เรื่องเล่าข่าวสุขภาพ | สมรรถภาพร่างกาย | สุขภาวะทางจิต | สุขภาพกับความงาม | สื่อกับสุขภาพ | สมุนไพรเพื่อสุขภาพ | ธรรมะกับสุขภาพ






สติกับการดำเนินชีวิต





 



การเจริญสตินั้น สามารถทำให้คนเป็นมนุษย์ ทำให้มนุษย์เป็นพระ และพระเป็นพระอริยะ จนกระทั่ง เป็นผู้ที่หลุดพ้น ไม่มีทุกข์โดยสิ้นเชิงได้

มนุษย์เรามัวแต่มองออกไปนอกตัวเองกันเสียมาก เพ้อฝันกันไปต่าง ๆ นานา อยากได้โน่น อยากได้นี่ มีความต้องการไม่มีที่สิ้นสุด โดยรวมก็คือกิเลส นั่นเอง เพียงเสี้ยวนาทีลองหันมามอง มาพิจารณาตัวเองให้ดี มันมีอะไรที่น่าศึกษาอีกมาก ทั้งกายและใจของเรา โดยเฉพาะเรื่องของใจนี่สำคัญมาก ดังคำที่ว่า ใจเป็นนายกายเป็นบ่าว คนเราควรจะมีสติตามรู้กาย ก็คือใช้จิตพิจารณากาย ตั้งมั่นเป็นสติ ถ้าลองพิจารณาให้ดี เราจะเห็นจิตของตัวเอง มันไม่มีอะไรเป็นของเรา ไม่ยึดมั่นถือมั่น มันเกิด มันตั้งอยู่ แล้วก็ดับไปเป็นธรรมดาของวัฏฏะสงสาร การที่เราไม่ยึดติด ไม่ใช่ตัวกูของกู จะทำให้การดำเนินชีวิต แม้กระทั่งในหน้าที่การงานจะมีแต่ความพอดี ไม่ตึงหรือหย่อนเกินไป ยอมรับในคำติเตียนของผู้อื่น มีความอดทนอดกลั้น มีการยั้งคิด ยั้งทำ เป็นในลักษณะของผู้ดู ดูตัวเอง เข้าถึงจิตใจตัวเอง มากว่าเป็นผู้เป็น เป็นคนเขลาเบาปัญญา ขาดสติ ดังนั้น การเจริญสติ ถ้ามีการฝึกปฏิบัติอย่างจริงจัง นำมาซึ่งสมาธิ และปัญญาในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ให้ลุล่วงไปได้ เมื่อเราพิจารณาหนทางในการแก้ปัญหาจะเห็นกลไกการทำงานอยู่ 4 ประการ ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงสอนไว้ คือ การมีอยู่ของทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ ความดับทุกข์ และ หนทางไปสู่ความดับทุกข์ ความจริงเหล่านี้เรียกว่า อริยสัจ 4

1. ทุกข์
คือ การมีอยู่ของทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ และตายล้วนเป็นทุกข์ ความเศร้าโศก ความโกรธ ความอิจฉาริษยา ความวิตกกังวล ความกลัวและความผิดหวังล้วนเป็น ทุกข์ การพลัดพรากจากของที่รักก็เป็นทุกข์ ความเกลียดก็เป็นทุกข์ ความอยาก ความยึดมั่นถือมั่น ความยึดติดในขันธ์ทั้ง 5 ล้วนเป็นทุกข์

2. สมุทัย
คือ เหตุแห่งทุกข์ เพราะอวิชา ผู้คนจึงไม่สามารถเห็นความจริงของชีวิต พวกเขาตกอยู่ในเปลวเพลิงแห่งตัณหา ความโกรธ ความอิจฉาริษยา ความเศร้าโศก ความวิตกกังวล ความกลัว และความผิดหวัง

3. นิโรธ
คือ ความดับทุกข์ การเข้าใจความจริงของชีวิตนำไปสู่การดับความเศร้า โศกทั้งมวล อันยังให้เกิดความสงบและความเบิกบาน

4. มรรค
คือ หนทางนำไปสู่ความดับทุกข์ อันได้แก่ อริยมรรค 8 ซึ่งได้รับการหล่อ เลี้ยงด้วยการดำรงชีวิตอย่างมีสติความมีสตินำไปสู่สมาธิและปัญญาซึ่งจะปลดปล่อย ให้พ้นจากความทุกข์และความโศกเศร้าทั้งมวลอันจะนำไปสู่ความศานติและ ความเบิกบาน พระพุทธองค์ได้ทรงเมตตานำทางพวกเราไปตามหนทางแห่งความรู้แจ้งนี้

มรรค 8 ( อัฏฐังคิกมรรค )
(มรรค = อริยมรรค = มัชฌิมาปฏิปทา = มรรคแปด = ทางดำเนินชีวิตอันประเสริฐ = ทางสายกลาง)
แนวทางดำเนินอันประเสริฐของชีวิตหรือกาย วาจา ใจ เพื่อความหลุดพ้นจากทุกข์ เรียกว่า อริยมรรค
แปลว่าทางอันประเสริฐ เป็นข้อปฏิบัติที่มีหลักไม่อ่อนแอ จนถึงกับตกอยู่ใต้อำนาจ ความอยากแห่งใจ
แต่ก็ไม่แข็งตึงจนถึงกับเป็นการทรมานกายให้เหือดแห้งจากความสุขทางกาย เพราะฉะนั้นจึงได้เรียกว่ามัชฌิมาปฏิปทา คือทางดำเนินสายกลาง ไม่หย่อนไม่ตึง แต่พอเหมาะเช่นสายดนตรีที่เทียบเสียงได้ที่แล้ว

คำว่ามรรค แปลว่าทาง ในที่นี้หมายถึงทางเดินของใจ เป็นการเดินจากความทุกข์ไปสู่ความเป็นอิสระ
หลุดพ้นจากทุกข์ซึ่งมนุษย์หลงยึดถือ และประกอบขึ้นใส่ตนด้วยอำนาจของอวิชชา
มรรคมีองค์แปด คือต้องพร้อมเป็นอันเดียวกันทั้งแปดอย่างดุจเชือกฟั่นแปดเกลียว องค์แปดคือ :-


1. สัมมาทิฏฐิ ิคือความเข้าใจถูกต้อง
2. สัมมาสังกัปปะ คือความใฝ่ใจถูกต้อง
3. สัมมาวาจา คือการพูดจาถูกต้อง
4. สัมมากัมมันตะ คือการกระทำถูกต้อง
5. สัมมาอาชีวะ คือการดำรงชีพถูกต้อง
6. สัมมาวายามะ คือความพากเพียรถูกต้อง
7. สัมมาสติ คือการระลึกประจำใจถูกต้อง
8. สัมมาสมาธิ คือการตั้งใจมั่นถูกต้อง

การปฏิบัติธรรมทุกขั้นตอน รวมลงในมรรคอันประกอบด้วยองค์แปดนี้ เมื่อย่นรวมกันแล้วเหลือเพียง 3 คือ ศีล - สมาธิ - ปัญญา สรุปสั้น ๆ ก็คือ การปฏิบัติธรรม (ศีล-สมาธิ-ปัญญา) ก็คือการเดินตามมรรค











ขอขอบคุณที่มา : http://www.dhammathai.org/articles/view.php?No=379
                          ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต





 













 
๏ปฟ












เธซเธ™เน‰เธฒเนเธฃเธ | เน€เธเธตเนˆเธขเธงเธเธฑเธšเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธ„เธฃเธทเธญเธ‚เนˆเธฒเธขเนเธฅเธฐเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธ–เธดเธ•เธด | เธเธฒเธฃเธˆเธฑเธ”เธเธฒเธฃเธ„เธงเธฒเธกเธฃเธนเน‰ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ•เธดเธ”เธ•เนˆเธญเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธˆเน‰เธฒเธซเธ™เน‰เธฒเธ—เธตเนˆเธ”เธนเนเธฅเธฃเธฐเธšเธš
เนเธ™เธฐเธ™เธณเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เนˆเธฒเธงเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เน€เธเธฒเธฐเธ•เธดเธ”เธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธกเน€เธ”เนˆเธ™ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™เธ—เธตเนˆเน€เธเธตเนˆเธขเธงเธ‚เน‰เธญเธ‡ | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™| เธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™เธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž| เธเน‰เธฒเธงเนƒเธซเธกเนˆเธเธฑเธš HISO | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธžเธ›เธฃเธฐเน€เธ—เธจเน„เธ—เธข
เธเธฒเธฃเธงเธดเน€เธ„เธฃเธฒเธฐเธซเนŒเธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เน€เธฃเธทเนˆเธญเธ‡เน€เธฅเนˆเธฒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธทเนˆเธญเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เนเธšเธšเธชเธณเธฃเธงเธˆเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | webbord | เธ„เธณเธ–เธฒเธกเธ—เธตเนˆเธžเธšเธšเนˆเธญเธข | เธชเธกเธธเธ”เน€เธขเธตเนˆเธขเธกเธŠเธก | เธšเธฃเธดเธเธฒเธฃเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅ