เรื่องเล่าข่าวสุขภาพ | สมรรถภาพร่างกาย | สุขภาวะทางจิต | สุขภาพกับความงาม | สื่อกับสุขภาพ | สมุนไพรเพื่อสุขภาพ | ธรรมะกับสุขภาพ








...ศีลคือชีวิต...





คนที่บอกว่าเขารักชีวิต แต่เขาไม่รักษาศีล จะเชื่อถือได้อย่างไรว่าเขารักชีวิตจริง

ศีล คือ ชีวิต...ชีวิต คือ ศีล

คนไม่มีศีล เปรียบเสมือนต้นไม้ที่ไม่มีราก เมื่อถูกลมพัดก็ย่อมล้ม

คนไม่มีศีล เหมือนการสร้างบ้าน สร้างตึกที่ไม่มีรากฐานไม่มีเสาเข็ม ย่อมล้มเป็นธรรมดา

คนไม่มีศีล เหมือนคนไม่มีเท้าย่อมเดินไม่ได้ เหมือนรถไม่มีล้อแล่น วิ่งไม่ได้

คนไม่มีศีล เหมือนคนเป็นใหญ่เป็นโต แต่ไม่มีความรู้ ย่อมปกครองทรัพย์ ปกครองลูกน้องไม่ได้ดี

คนไม่มีศีล จะเจริญสมาธิและกระทำให้เกิดปัญญา และวิมุตติไม่ได้ และสำเร็จมรรคผลนิพพานไม่ได้

คนมีศีล ตกน้ำไม่ไหล ตกไฟก็ไม่ไหม้ (ไม่ว่าจะอยู่ในหมู่คนพาลหรือคนดี ย่อมรักษาตัวรอดได้)

คนมีศีล จะนั่งนอน หลับตื่น ก็เป็นสุขอยู่ในกาลทุกเมื่อ ไม่มีวิปฏิสาร (คือความเดือดร้อนใจ)

คนมีศีล มีชีวิตอยู่เพียงวันเดียวย่อมประเสริฐกว่า ผู้ไม่มีศีลซึ่งมีชีวิตอยู่ตั้งร้อยปี

คนมีศีล ย่อมไม่ทำบาปแม้ในที่ลับ เพราะมีความตรงและจริงใจต่อตนเอง

คนมีศีล ย่อมไปสู่ทุคติจตุรบาย

ศีล คือ เครื่องรางที่ป้องกันอบายภูมิได้อย่างศักดิ์สิทธิ์

คนมีศีล ย่อมมีสุคติเป็นที่ไปเบื้องหน้า

คนมีศีล จะค้าขายก็จะมีแต่ความเจริญโดยส่วนเดียว

คนมีศีล เข้าสมาธิก็ง่าย ไม่สะดุ้งตกใจง่าย

คนมีศีล ย่อมไม่ฝันลามก ย่อมไม่ฝันร้าย

คนมีศีล บรรลุธรรมก็ง่าย

คนมีศีล ย่อมไม่ก่อกรรมทำบาป

คนมีศีล คือ ผู้ที่มีจิตศรัทธาในพระรัตนตรัยอย่างแท้จริง (คือเชื่อในพระรัตนตรัยจริงๆ)

คนมีศีล ย่อมเห็นโทษของบาปแม้เพียงเล็กน้อย

เพราะผิดศีลข้อ ๑ จึงมีกรรม อายุสั้น มีโรคภัยไข้เจ็บมาก

เพราะผิดศีลข้อ ๒ จึงมีกรรม ทรัพย์สมบัติต้องวิบัติ ด้วยแรงกรรมต่างๆ เช่น ดิน น้ำ ลม ไฟ

เพราะผิดศีลข้อ ๓ จึงมีกรรม ภริยา-สามี นอกจิต นอกใจ บุตร-ธิดาไม่อยู่ในโอวาทคบชู้สู่ชาย

เพราะผิดศีลข้อ ๔ จึงมีกรรม พูดจาไม่มีคนเชื่อถ้อยฟังคำ ตาบอด หู หนวก เป็นอัมพาต

เพราะผิดศีลข้อ ๕ จึงมีกรรม โง่เง่า หลงทำกาลกิริยา เป็นบ้า เป็นใบ้

รักษาศีลให้ได้ มีสุคติเป็นที่ไปแน่นอน

รักษาศีลให้ได้ มีโภคทรัพย์แน่นอน

รักษาศีลให้ได้ มีนิพพานเป็นที่ไป และเข้าถึงแน่นอน


 




ขอขอบคุณที่มา : http://jarun.org/
                         ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต





 


 











 
๏ปฟ












เธซเธ™เน‰เธฒเนเธฃเธ | เน€เธเธตเนˆเธขเธงเธเธฑเธšเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธ„เธฃเธทเธญเธ‚เนˆเธฒเธขเนเธฅเธฐเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธ–เธดเธ•เธด | เธเธฒเธฃเธˆเธฑเธ”เธเธฒเธฃเธ„เธงเธฒเธกเธฃเธนเน‰ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ•เธดเธ”เธ•เนˆเธญเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธˆเน‰เธฒเธซเธ™เน‰เธฒเธ—เธตเนˆเธ”เธนเนเธฅเธฃเธฐเธšเธš
เนเธ™เธฐเธ™เธณเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เนˆเธฒเธงเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เน€เธเธฒเธฐเธ•เธดเธ”เธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธกเน€เธ”เนˆเธ™ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™เธ—เธตเนˆเน€เธเธตเนˆเธขเธงเธ‚เน‰เธญเธ‡ | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™| เธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™เธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž| เธเน‰เธฒเธงเนƒเธซเธกเนˆเธเธฑเธš HISO | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธžเธ›เธฃเธฐเน€เธ—เธจเน„เธ—เธข
เธเธฒเธฃเธงเธดเน€เธ„เธฃเธฒเธฐเธซเนŒเธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เน€เธฃเธทเนˆเธญเธ‡เน€เธฅเนˆเธฒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธทเนˆเธญเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เนเธšเธšเธชเธณเธฃเธงเธˆเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | webbord | เธ„เธณเธ–เธฒเธกเธ—เธตเนˆเธžเธšเธšเนˆเธญเธข | เธชเธกเธธเธ”เน€เธขเธตเนˆเธขเธกเธŠเธก | เธšเธฃเธดเธเธฒเธฃเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅ