เรื่องเล่าข่าวสุขภาพ | สมรรถภาพร่างกาย | สุขภาวะทางจิต | สุขภาพกับความงาม | สื่อกับสุขภาพ | สมุนไพรเพื่อสุขภาพ | ธรรมะกับสุขภาพ






ประโยชน์ของสมาธิ





 


ประโยชน์ของสมาธิ พูดได้หลายอย่าง เช่น ประโยชน์ทางด้านอภิญญา ประโยชน์ทางด้านศาสนา ประโยชน์ทางด้านบุคลิกภาพ ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน

1.ประโยชน์ทางด้านอภิญญา เช่น ฝึกสมาธิแล้วได้อภิญญา(ความสามารถพิเศษเหนือสามัญชน) ได้แก่ หูทิพย์ ตาทิพย์ ทายใจคนอื่นได้ แสดงอิทธิฤทธิ์ต่างๆ ได้ ประโยชน์ด้านนี้ไม่เกี่ยวข้องกับพระศาสนาโดยตรง

2.ประโยชน์ที่เป็นจุดหมายทางพุทธศาสนา  แบ่งเป็น 3 ระดับ คือ

(1) ประโยชน์ระดับต้น ฝึกสมาธิไประยะหนึ่ง จิตจะหายฟุ้งซ่าน จนถึงระดับได้ฌาน สามารถใช้สมาธิที่ได้ระงับ หรือข่มกิเลสได้ชั่วคราว แค่นี้ก็เรียกได้ว่าได้ "วิมุตติ"(หลุดพ้น)ระดับหนึ่งแล้ว เรียกว่า วิกขัมภมวิมุติ (หลุดพ้นด้วยข่มไว้)ตราบใดที่ยังข่มได้อยู่ เจ้ากิเลสมันก็ไม่ฟุ้งดอกครับ อย่าเผลอก็แล้วกันเผลอเมื่อได เดี๋ยว "จะเป็นเรื่อง"

เมื่อท่านเจ้าประคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจันโท จันทร์) เทศน์สองธรรมาสน์กับ สมเด็จวัดเทพศิรินทร์ เจ้าคุณอุบาลีฯท่านอธิบายเรื่องกิเลส โลภ โกรธ หลง ยกศัพท์ยกแสงขึ้นมาอธิบายอย่างละเอียด สมเด็จท่านทักขึ้นว่า"แหม ว่าละเอียดเชียวนะ โลภมาจากธาตุนั้นปัจจัยนี้… ไหนลองบอกดูวิว่า ลาว มาจากธาตุอะไร"   (ท่านเจ้าคุณอุบาลีฯท่านเป็นชาวอีสาน ที่คนภาคกลางมักจะเรียกเหยียดๆว่า "ลาว")

ท่านเจ้าคูณอุบาลีฯ ตอบว่า ลาว ภาษาบาลีว่า ลาโว แปลว่า "ผู้ตัด" มาจาก ลุ ธาตุ วิเคราะห์ว่า ลุนาตีติ ลาโว = ผู้ใดย่อมตัดผู้นั้นชื่อว่าลาว" "ตัดอะไร" สมเด็จซัก "ตัดหางเปียเจ็ก" เจ้าคุณอุบาลีฯสวนขึ้นทันที(สมเด็จท่านมีเชื้อสายจีนชาวชลบุรีครับ) สมเด็จไม่ทันระวังตัว เพราะมัวไปแขวะคนอื่นเพื่อความมันส์โกรธหน้าแดงเลย นี่แหละครับ กิเลสที่มันสงบอยู่ดุจหญ้าถูกหินทับ พอถูกสะกิดเท่านั้นมันก็ฟุ้งขึ้นมาได้ ยกเรื่องจริงในยุทธจักรดงขมิ้นมาเล่าประดับความรู้ครับ

(2) ประโยชน์ระดับสูงสุด ก็คือสมาธิอันเป็นบาทฐานวิปัสนาพิจารณาสภาวธรรมทั้งหลายรู้แจ้งไตร-
ลักษณ์ กำจัดกิเลสได้โดยสิ้นเชิง พูดอีกในหนึ่งก็คือสมาธินำไปสู่ความเป็นพระอรหันต์นั้นแหละครับ

3.ประโยชน์สมาธิในด้านพัฒนาบุคลิกภาพ   ผู้ที่ฝึกสมาธิประจำ ย่อมมีบุคลิกภาพที่พึงปรารถนาหลาย
ประการเช่น

(1) มีบุคลิกหนักแน่น เข้มแข็ง
(2) มีความสงบเยือกเย็น ไม่ฉุนเฉียวเกรี้ยวโกรธ
(3) มีความสุภาพ นิ่มนวล ท่าทีมีเมตตากรุณา
(4) สดใส สดชื่น เบิกบาน
(5) สง่า องอาจ น่าเกรงขาม
(6) มีความมั่นคงทางอารมณ์
(7) กระฉับกระเฉง ไม่เซื่องซึม
(8) พร้อมเผชิญเหตุการณ์ต่างๆ แก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ฉับไว ไม่ต้องอธิบาย เพียงเอ่ยถึง
     ก็คงเข้าใจแล้วนะครับ

4.ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน   คนมักถามว่าฝึกสมาธิแล้วได้ประโยชน์อะไรในชีวิตประจำวัน ฝึกแล้ว
บรรลุมรรคผลนิพพานน่ะ รู้แล้วว่าพระคัมภีร์พูดไว้จริง แต่ได้จริงหรือเปล่า ยังไม่เคยเห็น ถ้าจะให้ทำเองก็ไม่ทราบว่าเมื่อไรจะเห็นผล เอาในชีวิตประจำวันเห็นๆกันนี้ดีกว่าว่าฝึกแล้วได้อะไร ได้มากมายทีเดียวกันเช่น

(1)  ทำให้ใจสบาย ไม่เครียด มีความสุข ผ่องใส
(2)  หายหวาดกลัว หายกระวนกระวายโดยไม่จำเป็น
(3)  นอนหลับง่าย ไม่ฝันร้าย สั่งตัวเองได้(เช่น สั่งให้หลับหรือตื่นตามเวลาที่กำหนดไว้ได้)
(4)  กระฉับกระเฉง ว่องไว รู้จักเลือกและตัดสินใจเหมาะแก่สถานการณ์
(5)  มีความแน่วแน่ในจุดหมาย มีความใฝ่สัมฤทธิ์สูง
(6)  มีสติสัมปชัญญะดี รู้เท่าปรากฏการณ์ และยับยั้งใจได้ดีเยี่ยม
(7)  มีประสิทธิภาพในการทำงาน ทำกิจกรรมสำเร็จด้วยดี
(8)  ส่งเสริมสมรรถภาพมันสมอง เรียนหนังสือเก่ง ความจำดีเยี่ยม
(9)  เกื้อกูลต่อสุขภาพร่างกาย เช่นชะลอความแก่ หรืออ่อนกว่าวัย
(10) รักษาโรคบางอย่าง เช่น โรคเครียด โรคท้องผูก โรคความดันโลหิต โรคหืด

โรคกายจิต(อ่านว่าโรค กา-ยะ-จิต ) หมายถึง ไม่เป็นโรค แต่ใจคิดว่าเป็น คิดบ่อยๆเข้าก็เลยเป็นจริงๆ อาการอย่างนี้ฝึกสมาธิสักพักเดียวก็หาย

ลองฝึกสมาธิดูสิครับ วันละเล็กละน้อย ทำบ่อยๆเป็นกิจวัตร ไม่ช้าไม่นานเราจะรู้ตัวว่าเรากลายเป็นคนละคนกับคนเก่า-ปานนั้นเชียว











ขอขอบคุณที่มา : เปรียญเก้าประโยคมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับที่976
                          อ้างใน http://www.kmitl.ac.th/buddhist/tumma/concentrate.html
                          ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต





 













 
๏ปฟ












เธซเธ™เน‰เธฒเนเธฃเธ | เน€เธเธตเนˆเธขเธงเธเธฑเธšเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธ„เธฃเธทเธญเธ‚เนˆเธฒเธขเนเธฅเธฐเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธ–เธดเธ•เธด | เธเธฒเธฃเธˆเธฑเธ”เธเธฒเธฃเธ„เธงเธฒเธกเธฃเธนเน‰ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ•เธดเธ”เธ•เนˆเธญเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธˆเน‰เธฒเธซเธ™เน‰เธฒเธ—เธตเนˆเธ”เธนเนเธฅเธฃเธฐเธšเธš
เนเธ™เธฐเธ™เธณเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เนˆเธฒเธงเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เน€เธเธฒเธฐเธ•เธดเธ”เธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธกเน€เธ”เนˆเธ™ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™เธ—เธตเนˆเน€เธเธตเนˆเธขเธงเธ‚เน‰เธญเธ‡ | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™| เธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™เธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž| เธเน‰เธฒเธงเนƒเธซเธกเนˆเธเธฑเธš HISO | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธžเธ›เธฃเธฐเน€เธ—เธจเน„เธ—เธข
เธเธฒเธฃเธงเธดเน€เธ„เธฃเธฒเธฐเธซเนŒเธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เน€เธฃเธทเนˆเธญเธ‡เน€เธฅเนˆเธฒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธทเนˆเธญเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เนเธšเธšเธชเธณเธฃเธงเธˆเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | webbord | เธ„เธณเธ–เธฒเธกเธ—เธตเนˆเธžเธšเธšเนˆเธญเธข | เธชเธกเธธเธ”เน€เธขเธตเนˆเธขเธกเธŠเธก | เธšเธฃเธดเธเธฒเธฃเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅ