หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ [ วันจันทร์ ที่ 1 เดือนพฤจิกายน 2553 ]
สุข..ทุกสภาวะ: First love - First tooth


ฟัน เป็นสิ่งที่สำคัญของเราทุกคนเพราะเป็นด่านแรกที่จะทำหน้าที่บดเคี้ยวอาหาร เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารอย่างพอเพียง คงไม่มีใครอยากพูดประโยค "เหงือกจZ ฟันลาก่อน" แน่นอน!!

ฟันซี่แรกจะขึ้นเมื่ออายุ 6 เดือนเป็นต้นไป แต่น่าตกใจเมื่อผลการสำรวจภาวะทันตสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 6 พ.ศ. 2550 พบว่า เด็กไทยอายุ 3 ป, จะมีฟันผุอย่างน้อย 1 ซี่ ถึง 61.4% และพบเด็กฟันผุอายุน้อยสุดเพียง 9 เดือนเท่านั้น ซึ่งหมายถึงฟันซี่แรกขึ้นก็เริ่มผุได้ทันที


โครงการ "ลูกรักฟันดี เริ่มที่ซี่แรก" (First love, First tooth) เป็นการกระตุ้นให้ผู้ปกครองเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพฟันให้ลูกน้อย โดยเครือข่ายลูกรักฟันดี เริ่มที่ซี่แรก แผนงานโรงเรียนทันตแพทย์สร้างสุข สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เนื่องในโอกาสวันทันตสาธารณสุขแห่งชาติ ตรงกับวันที่ 21 ต.ค. ของทุกป, เพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จย่า ซึ่งมีคุณูปการต่อวงการทันตสาธารณสุขประเทศไทย

มีเหตุผลสำคัญหลายประการที่ต้องเริ่มดูแลฟันตั้งแต่ซี่แรก เดิมมีความเชื่อผิด ๆ ว่า เมื่อไหร่ที่เด็กโตพอรู้เรื่องแล้วจึงค่อยให้แปรงฟัน ทำให้ส่วนใหญ่กว่าที่เด็กจะเริ่มแปรงฟันก็ประมาณ 3-5 ขวบซึ่งไม่ทันแล้ว

รศ.ทพญ.ชุติมา ไตรรัตน์วรกุล ภาควิชาทันตกรรมสำหรับเด็ก คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชี้ให้เห็นว่า การสังเกตง่าย ๆ ของฟันผุในเด็กคือจะเกิดคราบเหลือง ๆ เหนียว ๆ ที่ฟัน เมื่อขูดออกจะพบเป็นรอยขาวขุ่นแสดงให้เห็นว่าแบคทีเรียเริ่มทำร้ายฟันน้ำนมแล้ว ซึ่งฟันน้ำนมมีแร่ธาตุที่ยังไม่สมบูรณ์จึงเกิดฟันผุได้ง่ายและมีโอกาสลุกลามทั่วปากได้ไม่ยาก

"เด็กที่ฟันผุ จะพบว่า ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของเด็ก น้ำหนักและส่วนสูงต่ำกว่าปกติ ศีรษะเล็กผิดปกติ เมื่อปวดก็จะกระทบต่อการนอน ทำให้เด็กมีความผิดปกติของการหลั่งฮอร์โมนที่ควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกาย ส่งผลต่อพัฒนาการ ซึ่งควรพาลูกพบทันตแพทย์ตั้งแต่ขวบป,แรก และเริ่มดูแลตั้งแต่ฟันซี่แรกด้วย"

ทพ.ญ.กุลยา รัตนปรีดากุล อดีตประธานชมรมทันตกรรมสำหรับเด็กแห่งประเทศไทย อธิบายเพิ่มเติมว่าขณะนี้ทันตแพทย์เด็กไม่เพียงพอ การรักษาในเด็กจะทำได้ยากกว่าผู้ใหญ่ หากปล่อยให้เด็กฟันผุจำนวนมาก ซึ่งพบว่าบางคนผุ 9-20 ซี่ ก็ทำให้การรักษายาก และต้องใช้การดมยาเพื่อรักษาภายในครั้งเดียว แต่ไม่ว่าจะเป็นรักษาด้วยวิธีธรรมดา หรือดมยา ก็ต่างมีความเสี่ยงได้ทั้งนั้น การดูแลไม่ให้ผุจึงจำเป็นอย่างมาก

การดูแลฟันในเด็กให้ถูกต้องถือเป็นเรื่องที่หลายคนยังไม่ทราบ ผศ.ทพ.จรินทร์ ปภังกรกิจผู้จัดการแผนงานโรงเรียนทันตแพทย์สร้างสุข สสส. แนะนำว่า การแปรงฟันต้องเริ่มตั้งแต่ซี่แรก โดยทำแบบค่อยเป็นค่อยไป พ่อแม่ต้องคอยช่วยเหลือ ในช่วงฟันซี่แรกจะสามารถใช้การเช็ดโดยผ้าอ่อนนุ่มได้ เมื่อฟันเริ่มขึ้นหลายซี่อาจจำเป็นต้องใช้วิธีการแปรงฟันเพราะแค่เช็ดจะไม่เพียงพอเคล็ดไม่ลับในการช่วยเด็กแปรงฟัน ครั้งแรกให้เด็กนอนบนตัก แตะแปรงให้พอชื้นและใช้ยาสีฟันขนาดเท่าเม็ดถั่วค่อย ๆ แปรงทีละนิด และใช้ผ้าเช็ดออก เมื่อเด็กเริ่มคุ้นกับการแปรงฟันจึงเริ่มหัดให้แปรงด้วยตัวเองโดยดูแลใกล้ ๆ ค่อย ๆ เพิ่มปริมาณยาสีฟันทีละนิดวิธีทำให้เด็กสนุกกับการแปรงฟัน คือ 1.ให้เด็กมีส่วนร่วม เช่นเลือกแปรงสีฟันด้วยตนเอง 2.สร้างบรรยากาศการแปรงฟัน ใช้แปรงมีสีสัน มีตัวการ์ตูน

3.เลือกแปรงที่ขนแปรงนุ่ม หน้าตัดเรียบ หัวเล็กมีด้ามจับใหญ่จับถนัดมือ 4.ใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ ช่วยลดฟันผุได้ถึง15-30% 5.แปรงฟันวันละ 2 ครั้ง ก่อนหรือหลังอาบน้ำเช้า และเย็น เพื่อฝกให้เป็นกิจวัตร ฟันดีดี ก็จะอยู่กับเด็กตลอดไป




 










 


หน้าแรก | เกี่ยวกับแผนงาน | เครือข่ายและกิจกรรม | ผลผลิตและรายงาน | ข้อมูลสถิติ | การจัดการความรู้ | หน่วยงาน | ติดต่อแผนงาน | เจ้าหน้าที่ดูแลระบบ
แนะนำแผนงาน | ข่าวกิจกรรม | เกาะติดกิจกรรมเด่น | หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง | ผลผลิตและรายงาน| รายงานสุขภาพ| ก้าวใหม่กับ HISO | สถานการณ์สุขภาพประเทศไทย
การวิเคราะห์สถานการณ์สุขภาพ | สถานการณ์ข่าวสุขภาพ | เรื่องเล่าข่าวสุขภาพ | สื่อข้อมูลสุขภาพ | แบบสำรวจสุขภาพ | webbord | คำถามที่พบบ่อย | สมุดเยี่ยมชม | บริการข้อมูล