เรื่องเล่าข่าวสุขภาพ | สมรรถภาพร่างกาย | สุขภาวะทางจิต | สุขภาพกับความงาม | สื่อกับสุขภาพ | สมุนไพรเพื่อสุขภาพ | ธรรมะกับสุขภาพ






คติธรรม คำสอน





 



พระอาจารย์ชา สุภัทโท

โยม ไม้อันที่อาตมาถืออยู่นี่นะ มันสั้นหรือว่ามันยาว?

โยม ไม้อันนี้ธรรมชาติแท้ ๆ ของมันมีแค่นี้ เท่านี้ มันไม่สั้น และก็ไม่ยาว

โยม ความต้องการที่จะให้ไม้นี้มันสั้นเข้า หรือยาวออก นั่นแหละ ทุกข์


ทุกสิ่งทุกอย่าง ถ้าเรายอมตามธรรมชาติที่มันเป็นอยู่ ยอมที่ไหน ทุกข์ก็ไม่เกิดที่นั่น สมมุติว่าวันนี้ โยมหาเงินได้ ๑๐๐ บาท ธรรมชาติของมันแค่ ๑๐๐ บาท จะอยากให้ได้มากกว่านั้นก็ไม่ได้ จะอยากให้ได้น้อยกว่านั้นก็ไม่ได้ หาได้ ๕๐ บาท ธรรมชาติของเขาก็แค่นั้น หาไม่ได้เลย ธรรมชาติของมันก็เท่ากับหาไม่ได้เลย ยอมตามธรรมชาติที่มันเป็นทุกอย่าง ทุกแห่ง ทุกข์ก็ไม่เกิด ธรรมะอย่างนี้ปฏิบัติที่ไหนก็ได้ เวลาใดก็ได้ ใคร ๆ ก็ปฏิบัติได้ ปฏิบัติเมื่อไหร่ ที่ไหน ทุกข์ก็ไม่เกิดเมื่อนั้น ที่นั่น

โยม อีกอย่างหนึ่ง สมมุติว่าถ้าเราจะปลูกต้นไม้ อันดับแรก เราต้องเตรียมดินให้ดี ขุดหลุมกว้างเมตร ลึกเมตร คลุกดินด้วยปุ๋ยคอกดย่างดี แล้วจึงปลูกต้นไม้ลงไป เมื่อปลูกแล้ว เราต้องคอยดูแล โดยหมั่นรดน้ำ พรวนดิน ดายหญ้า และล้อมรั้วกันอันตรายให้ หน้าที่ของเรามีเพียงแค่นี้ ทำให้ครบ ทำให้ดีที่สุด ส่วนผลที่ต้นไม้จะให้นั้น บางชนิด ๑ ปีให้ผล บางชนิด ๓ ปี ๕ ปี ๑๐ ปี นั่นเป็นเรื่องของเขา เป็นเรื่องของต้นไม้เขาเอง

โยม อย่าลืมนะ หน้าที่ของเรานั้น ทำเหตุให้ดีที่สุดเท่านั้น ส่วนผลที่จะได้รับเป็นเรื่องของเขา ถ้าเราดำเนินชีวิต โดยมีการปล่อยวางเช่นนี้แล้ว ทุกข์ก็ไม่รุมล้อมเรา ธรรมะอย่างนี้ใคร ๆ ก็ปฏิบัติได้ ปฏิบัติที่ไหนก็ได้ ปฏิบัติเมื่อไรก็ได้



พระอาจารย์สิม พุทฺธาจาโร

เราได้เกิดมาแล้ว
ความแก่ไล่ติดตามเราตลอดเวลา
ความเจ็บไข้ได้ป่วยก็มาถึงทุกขณะ ทุกเวลา
ชีวิตนี้เป็นของน้อยนิดเดียว
ให้เร่งกันรีบเร่ง
อย่าไปมัวเพลิดเพลินที่อื่น
เมื่อความตายมารณภัยมาถึง
จิตใจของเราละกิเลสหมดไปหรือยัง



พระราชสังวราภิมณฑ์ (หลวงปู่โต๊ะ อินฺทสุวณฺโณ)

พระองค์ทรงสอนอะไร สอนธรรมดา ๆ เรานี่เอง ที่เคยพบ ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย นี่เอง สอนอย่างนี้ ความเกิดจะต้องพิจารณาอย่างไร ความแก่จะต้องพิจารณาอย่างไร พยาธิ มรณะจะต้องพิจารณาอย่างไร พิจารณาอย่างนี้ ความคิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย มันเป็นทุกข์ ทุกข์อะไร สภาวะทุกข์ สภาวะทุกข์เขามีอย่างนี้ กี่ร้อยหมื่นปีมาแล้ว แม้ตถาคตก็ได้พบอย่างนี้เหมือนกัน เพราะฉะนั้น ตถาคตก็มาสอนพวกท่านบ้าง พึงจะทำได้บ้าง คือความคิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย นี่เป็นตัวทุกข์ จะทำอย่างไรกับตัวทุกข์ แก้ แก้ แก้ด้วยวิธีอะไร แก้ด้วยวิธีไหน แก้ไม่ได้เพราะมันเป็นตัวอสวานตธรรม เมื่อแก้ไม่ได้อย่างนั้นก็ทำแต่ความรู้ไว้ว่า ที่มันทุกข์เราอย่าไปทุกข์ตามมันก็แล้วกัน เพราะทุกข์มันมีอยู่แล้ว ไม่ต้องไปเพิ่มเติมอะไรกับมันอีกหรอก ไม่ต้องไปเพิ่มเติมความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ความบริบูรณ์อยู่แล้ว เป็นแต่ทำความเข้าใจว่า ที่มันเกิด เกิดเป็นอย่างไร มันก็แก่ แก่เป็นอย่างไร มันก็เจ็บ เจ็บแล้วเป็นอย่างไร มันก็ตาย มันเป็นอย่างนั้นแล้ว เราจะทำอย่างไร จึงจะให้พ้นจาก ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ต้องหัดทำให้เห็นสภาวะของเขาจริง ๆ ใครจะเข้าใจหรือไม่เข้าใจ ความเกิดของเขาก็มี ความแก่เขาก็มี ความเจ็บ ความตายของเขาก็มี เพียงแต่ทำความรู้ไว้และให้ทุกข์นั้น ๆ ให้ความแก่ ความเจ็บ ความตาย มันผ่านไปก็แล้วกัน ลงท้ายที่สุด เราก็อย่าไปยึดถือมันไว้ อะไรเป็นเครื่องให้เราไปยึดถือเอาไว้ เขาเรียกว่าอะไร เขาเรียกว่า กิเลส กิเลสน่ะมันอะไร อวิชชา ตัณหา อุปาทาน พูดเป็นภาษาไทยง่าย ๆ โง่ อยาก ยึด อยู่ที่โง่ แล้วก็อยาก แล้วก็ยึด อวิชชา ตัณหา อุปาทาน พวกนี้มาทำจิตให้ติดอยู่ในทุกข์ ฉันเจ็บ ฉันไข้ ฉันไม่สบาย ฉันจะตาย แต่พระอริยเจ้าท่านไม่ได้เป็นอย่างนั้น ท่านไม่เจ็บ เกิดท่านก็ไม่ได้เชิญมาเกิด แก่ก็ไม่ได้เชิญมา เจ็บก็ไม่ใช่ ไม่ได้เชิญมา มรณะก็ไม่ได้เชิญ แกมาของแกเอง และแกก็เกิดแก่เจ็บตายของแกเอง ไม่คำนึงถึงในเรื่องสภาวะนั้น ๆ เป็นไปตามหน้าที่ของมัน เมื่อเป็นไปตามหน้าที่ของมัน เราเรียกว่าอะไรถอนอุปาทานการเข้าไปยึดว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มันไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน มันไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล เป็นของอาศัยกันอยู่ชั่วคราวหนึ่งเท่านั้น เมื่อสิ้นบุญสิ้นกุศล มันก็เป็นไปตามยถากรรมของเขานั่นเอง เมื่อเรามารู้เท่าทันเช่นนี้ ความโง่ มันก็เปลี่ยนเป็นคนฉลาดขึ้น ความอยากก็เป็นเป็นคนไม่อยากขึ้น ความยึดถือ มันก็เปลี่ยนเป็นคนไม่ยึดถือขึ้น จิตใจมันก็ปราศจากความโง่ ความอยาก ความยึดถือ โลภน้อยลง โกรธน้อยลง หลงน้อยลง น้อยลงเป็นลำดับ ๆ ด้วยการปฏิบัติในสมาธิบ้าง ในปัญญาบ้าง เมื่อเรามีศีล เรามีสมาธิ เรามีปัญญา ความหลุดพ้นมันก็มี เรียกว่า วิมุตติ



พระราชวุฒาจารย์ ( ดูลย์ อตุโล )

- คิดเท่าไรก็ไม่รู้ หยุดคิดจึงจะรู้ แต่ก็อาศัยความคิดนั่นแหละจึงจะรู้ และเกิดปัญญา

- ผู้รู้ไม่คิด ผู้คิดไม่รู้ ถ้ารู้แล้วก็ไม่ต้องคิด คนที่ยังมีความคิดคือคนไม่รู้

- ผู้ที่รู้จริงไม่พูดมาก ผู้ที่พูดมากคือคนไม่รู้จริง พูดมากเสียมาก พูดน้อยเสียน้อย

- ธรรมะทั้งหมดก็คือทำให้จิตหยุดคิดเท่านั้นเอง ทำให้จิตหยุดคิดให้ได้ สิ่งอื่น ๆ ก็หยุดหมด

- เมื่อหยุดคิดจิตก็สงบ ในเมื่อจิตสงบมันก็หยุดคิดเอง "นั่นแหละ คือ ธรรมที่แท้จริง"



พระราชวุฒาจารย์ ( ดูลย์ อตุโล )


- เรื่องทั้งปวงสำคัญที่ใจ ดีก็ที่ใจ จะสำเร็จได้ก็ที่ใจ คนเราถ้าใจผ่องใสแล้ว จะพูดจะทำอะไรก็ดีทั้งนั้น

- สิ่งใดที่ยังไม่ได้มาย่อมเป็นทุกข์ และได้มาแล้วก็ยังเป็นทุกข์อีก

- มรรคสัจซึ่งเป็นของจริงนั้น ย่อมมีอยู่ธรรมดา ศีลก็มีจริง สมาธิก็มีจริง ปัญญาก็มีจริง วิมุตติก็มีจริง
  แต่คนเรา ไม่จริง จึงไม่เห็นของจริง บำเพ็ญศีลก็ไม่จริง สมาธิก็ไม่จริง ปัญญาก็ไม่จริง เมื่อเราทำไม่
  จริง ก็ไม่ได้ของจริง จะได้ของปลอมกันเท่านั้น เมื่อใช้ของเทียมของปลอม ย่อมได้รับโทษ

- คนนุ่งผ้าขาดดีกว่าคนเปลือยกาย คนศีลขาดดีกว่าคนไม่มีศีล

- ดูใจคน ดีกว่า ดูหน้าคน

- คนมักง่ายจะได้ยาก คนมักลำบากจะได้ดี

- ของดีก็ย่อมต่อคนดี ของชั่วก็ย่อมต่อคนชั่ว



พระอาจารย์เหรียญ วรลาโภ


อันสตินี้ สัมปชัญญะนี้ ก็สมมุติเป็นโชเฟ่อร์ผู้กำพวงมาลัย ได้แก่เป็นผู้มีสติคอยระมัดระวังกาย วาจา จิต อยู่เสมอ ๆ คอยระวังเรื่องต่าง ๆ ที่มันจะกระทบกระทั่งที่จะให้เกิดความเสียหาย ดีใจ ความโกรธ ความเกลียดต่าง ๆ ระมัดระวังไปเรื่อย ๆ แต่ก็มิได้หมายความว่าเราต้องเที่ยวประกาศ ห้ามมิให้ใครมาติมาชมเราอย่างนั้นอย่างนี้นะ ไม่ได้หมายความอย่างนั้น ที่ว่าระวังในที่นี้หมายความว่า เมื่อมีเรื่องเช่นนั้นมากระทบกระทั่งเข้ามา เราจะรู้ทัน ทันที เราจะห้ามจิตไม่ให้หวั่นไหวไปตามนั้น ๆ เราระวังอย่างนี้ต่างหาก เราจะระวังไม่ให้คนนินทาวาร้าย หรือพูดจาเสียดแทงต่าง ๆ นานา ห้ามไม่ได้เลย เพราะว่านั่นเป็นเรื่องของเขา เขามีสิทธิ์ที่จะพูด แต่เราก็มีสิทธิ์ที่จะรู้เท่าทันเช่นเดียวกัน มันก็ต้องเข้าใจอย่างนี้ ที่จะทำให้จิตใจของเราไม่ฉุนเฉียวง่าย ที่เป็นเช่นนี้ ไม่ใช่อย่างอื่น คือมันขาดสติ คือ สติสัมปชัญญะควบคุมจิตไม่ได้ เรียกว่าสติมันห่าง สติการควบคุมจิตมันห่างไป มันไม่ถี่ ดังนั้นเราจะต้องกระชับสติสัมปชัญญะให้มันถี่เข้า



พระอาจารย์สิงห์ทอง ธัมมวโร


โอกาสเวลาที่เราได้มาวัดมาวามาปฏิบัติจิตใจ จึงควรตั้งหน้าชำระสะสางจิตใจของตัวที่ชั่วที่ผิดให้ตกออกไป หลุดออกไป ให้จิตรู้เห็นเด่นชัดในอรรถในธรรมที่พระพุทธเจ้าสอน เมื่อจิตเห็นตามเป็นจริงแล้ว โลกอันนี้ก็ไม่มีอะไรที่จะมาวุ่นวายในจิตในใจของเรา ความจริงจิตของเราเท่านั้นที่จะไปเกาะเกี่ยวยึดเหนี่ยวสิ่งนั้นสิ่งนี้ว่าเราของเรา เมื่อได้มาก็ยึดถือเป็นทุกข์เพราะการรักษา เสียหายไปก็เสียใจเศร้าโศก มันเป็นอย่างนั้น เรื่องของจิต แต่ความจริงสิ่งเหล่านั้น เขาไม่ได้รับรองว่า เราเป็นเจ้าของของเขา ใครเอาไปก็เป็นหน้าที่ของคนเอาไปเท่านั้น เขาไม่ได้ถือว่า เขาเป็นของคนคนนั้น เป็นของของคนนี้ เขาไม่ได้มีความหมายอะไร แต่ใจมันไปยึดไปถือ ไปเกาะเกี่ยว มันก็เลยยุ่ง เลยลำบาก



พระอาจารย์จำเนียร ลีลเสฏโฐ


การไม่รัก ไม่เกลียด ไม่โกรธนั้น เป็นทางไปของพระอริยเจ้า

เราห้ามรักว่า อย่าเกิดนั้นไม่ได้ เมื่อเขาเกิดมาแล้ว เราดูรักนั้นให้พินาศไปตามปัจจัยของญาณ

เราห้ามอย่าให้ทุกข์นั้นไม่ได้ เมื่อทุกข์เกิดขึ้นแล้ว จงพิจารณาให้เห็นกันไปเป็นธรรมดาของมัน

เราห้ามไม่ให้โกรธ เกลียด แค้นนั้น ห้ามเขาไม่ได้ เมื่อเขาโกรธ เกลียด รัก แค้นขึ้นแล้ว จงดูสิ่งเหล่านั้นดับไปเป็นธรรมดา

ท้ายที่สุด จิตของผู้ปฏิบัติจะเหนือกว่ากระแสโลกได้



พระอาจารย์ชอบ ฐานสโม


มรณานุสติ

ให้พิจารณาความตาย

นั่งก็ตาย

นอนก็ตาย

ยืนก็ตาย

เดินก็ตาย


(คติธรรมนี้พระอาจารย์ชอบบอกว่า ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระกำหนดให้ศิษย์พิจารณาเป็นนิจ)



จากหนังสือกฎแห่งกรรมของพระเทพวิสุทธิกวี

เมื่อเจ้ามามีอะไรมากับเจ้า เจ้าจะเอาแต่สุขสนุกไฉน เมื่อเจ้าไปเจ้าจะเอาอะไรไป เจ้าก็ไปมือเปล่าเหมือนเจ้ามา











ขอขอบคุณที่มา : http://www.wichai.net/dhamma/katidham0.htm
                          ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต





 













 
๏ปฟ












เธซเธ™เน‰เธฒเนเธฃเธ | เน€เธเธตเนˆเธขเธงเธเธฑเธšเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธ„เธฃเธทเธญเธ‚เนˆเธฒเธขเนเธฅเธฐเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธ–เธดเธ•เธด | เธเธฒเธฃเธˆเธฑเธ”เธเธฒเธฃเธ„เธงเธฒเธกเธฃเธนเน‰ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ•เธดเธ”เธ•เนˆเธญเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธˆเน‰เธฒเธซเธ™เน‰เธฒเธ—เธตเนˆเธ”เธนเนเธฅเธฃเธฐเธšเธš
เนเธ™เธฐเธ™เธณเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เนˆเธฒเธงเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เน€เธเธฒเธฐเธ•เธดเธ”เธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธกเน€เธ”เนˆเธ™ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™เธ—เธตเนˆเน€เธเธตเนˆเธขเธงเธ‚เน‰เธญเธ‡ | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™| เธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™เธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž| เธเน‰เธฒเธงเนƒเธซเธกเนˆเธเธฑเธš HISO | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธžเธ›เธฃเธฐเน€เธ—เธจเน„เธ—เธข
เธเธฒเธฃเธงเธดเน€เธ„เธฃเธฒเธฐเธซเนŒเธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เน€เธฃเธทเนˆเธญเธ‡เน€เธฅเนˆเธฒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธทเนˆเธญเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เนเธšเธšเธชเธณเธฃเธงเธˆเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | webbord | เธ„เธณเธ–เธฒเธกเธ—เธตเนˆเธžเธšเธšเนˆเธญเธข | เธชเธกเธธเธ”เน€เธขเธตเนˆเธขเธกเธŠเธก | เธšเธฃเธดเธเธฒเธฃเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅ