หนังสือพิมพ์มติชน [ วันจันทร์ ที่ 1 เดือนพฤจิกายน 2553 ]
วิกฤตสุขภาพชายแดน


เด็ก-ผู้หญิงชาติพันธุ์ตายพุ่งoหมอแม็กไซไซเผย เกิดวิกฤตสุขภาพครั้งร้ายแรงที่สุดของโลกแนวชายแดนไทย-พม่า เด็กและผู้หญิงตายพุ่งจากโรคที่สามารถป้องกันได้อนาถเด็ก 40% ขาดอาหาร ผู้หญิง 1 ใน 14 คนติดเชื้อมาลาเรีย

พญ.ซินเธีย หม่อง ผู้อำนวยการแม่ตาวคลินิก อ.แม่สอด จ.ตาก และเจ้าของรางวัลแม็กไซไซ เปิดเผยว่า ขณะที่ผู้หญิงและเด็กที่อาศัยอยู่บริเวณชายแดนไทยพม่า หรือภาคตะวันออกของพม่าจำนวนมากต้องเสียชีวิตจากการเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ ทำให้เกิดวิกฤตด้านสุขภาพที่เลวร้ายที่สุดของโลก โดยเด็กร้อยละ 40 ต้องขาดสารอาหาร และร้อยละ 60 ต้องเสียชีวิตจากโรคที่ป้องกันได้ ขณะที่ผู้หญิง 1 ใน14 คนต้องติดเชื้อมาลาเรีย ซึ่งถือว่าเป็นการติดเชื้อที่สูงแห่งหนึ่งในโลก


พญ.ซินเธียกล่าวว่า สาเหตุใหญ่ของวิกฤตด้านสุขภาพครั้งนี้ เกิดจากประชาชนจำนวนมากต้องอพยพโยกย้ายออกจากถิ่นฐานเนื่องจากการสู้รบระหว่างรัฐบาลทหารพม่ากับกองกำลังของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ซึ่งทำให้ชาวบ้านต้องหนีตายมายังชายแดนไทย ทำให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพอย่างต่อเนื่อง แม้องค์กรท้องถิ่นและองค์กรนานาชาติที่ทำงานด้านสุขภาพจะร่วมมือกันให้การช่วยเหลือ แต่ก็ทำได้เพียงบางพื้นที่ ขณะที่อีกหลายพื้นที่ไม่เคยมีการสำรวจหรือทำใบเกิดให้กับทารกที่เกิดใหม่ ทำให้กลายเป็นปัญหาเรื้อรัง

"การแก้ปัญหาคือควรสนับสนุนให้องค์กรชุมชนที่ทำงานด้านสุขภาพ ได้เข้าไปช่วยเหลือมากขึ้น ตอนนี้ชาวบ้านแทบไม่ได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารใดเลย โดยเฉพาะเมื่อเกิดโรคระบาด เพราะเราไม่สามารถเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารได้ เนื่องจากถูกปิดกั้น" พญ.ซินเธียกล่าว และว่าสำหรับเรื่องการแพร่ระบาดตามแนวชายแดนไทย-พม่านั้น รัฐบาลไทยต้องประสานความร่วมมือกับชุมชนในพื้นที่ที่ทำงานด้านนี้ ไม่ใช่ร่วมมือเฉพาะระดับชาติเท่านั้น ขณะที่องค์กรนานาชาติก็ต้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพของประชาชนส่วนนี้ด้วย

ด้านนายเอรุน ผู้ประสานงานเครือข่ายสุขภาพในภาคตะวันออกของพม่า กล่าวว่าจากการสำรวจข้อมูลในภาคตะวันออกของพม่าซึ่งประกอบด้วยพื้นที่รัฐกะเหรี่ยง รัฐคะเรนนี และรัฐฉาน ซึ่งครอบคลุมประชากรกว่า 27,000 คน พบว่ามีปัญหาสุขภาพร้ายแรงมาก อันเป็นผลเนื่องจากการที่รัฐบาลทหารพม่าไม่จัดสรรงบประมาณด้านสุขภาพ และการสู้รบที่ยืดเยื้อรวมถึงการละเมิดสิทธิพลเมือง




 










 


หน้าแรก | เกี่ยวกับแผนงาน | เครือข่ายและกิจกรรม | ผลผลิตและรายงาน | ข้อมูลสถิติ | การจัดการความรู้ | หน่วยงาน | ติดต่อแผนงาน | เจ้าหน้าที่ดูแลระบบ
แนะนำแผนงาน | ข่าวกิจกรรม | เกาะติดกิจกรรมเด่น | หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง | ผลผลิตและรายงาน| รายงานสุขภาพ| ก้าวใหม่กับ HISO | สถานการณ์สุขภาพประเทศไทย
การวิเคราะห์สถานการณ์สุขภาพ | สถานการณ์ข่าวสุขภาพ | เรื่องเล่าข่าวสุขภาพ | สื่อข้อมูลสุขภาพ | แบบสำรวจสุขภาพ | webbord | คำถามที่พบบ่อย | สมุดเยี่ยมชม | บริการข้อมูล