หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ [ วันจันทร์ ที่ 1 เดือนพฤจิกายน 2553 ]
หมากฝรั่ง ผสมสารไซลิทอล ยิ่งเคี้ยว ยิ่งชัวร์ ป้องกันฟันผุ


เคาโก มาคิเนน

พื่ออัพเดทความก้าวหน้าทางวิทยาการในการดูแลสุขภาพฟัน ชมรมป้องกันฟันผุไทย ได้จัดเสวนาเรื่อง "นวัตกรรมในการดูแลสุขภาพฟัน โดยใช้น้ำตาลแอลกอฮอล์ หรือไซลิทอล (Xylitol)" โดยเชิญ ศาสตราจารย์เคาโก มาคิเนน ผู้เชี่ยวชาญงานวิจัยด้านสารไซลิทอลระดับโลก จากประเทศฟินแลนด์ มาเป็นวิทยากร ที่โรงแรมเดอะ เวสทิน แกรนด์ สุขุมวิท เมื่อเร็วๆนี้


ศาสตราจารย์เคาโก มาคิเนน กล่าวว่า สารไซลิทอลเป็นน้ำตาลแอลกอฮอล์และเป็นสารให้ความหวานที่ได้จากธรรมชาติ พบได้ในผัก ผลไม้หลายชนิด เช่น ต้นเบิร์ช, สตรอเบอร์รี่, แครอท, ซังข้าวโพด, ฟาง, รำข้าว และผลไม้เปลือกแข็งจำพวกถั่วต่างๆ ไซลิทอลถูกค้นพบครั้งแรกในประเทศฟินแลนด์และมีการใช้อย่างแพร่หลายในต่างประเทศมานานกว่า 10 ปี ทั้งในยุโรป อเมริกา และเอเชีย เช่น ประเทศญี่ปุ่น ความหวานของไซลิทอลใกล้เคียงกับน้ำตาลทั่วไป ไม่มีกลิ่น และยังให้พลังงานน้อยกว่าน้ำตาลทั่วไปถึงประมาณ 40% จากผลงานวิจัยพบว่าหญิงตั้งครรภ์และคุณแม่ที่เพิ่งคลอด สามารถใช้สารไซลิทอลได้อย่างปลอดภัย เพื่อลดปริมาณแบคทีเรียในช่องปาก ต้นเหตุของโรคฟันผุ ซึ่งแม่สามารถถ่ายทอดไปสู่ลูกได้ เนื่องจากความใกล้ชิดและการส่งผ่านทางน้ำลาย เมื่อช่องปากของคุณแม่มีปริมาณแบคทีเรียตัวร้ายต่ำ ก็จะสามารถลดปัญหาการถ่ายทอดเชื้อไปสู่ช่องปากของลูก และช่วยลดการเกิดโรคฟันผุของลูกได้

ผู้เชี่ยวชาญจากประเทศฟินแลนด์แนะนำว่า การแปรงฟันวันละ 2 ครั้ง สามารถช่วยป้องกันการเกิดโรคฟันผุได้ แต่เพื่อประสิทธิภาพที่ดีมากยิ่งขึ้น วิธีการที่ง่ายและสะดวก สามารถทำได้โดยการเคี้ยวหมากฝรั่งที่มีส่วนผสมของสารไซลิทอลมากกว่า 50% ของสารให้ความหวานทั้งหมด ภายหลังอาหารมื้อหลักและมื้อว่าง ครั้งละ 1-2 เม็ด วันละ 5 ครั้ง โดยเคี้ยวนานครั้งละอย่างน้อย 5 นาทีขึ้นไป สารไซลิทอลจะไปยับยั้งแบคทีเรีย สเตร็บโตคอคคัส มิวแทนส์ ซึ่งเป็นแบคทีเรียในช่องปาก ต้นเหตุสำคัญของการเกิดโรคฟันผุได้.




 










 


หน้าแรก | เกี่ยวกับแผนงาน | เครือข่ายและกิจกรรม | ผลผลิตและรายงาน | ข้อมูลสถิติ | การจัดการความรู้ | หน่วยงาน | ติดต่อแผนงาน | เจ้าหน้าที่ดูแลระบบ
แนะนำแผนงาน | ข่าวกิจกรรม | เกาะติดกิจกรรมเด่น | หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง | ผลผลิตและรายงาน| รายงานสุขภาพ| ก้าวใหม่กับ HISO | สถานการณ์สุขภาพประเทศไทย
การวิเคราะห์สถานการณ์สุขภาพ | สถานการณ์ข่าวสุขภาพ | เรื่องเล่าข่าวสุขภาพ | สื่อข้อมูลสุขภาพ | แบบสำรวจสุขภาพ | webbord | คำถามที่พบบ่อย | สมุดเยี่ยมชม | บริการข้อมูล