เรื่องเล่าข่าวสุขภาพ | สมรรถภาพร่างกาย | สุขภาวะทางจิต | สุขภาพกับความงาม | สื่อกับสุขภาพ | สมุนไพรเพื่อสุขภาพ | ธรรมะกับสุขภาพ






วิธีลดความอ้วนแบบพุทธ




 

                 ปัจจุบันนี้วงการแพทย์ถือว่าความอ้วนเป็นโรคชนิดหนึ่งซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพและจะก่อเกิดโรคอันตรายอื่น ๆ ตามมา อาทิ โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ฯลฯ ในพระไตรปิฎกท่านก็กล่าวไว้เช่นเดียวกันว่าร่างกายอ้วนเกินไปเป็นสิ่งไม่ดี เพราะทำให้เกิดความรู้สึกอึดอัดอุ้ยอ้าย อายุสั้น สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคอ้วนตามหลักพุทธศาสนาท่านว่าเกิดจากความไม่รู้จักประมาณในการบริโภค ดัง
นั้นในวันนี้เราจึงขอเสนอเทคนิคการควบคุมอาหารแบบพุทธอันอาจจะช่วยให้  ท่านลดความอ้วนอย่างได้ผลดียิ่งขึ้น

1. พิจารณาถึงผลดีของการควบคุมอาหาร

                  ในสมัยพุทธกาล ยังมีพระเจ้าแผ่นดินองค์หนึ่งชื่อพระเจ้าปเสนทิโกศล พระเจ้าแผ่นดินองค์นี้ทรงมีพระวรกายที่อ้วนมาก เพราะทรงเสวยพระกระยาหารจุเกินไป ความอ้วนทำให้พระองค์ไปไหนมาไหนไม่ค่อยจะสะดวก วันหนึ่งพระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ทรงสังเกตเห็นความอุ้ยอ้ายอึดอัดในพระวรกายของพระเจ้าปเสนทิโกศล จึงทรงตรัสพระคาถาว่า "บุคคลผู้มีสติอยู่เสมอ รู้ประมาณในอาหารที่ได้มา จะมีเวทนาเบาบาง แก่ช้า มีอายุยืนนาน " (สุตตันต. เล่ม ๗ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค ข้อ ๓๖๕ หน้า ๑๑๖ )

                  พระเจ้าปเสนทิโกศลจึงให้พระราชนัดดา (หลาน) ของพระองค์คอยว่าคาถานี้ทุกครั้งที่พระองค์กำลังจะเสวยพระกระยาหาร ปรากฏว่าพระเจ้าปเสนทิโกศลสามารถลดความอ้วนได้สำเร็จเพราะคาถานี้เอง

                  คุณสามารถที่จะใช้วิธีแบบพระเจ้าปเสนทิโกศลนี้ได้เช่นเดียวกัน โดยคุณอาจจะเขียนข้อความพรรณนาถึงผลดีของการบริโภคแต่พอดีว่ามีผลดีต่อสุขภาพร่างกายเพียงไร จากนั้นเวลาจะ
รับประทานอาหารคราวใดก็ให้หยิบกระดาษโน้ตนี้ขึ้นมาอ่านไปพลางรับประทานอาหารไปพลาง

                  วิธีการนี้จะทำให้คุณมีสติยั้งคิดในการรับประทานอาหารตลอดเวลา ทำให้สามารถควบคุมการบริโภคได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น


2 . เห็นความทุกข์ยากของเพื่อนร่วมโลก

                  วิธีคิดแบบนี้นอกจากจะฝึกลดความต้องการบริโภคแล้ว ยังเป็นการ ฝึกจิตใจของตนเองให้เกิดความเมตตากรุณาอีกด้วยครับ วิธีคิดนี้ได้มาจากพระไตรปิฎก มีพระสูตรหนึ่งที่สอนให้เราไม่ควรบริโภคอาหารด้วยความสนุกสนานเมามัน แต่ควรบริโภคด้วยความรู้สึกเห็นคุณค่าของอาหารที่ช่วยให้เรามีชีวิตรอดต่อไป เพื่อพัฒนาตนให้พ้นจากสังสารวัฏอันยาวใกล โดยให้คำนึงถึงความทุกข์ยากของสรรพสัตว์ที่ต้องยอมเสียสละชีวิตเพื่อให้เราอยู่รอด อุปมาพ่อแม่จำใจต้องรับประทานเนื้อบุตรของตนเองกลางทะเลทรายเพื่อเอาชีวิตรอดเดินทางต่อไป ( สุตตันต.เล่ม๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค ข้อ ๒๔๐ หน้า ๑๐๘)

                  จากหลักการที่กล่าวมาข้างต้น เราสามารถที่จะนำมาประยุกต์เป็นวิธีคิดลดความต้องการบริโภคของเรา แบบง่าย ๆ คือเมื่อใดก็ตามที่เราเห็นโฆษณาหรือภาพของอาหารน่ากินต่าง ๆ ที่มีอยู่ในท้องตลาด ให้คุณมีสติตื่นตัวอยู่เสมอ ไม่ปล่อยให้ภาพของสิ่งของที่น่ากินต่าง ๆ เหล่านี้มากระตุ้นจิตใจของคุณให้เกิดความต้องการบริโภค พร้อมกันนั้นให้ใช้พลังจินตนาการของคุณสร้างความคิด "เชื่อมโยง" มองให้เห็นภาพความทุกข์ยากของสรรพสัตว์ที่อยู่เบื้องหลังภาพอาหารอันน่าเอร็ดอร่อยต่าง ๆ นี้ เป็นการภาวนาตามหลักพุทธศาสนา คือสร้างความเมตตากรุณาต่อสรรพสัตว์ทั้งหลาย และด้วยคุณธรรมที่เกิดขึ้นนี้เองจะบรรเทาความรู้สึกต้องการบริโภคให้น้อยลงไป แต่อย่าลืมว่าคุณต้องมีสติตั้งมั่นอยู่เสมอ เพราะระบบบริโภคนิยมที่อยู่รอบ ๆ ตัวคุณนั้น พร้อมที่จะปรุงแต่งจิตใจของคุณให้ต้องการบริโภคอยู่ตลอดเวลา


ยกตัวอย่าง


                  เห็นร้านไก่ทอดชื่อดัง อึม..ม ชักหิวแล้วสิเรา คิดในใจ เห็นภาพไก่น้อยน่าสงสารถูกขัง
อยู่ในกรง ถูกป้อนสารเคมี แถมกลางคืนก็ไม่ให้ได้หลับนอน ด้วยการเปิดไฟสว่างไว้ทั้งวันทั้งคืน เพื่อเร่งให้โตเร็ว ๆ โถ..น่าสงสารจริง ๆ เจ้าไก่น้อย

                  เห็นใส้กรอกน่าอร่อย หู..ว ใส้กรอกทอดหอมกรุ่นบนเตา คิดในใจ  เห็นภาพเจ้าหมูนอนคุดคู้อยู่ในกรงเหล็กอันร้อนระอุ เจ้าคงจะไม่รู้สินะว่าเขาจะพาเจ้าไปฆ่าเพื่อนำไป เป็นอาหารของมนุษย์

                  เห็นช็อคโกแล็ตน่ากิน หีบห่อน่ารัก คิกขุ น่าขบเคี้ยว คิดในใจ เห็นคนในชนบทต้องลำบากตากแดดตัดอ้อยเพื่อมาทำน้ำตาลใส่ช็อคโกแล็ต ชาวชนบทเหล่านี้นอกจากจะถูกกดขี่ค่าแรงแล้ว บางทีก็ถูกมอมเมายาเสพติดอีกด้วย โถ..น่าสงสารจริงๆ ถัดจากนั้นก็ให้นึกเห็นโคนมที่ถูกรีดนมจนเจ็บระบมเพื่อเอานมไปเป็นส่วนผสมกับโกโก้เพื่อผลิตเป็นช็อคโกแล็ต ฯลฯ

                  ไม่ยากเลยใช่ใหม เพียงแต่เราจะต้องมีสติคิดให้ทันกับสิ่งที่มากระทบสายตา ซึ่งสามารถพบเห็นได้อยู่ทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นโฆษณาในโทรทัศน์ อาหารน่ากินต่าง ๆ ในซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านอาหาร ต่าง ๆ ฯลฯ การปรุงแต่งความคิดเพื่อให้เกิดความเมตตากรุณานี้จะเป็นคุณค่าทางอารมณ์ใหม่ที่มาทดแทนความรู้สึกต้องการบริโภคที่คุณถูกกระตุ้นอยู่ตลอดเวลาจากสิ่งรอบ ๆ ตัว วิธีคิดเช่นนี้จะช่วยให้ความต้องการบริโภคของคุณลดลงไปเองโดยธรรมชาติ แน่นอนครับ เมื่อความต้องการบริโภคลดลง ความอ้วนก็ย่อมลดลงตามไปด้วยเช่นเดียวกัน


3. ฝึกจิตคิดเห็นสิ่งที่เป็นปฏิกูลในขณะบริโภคอาหาร

                  ตามปรกติปุถุชนคนธรรมดาทั่วไปเมื่อรับประทานอาหารที่มีรสชาติอร่อย จิตใจของเขาก็จะรู้สึกปลาบปลื้มยินดีกับรสชาติของอาหารนั้น ทำให้รู้สึกอยากจะรับประทานเรื่อยๆ ไปจนกว่าจะแน่นท้องรับประทานไม่ไหว หรือ คิดติดใจว่านี้คืออาหารโปรดของเรา ที่จะต้องกลับมารับประทานบ่อย ๆ อะไรทำนองนั้น นี่คือความคิดปรุงแต่งที่เป็นไปเองตามธรรมชาติของปุถุชนที่ไม่ได้รับการศึกษา

                  วิธีการต่อไปนี้จึงเป็นท่าไม้ตายในการทำลายความยึดติดในรสชาติของอาหาร นั่นคือ ฝึกจิตคิดเห็นสิ่งที่เป็นปฏิกูลในขณะบริโภคอาหาร ด้วยการนึกเห็นสภาพของอาหารว่าเป็นปฏิกูลในขณะที่เราขบเคี้ยวอาหารอยู่ในปาก เช่น อาจจะนึกจินตนาการให้เห็นภาพอาหารที่เราขบเคี้ยวอยู่นี้อยู่ในใจว่ามีสภาพเป็น อาจม หรือ อาเจียน หรือนึกให้เห็นอาหารนั้นอยู่ในสภาพที่เน่าบูดมีแมลงวันตอมก็ได้ ฯลฯ คือ จะนึกปรุงแต่งอย่างไรก็ได้ ขอเพียงให้เห็นภาพความเป็นปฏิกูลของอาหารในขณะที่เราขบเคี้ยวอาหารอยู่เป็นใช้ได้ เป็นวิธีคิดที่มีชื่อเรียกเป็นภาษาพระว่า "อาหาเรปฏิกูลสัญญา" เป็นเทคนิคการคิดที่ทำให้จิตใจของเราคลายจากความยึดติดในรสชาติของอาหาร ถอยกลับคืนสู่ความเป็นปรกติ ทำให้เกิดการบริโภคอย่างพอดี ไม่บริโภคมากจนเกินไป และ สามารถควบคุมจิตใจของตนเองไม่ให้ไปเกี่ยวข้องกับอาหารโปรดแต่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ โดยไม่มีความจำเป็นต้องไปพึ่งอาศัยยาแต่อย่างใด

                  อ้อ.!  คุณไม่ต้องกลัวว่าการนีกเช่นนั้นจะทำให้คุณผะอืดผะอม กระอักกระอ่วน  หรือ รับประทานอาหารไม่ลงนะครับ เพราะนี้เป็นเพียงแค่การนึกภาพในใจไม่ใช่การเห็นของจริงแต่อย่างใด ในทางตรงกันข้าม หากคุณพิจารณาความเป็นปฏิกูลของอาหารตลอดเวลาอย่างต่อเนื่อง คุณจะได้สัมผัสความรู้สึกสงบสันติสุขในขณะรับประทานอาหาร เป็นความสุขทางใจที่คุณอาจจะไม่เคยได้พบมาก่อนในชีวิต นี้เป็นเทคนิคกระทำในใจอันแยบคาย(โยนิโสมนสิการ) ในทางพุทธศาสนาที่จะทำให้จิตใจของท่านหลุดพ้นจากอำนาจราคะที่เกิดจากรสชาติอาหารนั่นเอง

                   อนึ่ง อันที่จริงแล้วการควบคุมอาหาร หรือ การลดความอ้วน นี้เป็นเพียงแค่ผลพลอยได้ของคิดแบบ "อาหาเรปฎิกูลสัญญา" เท่านั้นเอง แต่ผลตอบแทนอันคุ้มค่าสำหรับการฝึกคิดเช่นนี้ ท่านว่ามีอานิสงส์มากทีเดียว คือ สามารถทำให้เราหลุดพ้นจากกิเลสหยาบ ๆ ได้ ทำให้เรามีสุขภาพจิตผ่องใส มีสติปัญญาสว่างไสว อันเป็นบาทฐานไปสู่การหยั่งลงสู่อมตะ (ความไม่ตาย หลุดพ้น หมดทุกข์สิ้นเชิง) เฉกเช่นเดียวกับพระพุทธองค์เลยทีเดียว ดังจะขอยกพระสูตรมาอ้างดังต่อไปนี้

                   .........  ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาหาเรปฏิกูลสัญญาอันภิกษุเจริญ แล้ว กระทำให้มากแล้วย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุมีใจอันอบรมแล้วด้วยอาหาเรปฏิกูล-สัญญาอยู่โดยมาก จิตย่อมหวลกลับ งอกลับ ถอยกลับจากตัณหาในรส ไม่ยื่นไปรับตัณหาในรส อุเบกขาหรือความเป็นของปฏิกูลย่อมตั้งอยู่เปรียบเหมือนขนไก่หรือเส้นเอ็นที่เขาใส่ลงในไฟ ย่อมหดงอเข้า หากันไม่คลี่ออก ฉะนั้น.... สุตตันต.เล่ม ๑๕ ข้อ ๔๖











ขอขอบคุณที่มา : http://dhammavoice.blogspot.com/2007/07/blog-post_2986.html
                          ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต





 













 
๏ปฟ












เธซเธ™เน‰เธฒเนเธฃเธ | เน€เธเธตเนˆเธขเธงเธเธฑเธšเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธ„เธฃเธทเธญเธ‚เนˆเธฒเธขเนเธฅเธฐเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธ–เธดเธ•เธด | เธเธฒเธฃเธˆเธฑเธ”เธเธฒเธฃเธ„เธงเธฒเธกเธฃเธนเน‰ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ•เธดเธ”เธ•เนˆเธญเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธˆเน‰เธฒเธซเธ™เน‰เธฒเธ—เธตเนˆเธ”เธนเนเธฅเธฃเธฐเธšเธš
เนเธ™เธฐเธ™เธณเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เนˆเธฒเธงเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เน€เธเธฒเธฐเธ•เธดเธ”เธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธกเน€เธ”เนˆเธ™ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™เธ—เธตเนˆเน€เธเธตเนˆเธขเธงเธ‚เน‰เธญเธ‡ | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™| เธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™เธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž| เธเน‰เธฒเธงเนƒเธซเธกเนˆเธเธฑเธš HISO | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธžเธ›เธฃเธฐเน€เธ—เธจเน„เธ—เธข
เธเธฒเธฃเธงเธดเน€เธ„เธฃเธฒเธฐเธซเนŒเธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เน€เธฃเธทเนˆเธญเธ‡เน€เธฅเนˆเธฒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธทเนˆเธญเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เนเธšเธšเธชเธณเธฃเธงเธˆเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | webbord | เธ„เธณเธ–เธฒเธกเธ—เธตเนˆเธžเธšเธšเนˆเธญเธข | เธชเธกเธธเธ”เน€เธขเธตเนˆเธขเธกเธŠเธก | เธšเธฃเธดเธเธฒเธฃเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅ