากแต่จะนั่งทั้งวันแล้ว ยังมีอาการท้องอืดท้องเฟ้อเป็นประจำและมีแก๊สในกระเพาะ

"ฉันยืนได้แค่แป๊ปเดียวรู้สึกปวดหลังมากเท้าทั้งสองข้างชา ทานอะไรได้นิดหน่อยก็รู้สึกเหมือนท้องน้อยมีอะไรถ่วงอยู่ แถมยังมีลมออกจากช่องคลอดเป็นประจำพอเลิกงาน ทั้งร่างกายตั้งแต่เอวถึงไหล่ ท้องน้อยถึงปลายเท้าก็เมื่อยล้าจนไม่รู้ว่าวางท่าไหนถึงจะเหมาะ"

"ไปพบแพทย์ ภายหลังการส่องกล้องพบว่ามีภาวะกระเพาะอาหารหย่อนเล็กน้อย ส่วนที่ท้องน้อยถ่วงๆ นั้นเกิดจากมดลูกหย่อนซึ่งไม่มีทางที่จะทำให้กลับเข้าที่เดิม ทางเดียวที่สามารถทำได้คือพักผ่อนให้เพียงพอ หรือถ้าอาการหนักขึ้นอาจต้องพิจารณารับการผ่าตัดเพื่อให้มดลูกกลับเข้าที่เดิม"

พลังม้ามพร่อง...อวัยวะภายในหย่อน

คุณศิริญญาลังเลอยู่พอสมควรกับเรื่องการผ่าตัดเพราะเกรงว่าจะไปซ้ำเติมให้ร่างกายที่เหนื่อยล้าอยู่แล้วบอบช้ำมากยิ่งขึ้น อีกอย่างก็ไม่รู้ว่าร่างกายจะฟื้นได้เมื่อใดซึ่งจะไปกระทบกับการทำงานเธอจึงหันมาปรึกษาแพทย์จีน ซึ่งก็ได้วินิจฉัยว่าร่างกายเธออ่อนแอมาก เลือดและพลังชี่ในร่างกายไม่เพียงพอโดยเฉพาะพลังชี่ในร่างกายไม่เพียงพอโดยเฉพาะพลังชี่ของม้ามพร่องลงจึงทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย ไม่มีเรี่ยวแรงและมีภาวะหย่อนของอวัยวะภายในช่องท้อง เช่น มดลูกหย่อน กระเพาะและช่องคลอดหลวม (ทำให้มีลมออกจากช่องคลอด) เป็นต้น

ทำไมพลังชี่ของม้ามพร่องจึงส่งผลให้อวัยวะภายในหย่อนลง...

ตามธรรมชาติอวัยวะภายในจะหย่อนลงมาตามแรงโน้มถ่วงอยู่แล้ว แต่ถ้ากล้ามเนื้ออวัยวะภายในอ่อนแอและคลายตัวมากเกินไปจนไม่มีแรงพอที่จะแบกรับอวัยวะเอาไว้ได้ อวัยวะต่างๆ เช่น กระเพาะอาหาร มดลูก ไต ช่องคลอด เป็นต้น ก็จะมีโอกาสหย่อนลงได้เร็วขึ้น ซึ่งการแพทย์จีนได้จัดให้อยู่ในกลุ่มโรคที่เกิดจากม้ามอ่อนแอ พลังชี่ของม้ามไม่เพียงพอ ทั้งนี้ เนื่องจากม้ามควบคุมการเจริญเติบโตและความแข็งแรงของกล้ามเนื้ออีกทั้งยังเป็นอวัยวะสำคัญในระบบทางเดินอาหารส่วนพลังชี่ของม้ามควรไหลเวียนขึ้นสู่ด้านบน ซึ่งจะมีประโยชน์สำคัญดังนี้:

๐ ลำเลียงส่งสารอาหารไปสร้างเป็นเลือดและพลังชี่ที่หัวใจและปอดเพื่อไปหล่อเลี้ยงร่างกายเนื่องจากหัวใจและปอดเป็นอวัยวะที่มีตำแหน่งอยู่เหนือกว่าม้าม พลังชี่ของม้ามจึงต้องไหลเวียนขึ้นสู่ด้านบนม้ามจะไม่สามารถส่งสารอาหารไปสร้างเป็นเลือดและพลังชี่ ส่งผลให้เกิดอาการอ่อนเพลี่ย ไม่มีเรี่ยวแรงท้องอืดท้องเฟ้อ ท้องเดิน กล้ามเนื้ออ่อนแรง ผ่ายผอมหรืออ้วนฉุ เลือดและพลังชี่ในร่างกายไม่เพียงพอ

๐ ช่วยให้อวัยวะภายในมีตำแหน่งยึดเกาะมั่นคง หากพลังชี่ของม้ามไม่ไหลเวียนขึ้นสู่ด้านบนกลับจมลงด้านล่างก็จะมีอาการท้องเดินเรื้อรังและทำให้อวัยวะภายในหย่อนลง เช่น กระเพาะอาหารหย่อน มดลูกหย่อน ไตหย่อน ช่องคลอดหลวม (มีลมออกจากช่องคลอด) ทวารหนักยื่นย้อย เป็นต้น

หากเราวิเคราะห์ตามมุมมองของการแพทย์ปัจจุบัน หน้าที่พลังชี่ของม้ามจะมีบทบาทสำคัญต่อประสิทธิภาพการทำงานของระบบการย่อยและการดูดซึมอาหาร อวัยวะภายในช่องท้องและระบบประสาทซิมพาเตเธติก ส่วนพลังชี่ของม้ามที่จมลงด้านล่างมีความสัมพันธ์อันใกล้ชิดกับการคลายตัวและความอ่อนแรงของกล้ามเนื้อเรียบ

การแพทย์จีนมีวิธีบำบัดภาวะมดลูกหย่อนอย่างไร...

การแพทย์แผนจีนนิยมใช้วิธีบำรุงม้าม บำรุงพลังชี่และเลือดในร่างกายเป็นหลักเพื่อฟื้นฟูสภาพร่างกาย ช่วยให้มดลูกกลับเข้าที่ ขณะเดียวกันก็แนะนำให้ผู้ป่วยต้องดูแลสุขภาพร่างกายตนเองในช่วงเวลาที่ทำการรักษา ให้ออกกำลังเบาๆ ทุกวันหลีกเลี่ยงการวิ่งหรือเคลื่อนไหวเร็วๆ พักผ่อนให้เพียงพอ งดเครื่องดื่มแช่เย็นและอาหารที่มีฤทธิ์เย็นอย่างเคร่งครัด เช่น หัวไชเท้า ผักกาดเขียวปลี ถั่วเขียว สาหร่าย ดอกแก้วมังกร ผักสลัดน้ำ (Watercress) ผักตักโอ๋ แตงโม มะระ ฟัก ผักกาดขาว น้ำนมถั่วเหลือง น้ำมะพร้าว เป็นต้น และหมั่นรับประทานอาหารที่มีฤทธิ์อุ่น เช่น อาหารจำพวกเนื้อสัตว์ ปลา ไข่ นม ผัก (เช่น ใจผักกุยช่าย ขิง สด รากบัว มะเขือเทศ มันฝรั่ง เกาลัด เมล็ดวอลนัท ถั่วลิสง เป็นต้น) รวมทั้งผลไม้ เช่น แอปเปิ้ล ส้ม ส้มโอ องุ่น ผลทับทิม ลูกพีช ลำไย เป็นต้น

อาการท้องอืดท้องเฟ้อ ปวดถ่วงท้องน้อยมีลมออกจากช่องคลอดและอาการผิดปกติอื่นๆ ของคุณศิริญญาจึงค่อยๆ หายไป ส่วนตำแหน่งของมดลูกนั้น เธอก็ได้ลืมเลือนไปนานแล้ว




 










 


หน้าแรก | เกี่ยวกับแผนงาน | เครือข่ายและกิจกรรม | ผลผลิตและรายงาน | ข้อมูลสถิติ | การจัดการความรู้ | หน่วยงาน | ติดต่อแผนงาน | เจ้าหน้าที่ดูแลระบบ
แนะนำแผนงาน | ข่าวกิจกรรม | เกาะติดกิจกรรมเด่น | หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง | ผลผลิตและรายงาน| รายงานสุขภาพ| ก้าวใหม่กับ HISO | สถานการณ์สุขภาพประเทศไทย
การวิเคราะห์สถานการณ์สุขภาพ | สถานการณ์ข่าวสุขภาพ | เรื่องเล่าข่าวสุขภาพ | สื่อข้อมูลสุขภาพ | แบบสำรวจสุขภาพ | webbord | คำถามที่พบบ่อย | สมุดเยี่ยมชม | บริการข้อมูล