เรื่องเล่าข่าวสุขภาพ | สมรรถภาพร่างกาย | สุขภาวะทางจิต | สุขภาพกับความงาม | สื่อกับสุขภาพ | สมุนไพรเพื่อสุขภาพ | ธรรมะกับสุขภาพ






เปลี่ยนปัญหาให้เป็นปัญญา





 



"ปัญหา"เป็นสิ่งที่ใคร ๆ ก็อยากเลี่ยงหลีก แต่ไม่มีใครที่หนีมันพ้นได้ เพราะปัญหาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต ในเมื่อเราไม่มีวันหนีปัญหาพ้น จะไม่ดีกว่าหรือหากเราเตรียมใจให้พร้อมเพื่อต้อนรับมันอยู่เสมอ

การมองว่า "ปัญหา"เป็นเรื่องธรรมดาของชีวิตที่ไม่มีใครหนีพ้น เช่นเดียวกับ เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยให้เราเผชิญกับปัญหาได้โดยไม่ทุกข์มากนัก แต่วิธีที่ดีกว่านั้นก็คือการเปลี่ยน "ปัญหา" ให้กลายเป็น "ปัญญา" เพราะนอกจากจะไม่ทุกข์หรือ "ขาดทุน"แล้ว ยังได้ประโยชน์เป็น "กำไร"กลับมาด้วย

ขอให้สังเกตคำว่า "ปัญหา" กับ "ปัญญา" นั้นมีความใกล้เคียงกันมาก ต่างกันแค่ตัวเดียวคือ "ห" กับ "ญ" ในชีวิตจริง สิ่งที่เรียกว่า "ปัญหา" นั้นก็อยู่ใกล้กับ "ปัญญา" มากเช่นเดียวกัน

ปัญหาสามารถก่อให้เกิดปัญญาได้หากรู้จักมองหรือใคร่ครวญกับมัน นักเรียนจะเฉลียวฉลาดได้ก็เพราะหมั่นทำการบ้าน การบ้านนั้นคืออะไรหากไม่ใช่ปัญหาหรือโจทย์ที่ต้องขบคิด ถ้าครูไม่ขยันให้โจทย์หรือตั้งคำถามให้นักเรียนขบคิด นักเรียนก็ยากที่จะเกิดปัญญาได้ คนทั่วไปนั้นเมื่อเจอปัญหาก็จะเป็นทุกข์หรือกลัดกลุ้มไปกับมัน แต่ถ้าลองตั้งสติและพิจารณาให้ดี ปัญหาก็จะกลายเป็นปัญญาได้ไม่ยาก เมื่อ ๘๐ ปีก่อน นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษคนหนึ่งได้เพาะเลี้ยงแบคทีเรียไว้ในจานเพื่อใช้ในการศึกษาวิจัยเรื่องไข้หวัด วันหนึ่งเขาพบว่ามีเชื้อราเข้าไปปนเปื้อนและทำลายแบคทีเรียที่เพาะเอาไว้ นั่นหมายความว่าเขาต้องเพาะแบคทีเรียขึ้นใหม่ เจ้าเชื้อราตัวนี้สร้างปัญหาให้นักวิทยาศาสตร์ผู้นี้ แต่แทนที่จะโมโห เขากลับฉุกคิดขึ้นมาว่าถ้ามันฆ่าแบคทีเรียที่เพาะในจานได้ มันก็ต้องกำจัดแบคทีเรียที่ในร่างกายคนได้เช่นกัน ปัญญาเกิดขึ้นแก่นักวิทยาศาสตร์ผู้นี้ทันที นำไปสู่การค้นพบเพนนิซิลินหรือยาปฏิชีวนะ ซึ่งในเวลาไม่นานสามารถช่วยชีวิตผู้คนนับร้อยล้านคนทั่วโลก นักวิทยาศาสตร์ผู้นี้คืออเล็กซานเดอร์ เฟลมมิ่งนั่นเอง โลกก้าวหน้าได้เพราะเรารู้จักเปลี่ยนปัญหาให้เป็นปัญญา มองให้แคบลงมา ชีวิตของคนเราก็เช่นกัน มีคนจำนวนไม่น้อยที่ชีวิตเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้นหลังจากประสบวิกฤต บางคนเป็นโรคหัวใจเจียนตาย ภัยร้ายได้บังคับให้เขาต้องหันมาทบทวนชีวิตของตน และพบว่าการหมกมุ่นอยู่กับตนเอง ตัดขาดจากผู้อื่น และจมอยู่กับความหดหู่เศร้าหมอง เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เขามีอาการดังกล่าว เขาจึงปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต เข้าหาผู้คน ช่วยเหลือเอื้อเฟื้อผู้อื่น และปล่อยวางความกังวลหม่นหมอง ไม่นานสุขภาพของเขาก็ดีขึ้น มีความสุขมากขึ้น เขายอมรับว่า การเป็นโรคหัวใจเป็นสิ่งดีที่สุดอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นกับเขา

เมื่อเกิดปัญหาขึ้นมา แทนที่จะคร่ำครวญหรือตีอกชกหัว ลองใคร่ครวญดูให้ดี จะพบว่า ปัญหาเหล่านี้เป็นสัญญาณเตือนให้เราเปลี่ยนแปลงตัวเอง ถ้าเรามองสัญญาณนี้ออก นั่นแสดงว่าปัญญาได้เกิดแก่เราแล้ว ขั้นต่อไปก็คือเปลี่ยนทัศนคติ พฤติกรรม หรือการใช้ชีวิตให้ถูกต้อง เหมาะสม และชาญฉลาด

ไม่ควรมองว่าปัญหาคือ "ทางตัน" ถ้ามองให้ดี ในตัวปัญหานั้นก็มี "ทางออก" ด้วยเหมือนกัน อย่าลืมว่า สลักที่ล็อคประตูนั้นก็เป็นสลักอันเดียวกับที่ใช้เปิดประตู สวิตช์ที่ปิดไฟก็เป็นอันเดียวกับที่ใช้เปิดไฟให้สว่าง ฉันใดก็ฉันนั้นในคำถามก็มีคำตอบเฉลยอยู่ จะว่าไปแล้วปัญหาหรือความทุกข์ทั้งหลายไม่ได้มีไว้ให้เราคร่ำครวญ แต่มีไว้ให้ใคร่ครวญนั่นเอง ในความทุกข์นั้นก็มีทางออกจากความไม่ทุกข์แฝงอยู่เสมอ ในภาพยนตร์เรื่อง Batman Begins เด็กชายบรู๊ซ (ซึ่งต่อมาจะกลายเป็นมนุษย์ค้างคาว)ได้พลัดตกลงไปในหลุม เมื่อพ่อช่วยขึ้นมาแล้ว ได้ถามลูกว่า "รู้ไหมทำไมคนเราถึงหกล้ม?" ลูกนึกไม่ออก พ่อจึงเฉลยว่า "ก็เพื่อเราจะได้รู้วิธีลุกขึ้นมาไงล่ะ" ความทุกข์มีขึ้นก็เพื่อสอนเราให้รู้จักหลุดพ้นจากความทุกข์ ปัญหาเกิดขึ้นก็เพื่อสอนเราให้เกิดปัญญา ด้วยเหตุนี้ปัญหาจึงไม่ใช่เรื่องน่ากลัว หากคือครูที่มาสอนให้เราฉลาดขึ้นนั่นเอง











ขอขอบคุณที่มา : http://www.budpage.com/noijai.shtml
                          ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต





 













 
๏ปฟ












เธซเธ™เน‰เธฒเนเธฃเธ | เน€เธเธตเนˆเธขเธงเธเธฑเธšเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธ„เธฃเธทเธญเธ‚เนˆเธฒเธขเนเธฅเธฐเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธ–เธดเธ•เธด | เธเธฒเธฃเธˆเธฑเธ”เธเธฒเธฃเธ„เธงเธฒเธกเธฃเธนเน‰ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ•เธดเธ”เธ•เนˆเธญเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธˆเน‰เธฒเธซเธ™เน‰เธฒเธ—เธตเนˆเธ”เธนเนเธฅเธฃเธฐเธšเธš
เนเธ™เธฐเธ™เธณเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เนˆเธฒเธงเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เน€เธเธฒเธฐเธ•เธดเธ”เธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธกเน€เธ”เนˆเธ™ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™เธ—เธตเนˆเน€เธเธตเนˆเธขเธงเธ‚เน‰เธญเธ‡ | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™| เธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™เธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž| เธเน‰เธฒเธงเนƒเธซเธกเนˆเธเธฑเธš HISO | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธžเธ›เธฃเธฐเน€เธ—เธจเน„เธ—เธข
เธเธฒเธฃเธงเธดเน€เธ„เธฃเธฒเธฐเธซเนŒเธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เน€เธฃเธทเนˆเธญเธ‡เน€เธฅเนˆเธฒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธทเนˆเธญเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เนเธšเธšเธชเธณเธฃเธงเธˆเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | webbord | เธ„เธณเธ–เธฒเธกเธ—เธตเนˆเธžเธšเธšเนˆเธญเธข | เธชเธกเธธเธ”เน€เธขเธตเนˆเธขเธกเธŠเธก | เธšเธฃเธดเธเธฒเธฃเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅ