หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ [ วันจันทร์ ที่ 1 เดือนพฤจิกายน 2553 ]
"ต้องระวัง"ทุกๆฝ่าย"เครียดน้ำท่วม"เสี่ยง"สูญเสียซ้ำซ้อน"


อกจากความทุกข์เรื่องการกินอยู่การใช้ชีวิต และการเจ็บไข้ได้ป่วยทางกายแล้ว กับภัย "น้ำท่วม"ที่คนไทยจำนวนมากในหลาย ๆ จังหวัดต้องเผชิญ ก็ยังส่งผลลบ-อาจก่อให้เกิดการ "ป่วยทางจิต"ได้ด้วย!!"เครียด"ผู้ที่ต้องเผชิญ "ภัยน้ำท่วม"ต้องเป็นแน่ส่วนจะเป็นมากหรือเป็นน้อยก็สุดแท้แต่ตัวบุคคล...แต่ทั้งนี้ ที่สำคัญที่สุดสำหรับกรณีนี้ก็คือ "การจัดการกับความเครียด"ที่เกิดขึ้น ทั้งโดยผู้ที่เครียดเอง คนรอบข้าง รวมถึงคนในชุมชน เจ้าหน้าที่หน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐ มิฉะนั้นผลที่ตามมาอาจเป็นเรื่องสลดใจ

โดยเฉพาะกับการ "คิดสั้น" ที่เกิดขึ้นบ้างแล้ว!!สถานการณ์ด้านจิตใจของผู้ประสบอุทกภัย-ภัยน้ำท่วมนั้น ผู้สันทัดกรณีด้านสุขภาพจิตเคยสะท้อนผ่าน "สกู๊ปหน้า 1 เดลินิวส์"ไว้ว่า... อาจแบ่งออกเป็น 3 ระยะคือ... 1. ช่วงก่อนน้ำท่วม ช่วงนี้จะเกิดความวิตกกังวลว่าน้ำจะท่วมมากน้อยแค่ไหน ทรัพย์สินจะเสีย

หายมากน้อยอย่างไร อาการของผู้ที่อาจเสี่ยงภัยน้ำท่วมในช่วงนี้ก็จะเกิดความเครียดและวิตกกังวลเล็กน้อย รวมถึงอาจมีอาการ "นอนไม่ค่อยหลับ"

2. ช่วงน้ำท่วมระหว่างนี้จะวิตกกังวลสูงขึ้น บางคนอาจร้องไห้ฟูมฟาย บางคนอาจเหม่อลอย มีอาการของ "โรคซึมเศร้า"หรือบางรายอาจหงุดหงิดที่ต้องอาศัยอยู่ท่ามกลางน้ำท่วมเป็นเวลานานจนอาจทำให้กลายเป็นคน "ฉุนเฉียวง่าย"ซึ่งความรุนแรงในระยะนี้ก็ขึ้นอยู่กับระดับสถานการณ์ที่ต้องเผชิญเป็นสำคัญ

ช่วงนี้ทั้งคนเครียดและคนรอบข้างก็ต้องเท่าทันอารมณ์3. ช่วงหลังน้ำท่วมในช่วงนี้อย่าคิดว่าไม่เครียด อย่าคิดว่าไม่น่ากลัว เพราะอาการเครียดของผู้ที่ต้องเผชิญภัยน้ำท่วมอาจจะเริ่มแสดงออกมากยิ่งขึ้น จากการที่เริ่มมองเห็นความสูญเสีย ทั้งทรัพย์สินของตนเอง ของผู้อื่น รวมถึงการต้องสูญเสียชีวิตของผู้อื่น ซึ่งในช่วงที่ 1 และ 2 นั้นความสนใจหลัก ๆ จะอยู่ที่สิ่งที่เกิดขึ้นตรงหน้าและการต้องปรับตัวกับสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้น แต่พอผ่านพ้นไปก็จะเริ่มมองเห็นความเสียหายชัดเจน

บางรายต้องเริ่มมีการค้นหาคนรู้จักที่สูญหาย ทำให้เริ่มวิตกกังวล ซึ่งหากบางรายมีอาการทางจิตหรืออาการทางกายอย่างอื่นประกอบด้วย ก็อาจทำให้ป่วยทางจิตมาก ๆ ได้

ที่สำคัญ...ในช่วงที่ 3 นี้อาจเกิดการ "คิดสั้น" ขึ้นได้ง่าย!!

ผู้สันทัดกรณีด้านสุขภาพจิตยังระบุถึง "ผลลบทางจิตจากภัยน้ำท่วม"อีกว่า... ระหว่างช่วงที่ 1 ที่เกิดภัยแรก ๆ จะยังไม่ค่อยเกิดผลกระทบทางจิตใจมากเท่าไหร่ แต่หลังผ่านช่วงที่ 2-3 แล้ว ถือว่าเป็นช่วง "ต้องระวังเป็นพิเศษ"ซึ่งช่วงแรกคนจะยังไม่ค่อยสนใจเรื่องอื่น ๆ นอกจากเรื่องน้ำท่วมตรงหน้า แต่หลังผ่านพ้นไป แล้วสถานการณ์ไม่คลี่คลาย หรือคลี่คลายช้า คนก็จะเริ่มเครียดและคิดกังวลมากขึ้น ถึงเรื่องทรัพย์สิน-อนาคต

ช่วงนี้เองที่ความเครียดจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างมากหากบางรายมีอาการทางกาย หรือป่วยทางจิตอยู่เดิม ก็อาจทำให้คิดสั้นหรือตัดสินใจ "ฆ่าตัวตาย" ได้ ซึ่งตรงนี้อาการจะแสดงออกมารุนแรงมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับภูมิคุ้มกันทางจิตใจของแต่ละคน

อย่างไรก็ตาม ผู้สันทัดกรณียังระบุไว้ต่อไปอีกว่า... แม้ว่าสำหรับคนที่มีแนวโน้ม เช่น มีปัญหาทางจิต เจ็บป่วยทางกายเรื้อรังหรือติดสารเสพติด เมื่อประสบภัยน้ำท่วมเข้ามาซ้ำ ก็อาจกระตุ้นให้คิดสั้นได้ แต่เรื่องน้ำท่วมก็จะไม่ใช่สาเหตุหลักที่จะทำให้อัตราการฆ่าตัวตายของคนไทยสูงขึ้น ถ้าไม่มีแนวโน้ม-ไม่มีความคิดอยู่เดิม

เพียงแต่ปัจจัยสำคัญคือต้อง "มีภูมิคุ้มกันทางสังคมดี"ซึ่งก็เกี่ยวข้องกับบุคคลหลายฝ่าย ทั้งผู้ที่เครียดเอง คนรอบข้าง คนในชุมชน คนในหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐที่มีหน้าที่ดูแลช่วยเหลือ-ฟื้นฟู

การมีภูมิคุ้มกันทางสังคมดี การมีภูมิคุ้มกันทางอารมณ์ความรู้สึกดี ต่อให้ทรัพย์สินเสียหายจากภัยน้ำท่วมจนแทบหมดเนื้อหมดตัว หรือถึงขั้นหมดเนื้อหมดตัว จะอย่างไรก็คงไม่คิดสั้น

"อยากให้ผู้ที่ประสบภัยน้ำท่วมคิดให้ได้ว่า นี่ล้วนเกิดจากฝีมือของธรรมชาติ ไม่มีใครอยากให้เกิด พยายามมองหาภาพเชิงบวกและพยายามปรับตัวปรับใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นเพื่อบรรเทาความเครียดบางคนอาจจะ พลิกวิกฤติให้เป็นโอกาสเช่น นาน้ำท่วม ก็เปลี่ยนมาจับปลาในนาที่น้ำท่วมขาย หรือพาลูกหลานเล่นน้ำ ก็จะช่วยทำให้พอจะมีรอยยิ้มขึ้นมาได้บ้าง ช่วยผ่อนหนักให้เป็นเบาได้ระดับหนึ่ง

และทางเยียวยาที่ดีที่สุดก็คือ ทุกคนทุกฝ่ายต้องช่วยเหลือกันมีน้ำใจให้กัน ซึ่งจะช่วยทำให้ความเครียดที่เกิดขึ้นแปรเปลี่ยนได้เปลี่ยนเป็นความชุ่มชื่นใจ จากน้ำใจที่คนไทยมอบให้กัน..."...เป็นคำแนะนำทิ้งท้ายจากผู้สันทัดกรณีด้านสุขภาพจิต กับเรื่องของ "ความเครียด-ป่วยจิต"

อีกรูปแบบภัยคนไทยตอนนี้...ที่ต่อเนื่องจาก "ภัยน้ำท่วม"เป็นภัยที่รัฐบาล-ราชการ-คนไทยทั่วไป...ต้องช่วยกันระวังเพื่อป้องกัน...มิให้เกิด "สูญเสียซ้ำซ้อน"ที่น่าสลดใจ!!




 










 


หน้าแรก | เกี่ยวกับแผนงาน | เครือข่ายและกิจกรรม | ผลผลิตและรายงาน | ข้อมูลสถิติ | การจัดการความรู้ | หน่วยงาน | ติดต่อแผนงาน | เจ้าหน้าที่ดูแลระบบ
แนะนำแผนงาน | ข่าวกิจกรรม | เกาะติดกิจกรรมเด่น | หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง | ผลผลิตและรายงาน| รายงานสุขภาพ| ก้าวใหม่กับ HISO | สถานการณ์สุขภาพประเทศไทย
การวิเคราะห์สถานการณ์สุขภาพ | สถานการณ์ข่าวสุขภาพ | เรื่องเล่าข่าวสุขภาพ | สื่อข้อมูลสุขภาพ | แบบสำรวจสุขภาพ | webbord | คำถามที่พบบ่อย | สมุดเยี่ยมชม | บริการข้อมูล