หนังสือพิมพ์ข่าวสด [ วันจันทร์ ที่ 1 เดือนพฤจิกายน 2553 ]
รับมือ"อีสุกอีใส"เมื่อใกล้ฤดูหนาว


ใกล้ถึงฤดูหนาว แม่ต้องระวังโรคยอดฮิตอย่างไข้หวัดที่มักเกิดขึ้นกับลูกน้อย ไม่เพียงเท่านั้นยังต้องตั้งรับกับอีสุกอีใส ที่มักระบาดในฤดูหนาวไปจน ถึงฤดูร้อน ที่สร้างความปั่นป่วนให้คุณแม่

จากข้อมูลศูนย์สุขภาพกรุงเทพแนะถึงอีสุกอีใส ภัยเงียบกวนใจคุณแม่ช่วงฤดูหนาวว่า อีสุกอีใสเกิดจากเชื้อไว้รัส Varicella Virus ที่ระบาดในฤดูหนาวถึงต้นฤดูร้อน แต่พบประปรายตลอดปี เกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย แต่มักเกิดกับเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ ติดต่อผ่านการไอ จามหายใจรดกัน สัมผัสเนื้อตัว หรือใช้ของร่วมกับคนที่เป็นอีสุกสีใส


อาการเบื้องต้นมีไข้ต่ำ อ่อนเพลีย เบื่ออาหารมีผื่นขึ้นที่ผิวหนัง เริ่มแรกเป็นผื่นแดงราบ ต่อมาจะกลายเป็นตุ่มนูนมีน้ำใสๆ ข้างใน มีอาการคันผื่นและตุ่มจะขึ้นตามไรผมก่อน แล้วลามไปตามหน้า ลำตัว หนังศีรษะ หน้าอก แผ่นหลัง อาจมีตุ่มขึ้นในช่องปาก ทำให้ปากเปื่อย ลิ้นเปื่อย เจ็บคอ จากนั้นจะกลายเป็นตุ่มหนองอยู่ 2-4 วันก็จะตกสะเก็ด

อีสุกอีใสไม่ใช่โรคที่ร้ายแรง สามารถรักษาให้หายได้ใน 1-2 สัปดาห์ แต่ก็ส่งผลเสียกับร่าง

กายคือ เชื้ออาจหลบอยู่ที่ปมประสาท ซึ่งอาจก่อให้เกิดโรคงูสวัดภายหลังได้ บางรายเชื้อแบคทีเรียที่แทรกซ้อนอาจกระจายเข้าไปในกระแสเลือด ทำให้เกิดภาวะโลหิตเป็นพิษและปอดบวมได้ แต่ที่เห็นชัดที่สุดคือรอยแผลเป็นบนผิวหนัง บางคนรอยแผลเป็นอาจจางหายแต่บางรายมีรอยแผลติดตัวไปตลอดชีวิต สร้างความรำคาญและส่งผลต่อบุคลิกภาพและภาพลักษณ์

วิธีปกป้องผิวจากโรคอีสุกอีใส เพียงพักผ่อนและดื่มน้ำมากๆ อย่าเกาและแกะตุ่มคัน เพราะจะทำให้แผลติดเชื้อจนกลายเป็นตุ่มหนอง

ถ้าไข้สูงควรชุบน้ำเช็ดตัวบ่อยๆ และกินยาลดไข้ แต่ถ้าเราป้องกันไว้ก่อนก็จะดีกว่าแก้ ด้วยการฉีดวัคซีน ซึ่งจะเป็นผลดีต่อเด็กอายุ 1-12 ปี ที่ยังไม่เคยเป็นโรคนี้มาก่อน เพราะเด็กวัยนี้มีการสร้างภูมิต้านทานที่ตอบสนองกับวัคซีนได้ดี วิธีการฉีดนั้นเด็กอายุ 1-12 ปีฉีดเพียง 1 เข็ม ส่วนเด็กอายุ 12 ปีขึ้นไป ต้องรับวัคซีนถึง 2 เข็ม ในระยะที่ห่างกัน 4-8 สัปดาห์ จึงเพียงพอที่จะกระตุ้นให้สร้างภูมิต้านทานได้สูงพอที่จะป้องกันโรค ส่วนผู้ที่เคยเป็นมาแล้วจะมีภูมิต้านทานตามธรรมชาติอยู่แล้วไม่ต้องฉีดอีก




 










 


หน้าแรก | เกี่ยวกับแผนงาน | เครือข่ายและกิจกรรม | ผลผลิตและรายงาน | ข้อมูลสถิติ | การจัดการความรู้ | หน่วยงาน | ติดต่อแผนงาน | เจ้าหน้าที่ดูแลระบบ
แนะนำแผนงาน | ข่าวกิจกรรม | เกาะติดกิจกรรมเด่น | หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง | ผลผลิตและรายงาน| รายงานสุขภาพ| ก้าวใหม่กับ HISO | สถานการณ์สุขภาพประเทศไทย
การวิเคราะห์สถานการณ์สุขภาพ | สถานการณ์ข่าวสุขภาพ | เรื่องเล่าข่าวสุขภาพ | สื่อข้อมูลสุขภาพ | แบบสำรวจสุขภาพ | webbord | คำถามที่พบบ่อย | สมุดเยี่ยมชม | บริการข้อมูล