ผู้จัดการออนไลน์ [ วันอังคาร ที่ 22 เดือนตุลาคม 2553 ]
ภาวะบวมน้ำเหลือง


โดย ศ.นพ.อดุลย์ รัตนวิจิตราศิลป์ ศัลยแพทย์

นึกถึงภาวะบวมน้ำเหลือง หรือ Lympheadema ทีไร จะเห็นภาพส่วนปลายของอวัยวะต่างๆ บวมขึ้น อาจเป็นที่แขน ขา มือ เท้า ถุงอัณฑะ หรือที่แคมอวัยวะเพศก็ได้

โรคนี้เกิดได้หลายสาเหตุ ตั้งแต่ โรคเท้าช้าง ซึ่งเป็นโรคติดต่อที่มียุงเป็นพาหะ พบมากทางภาคใต้ หรืออีกสาเหตุที่พบบ่อย คือ ผลจากการผ่าตัดเลาะต่อมน้ำเหลือง หรือการฉายรังสีเพื่อรักษาผู้ป่วยมะเร็งเต้านม และมะเร็งปากมดลูก ทำให้เกิดพังผืดกั้นท่อน้ำเหลือง ส่งผลให้ส่วนปลายแขนและขาบวมขึ้น อาจตามมาด้วยการอักเสบ ผิวหนังบริเวณที่บวมจะร้อนขึ้นอย่างชัดเจน อาจเป็นจ้ำสีแดง จับแล้วรู้สึกเจ็บปวด ในรายที่เป็นมาก อาจมีไข้สูง หนาวสั่น


อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ได้รับการผ่าตัดเลาะต่อมน้ำเหลือง มีเพียง 10 เปอร์เซ็นต์ ที่เกิดภาวะบวมน้ำเหลืองขึ้น ซึ่งเราสามารถป้องกันได้ โดยหลีกเลี่ยงการให้น้ำเกลือ วัดความดัน เจาะเลือดที่แขนหรือขาข้างที่ได้รับการผ่าตัด และอย่าออกแรงมากๆ เช่น ยกของหนัก เพราะอาจทำให้เกิดภาวะบวมน้ำเหลืองได้ รวมทั้งหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสิ่งสกปรก เช่น การล้างห้องน้ำ ทำสวน ลุยน้ำครำ เพราะอาจทำให้เกิดแผลเปิดและติดเชื้อ ยิ่งอักเสบติดเชื้อมากเท่าใด อาการบวมก็จะยิ่งรุนแรงมากขึ้นเท่านั้น

แม้ภาวะบวมน้ำเหลืองจะยังไม่มีวิธีรักษาที่ได้ผล แต่มีรายงานผลการวิจัยก่อนหน้านี้ ว่า การผ่าตัดต่อหลอดน้ำเหลืองเข้ากับหลอดเลือดดำสามารถแก้ไขภาวะนี้ได้ หากแต่ยังอยู่ในขั้นตอนการวิจัย สำหรับผู้ป่วยมะเร็งเต้านมในระยะที่ยังไม่มีการแพร่กระจายของโรค สามารถตรวจต่อมน้ำเหลืองเซนติเนลโดยไม่ต้องเลาะต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ ซึ่งวิธีนี้จะไม่เสี่ยงต่อภาวะบวมน้ำเหลือง

เรียบเรียงบทความโดย นิษฐ์ภัสสร ห่อเนาวรัตน์




 










 


หน้าแรก | เกี่ยวกับแผนงาน | เครือข่ายและกิจกรรม | ผลผลิตและรายงาน | ข้อมูลสถิติ | การจัดการความรู้ | หน่วยงาน | ติดต่อแผนงาน | เจ้าหน้าที่ดูแลระบบ
แนะนำแผนงาน | ข่าวกิจกรรม | เกาะติดกิจกรรมเด่น | หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง | ผลผลิตและรายงาน| รายงานสุขภาพ| ก้าวใหม่กับ HISO | สถานการณ์สุขภาพประเทศไทย
การวิเคราะห์สถานการณ์สุขภาพ | สถานการณ์ข่าวสุขภาพ | เรื่องเล่าข่าวสุขภาพ | สื่อข้อมูลสุขภาพ | แบบสำรวจสุขภาพ | webbord | คำถามที่พบบ่อย | สมุดเยี่ยมชม | บริการข้อมูล