เรื่องเล่าข่าวสุขภาพ | สมรรถภาพร่างกาย | สุขภาวะทางจิต | สุขภาพกับความงาม | สื่อกับสุขภาพ | สมุนไพรเพื่อสุขภาพ | ธรรมะกับสุขภาพ






ธรรมะจากต้นไม้ โดยท่าน ภิกขุ ปัญญาวัฒน์





 


อาจารย์ท่านหนึ่งสอนศิษย์ให้ไปกวาดใบไม้แห้งที่ลานวัดทุกๆวัน กวาดแล้วรุ่งขึ้นท่านอาจารย์ก็ถามลูกศิษย์ว่าพบอะไรบ้าง ลูกศิษย์ก็บอกว่าไม่เห็นมีอะไรไม่พบอะไร ท่านก็ให้กวาดใบไม้แห้งต่อไปเรื่อยๆจนกว่าจะพบอะไรสักอย่าง ลูกศิษย์ก็กวาดต่อไปเรื่อยๆ บางทีก็พบเศษสตางค์ที่คนมาเที่ยวทำตกหล่นไว้ ก็เอาไปให้อาจารย์ อาจารย์ก็บอกว่าสตางค์ไม่มีประโยชน์อะไร ก็ให้กวาดต่อไปทุกวันกวาดไปเรื่อยๆ

วันหนึ่งลูกศิษย์ก็วางไม้กวาดนั่งลงนึกตรึกตรองเรื่องการกวาดใบไม้ ก็ได้พบความจริงและนำความนั้นไปบอกอาจารย์ว่า "ผมกวาดใบไม้มาเดือนหนึ่งแล้วเพิ่งพบความจริงวันนี้เอง" ท่านอาจารย์ถามลูกศิษย์ว่า "พบอะไร" เขาก็บอกกับอาจารย์ว่า "พบว่าสิ่งทั้งหลายมันไม่เที่ยง มีความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา" อาจารย์ก็บอกว่า "กวาดต่อไปอีกที่พบน่ะมันน้อยเกินไป" ลูกศิษย์คนนั้นก็กวาดใบไม้ทิ้งต่อไป จนกว่าจะพบสิ่งที่อาจารย์อยากให้พบ

เราคงเคยเห็นใบไม้หล่นเต็มสนามแล้วก็เห็นเด็กๆ หรือคนใช้ไปกวาดมันทิ้งเสีย คนที่กวาดขยะทุกวันๆ แต่ไม่มีอะไรเกิดขึ้นในใจ แต่ถ้าเป็นคนที่มีการศึกษาทางธรรมะเมื่อกวาดใบไม้แห้งก็ย่อมจะเกิดความคิด เกิดความคิดขึ้นว่าใบไม้อ่อนแล้วก็เป็นใบแก่ แล้วก็เป็นใบสีเหลือง แล้วก็ร่วงหล่นกองอยู่ที่พื้นจนเราต้องกวาดไปทิ้ง

เมื่อเกิดคิดอย่างนั้นขึ้นมาก็เอามาเปรียบเทียบกับตัวเองว่าสมัยหนึ่งเราก็เคยเป็นเด็กน้อยนอนแบเบาะ แล้วต่อมาก็โตขึ้นเรื่อยๆจนกระทั่งเป็นผู้ใหญ่เวลานี้อายุเท่าไหร่ หรืออยู่ในสภาพใบไม้เหี่ยวใบไม้สีเหลือง ไม่เท่าไหร่ก็จะร่วงหล่นลงไปนอนในหีบศพ ถ้าคิดขึ้นมาอย่างนี้ก็เกิดความสลดใจ แล้วจะได้กลับจิตกลับใจเข้าหาการทำความดีได้

คนเรานี่ทำอะไรต้องพิจารณาให้ได้ความจริง อย่างปลูกต้นไม้ดอกไม้อย่าเพียงแต่ปลูกเพื่อความเพลินใจ แต่ปลูกเพื่อศึกษาความจริงจากต้นไม้ดอกไม้ในแง่ธรรมะ เช่นปลูกกุหลาบใส่กระถางไว้ก็ต้องดูกุหลาบเพื่อให้เกิดธรรม เราควรพิจารณาว่าเราได้อะไรจาการปลูกกุหลาบหรือปลูกกล้วยไม้บ้าง นอกจากความเพลิดเพลินเจริญใจจากความสวยงามและความหอมของดอกไม้แล้วเรายังได้แง่คิดอะไรทางธรรมจากการปลูกดอกไม้เหล่านี้บ้าง

อะไรที่อยู่รอบๆตัวเรานั้นเป็นธรรมะ พระพุทธองค์กล่าวกับพระวักกลิว่า "โย โข วกกลิ ธมฺมํ ปสฺสติ โส มํ ปสฺสติ" " ดูก่อนวักกลิ ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นเรา" อันนี้แหละคือตัวปัญญา ถ้าเราเห็นธรรมะคือเห็นความไม่เที่ยงของสิ่งนั้นก็ดี เห็นความทุกข์ของสิ่งนั้นก็ดี เห็นความเป็นอนัตตาความไม่มีตัวตนของสิ่งเหล่านั้นก็เรียกว่าเราได้ธรรมะ

เมื่อเห็นแล้วก็ยังจะต้องคิดต่อไป พิจารณาต่อไป เวลาเราไปมองสิ่งอื่นก็จะได้เกิดความเปรียบเทียบให้เห็นว่ามันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันไม่มีความแตกต่างกัน คนเราเมื่อเห็นอะไร(ทางธรรม)เหมือนกันเมื่อใดแล้วเราก็ไม่เป็นทุกข์ แต่ถ้าเราเห็นอะไรแตกต่างกันไป เช่น เห็นว่าสวย เห็นว่าไม่สวย เห็นหญิง เห็นชาย เห็นหนุ่มเห็นสาว เห็นชอบ เห็นไม่ชอบ เห็นกงจักรเป็นดอกบัว เป็นต้น เพราะเหตุแห่งความเห็นอะไรที่แตกต่างกันนี่แหละ จึงเป็นเหตุให้เกิดกิเลส เป็นเหตุให้รักในบางครั้งชังในบางคราว ลุ่มหลงมัวเมาเป็นอย่างนั้นอย่างนี้

ในแง่ธรรมะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าท่านสอนให้เรามองเห็นอะไรๆให้เห็นเป็นสิ่งเดียว ไม่ให้เห็นเป็นสอง ไม่ให้เห็นเป็นคู่แต่ให้เห็นเป็นเรื่องเดียว ปัญญาที่มองเห็นอะไรเป็นอันเดียวกันนี่แหละ เป็นจุดหมายอันหนึ่งของพระพุทธศาสนา ลักษณะสามัญนามของสิ่งเหล่านั้นมันคืออะไร คือความไม่เที่ยงเรียกว่า "อนิจจัง" ความคงทนอยู่ไม่ได้คือ "ทุกขัง" ความไม่มีตัวตนที่แท้จริงคือ "อนัตตา"

เมื่อวกกลับมาถึงต้นไม้ดอกไม้เช่นดอกกุหลาบดอกกล้วยไม้ที่ปลูก แล้วเห็นสัจธรรมอะไร ก็เห็นไตรลักษณ์นี่แหละคือความไม่เที่ยง (เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป) ทุกขังความคงทนอยู่ไม่ได้ และความไม่มีตัวตนที่แท้จริง เช่นกุหลาบที่ปลูกไว้ในกระถางหน้าบ้าน มีดอกสีแดงสวยสดงดงามมีกลิ่นหอมของกุหลาบที่สดชื่น ความเป็นจริงคือดอกกุหลาบนั้นเกิดขึ้นเป็นดอกตูมอ่อนเติบโตไม่กี่วันดอกนั้นก็บานเห็นสีแดงสดมีกลิ่นหอม เมื่อวันเวลาผ่านไปสักสองสามวันดอกกุหลาบเริ่มเหี่ยวกลีบกุหลาบเริ่มโรย วันที่สี่วันที่ห้ากลีบกุหลาบโรยจนหมดความสวยหมดความหอม

สัจธรรมความจริงได้ปรากฏเห็นความเกิดดับความคงทนอยู่ไม่ได้ของดอกกุหลาบ และความไม่มีตัวตนที่แท้จริงของดอกกุหลาบที่มีสีแดงสวยสดและมีกลิ่นหอมนั้น เพราะความจริงมีอยู่เช่นนี้เองจึงต้องมองให้เห็นเป็นอันเดียวกันในทางเดียวกันในมุมมองเดียวกัน การเห็นสิ่งเดียวกันแตกต่างกันเป็นเหตุให้เกิดกิเลส เช่นเดียวกับการมองดอกกุหลาบให้เห็นความเป็นจริง

และการเห็นความจริงของสิ่งอื่น ตัวอย่างเช่นชายหนุ่มเห็นหญิงสาว บ้างเห็นว่าเธอสวย บ้างเห็นว่าเธอรวย บ้างเห็นว่าเธอนิสัยดี บ้างเห็นว่าเธอเก่ง ต่างก็อยากได้เธอมาเป็นคู่ครองตามที่ตนคิดเห็น ทำให้เกิดกิเลสความลุ่มหลงแก่งแย่งกันจีบว่าใครจะจีบเธอได้เป็นคู่ครอง ถ้ามองในด้านเดียวกันในแง่ธรรมะทุกคนก็คงไม่มีใครอยากจะแก่งแย่งกันจีบเธอ เพราะความสาวสวยนั้นอยู่ชั่วคราวแล้วต่อไปเธอก็แก่เจ็บตาย สภาพร่างกายก็ไม่น่าดูเมื่อถึงเวลาดังกล่าวหนุ่มที่ไหนจะมาตามจีบตามชอบเธอ คงไม่มีหนุ่มคนไหนตามจีบตามชอบผู้หญิงแก่ๆ ผู้หญิงที่ตายแล้ว











ขอขอบคุณที่มา : http://www.budpage.com/forum/view.php?id=1737
                          ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต





 













 
๏ปฟ












เธซเธ™เน‰เธฒเนเธฃเธ | เน€เธเธตเนˆเธขเธงเธเธฑเธšเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธ„เธฃเธทเธญเธ‚เนˆเธฒเธขเนเธฅเธฐเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธ–เธดเธ•เธด | เธเธฒเธฃเธˆเธฑเธ”เธเธฒเธฃเธ„เธงเธฒเธกเธฃเธนเน‰ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ•เธดเธ”เธ•เนˆเธญเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธˆเน‰เธฒเธซเธ™เน‰เธฒเธ—เธตเนˆเธ”เธนเนเธฅเธฃเธฐเธšเธš
เนเธ™เธฐเธ™เธณเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เนˆเธฒเธงเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เน€เธเธฒเธฐเธ•เธดเธ”เธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธกเน€เธ”เนˆเธ™ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™เธ—เธตเนˆเน€เธเธตเนˆเธขเธงเธ‚เน‰เธญเธ‡ | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™| เธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™เธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž| เธเน‰เธฒเธงเนƒเธซเธกเนˆเธเธฑเธš HISO | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธžเธ›เธฃเธฐเน€เธ—เธจเน„เธ—เธข
เธเธฒเธฃเธงเธดเน€เธ„เธฃเธฒเธฐเธซเนŒเธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เน€เธฃเธทเนˆเธญเธ‡เน€เธฅเนˆเธฒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธทเนˆเธญเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เนเธšเธšเธชเธณเธฃเธงเธˆเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | webbord | เธ„เธณเธ–เธฒเธกเธ—เธตเนˆเธžเธšเธšเนˆเธญเธข | เธชเธกเธธเธ”เน€เธขเธตเนˆเธขเธกเธŠเธก | เธšเธฃเธดเธเธฒเธฃเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅ