เรื่องเล่าข่าวสุขภาพ | สมรรถภาพร่างกาย | สุขภาวะทางจิต | สุขภาพกับความงาม | สื่อกับสุขภาพ | สมุนไพรเพื่อสุขภาพ | ธรรมะกับสุขภาพ






มังคุด : รักษาแผล ดูแลผิวหนัง




 

                 ผลมังคุดนั้นได้ชื่อว่า เป็นราชาผลไม้ของโลก ประเทศเขตร้อนชื้นแบบบ้านเราโชคดีจริงๆที่มีผลไม้อร่อยๆ เช่นนี้ แต่เขตร้อนชื้นที่ว่านี้ก็ทำให้เกิดโรคอับชื้น ผดผื่นคันหรือโรคผิวหนังอื่นๆ ได้ง่ายๆ เช่นกัน และก็ต้องใช้เปลือกเจ้าผลไม้ที่ขึ้นในเขตร้อนชื้นที่ชื่อ "มังคุด" นี่แหละเป็นยารักษา กล่าวคือ นอกจากจะให้รสชาติที่พิเศษสุดแล้ว มังคุดยังเป็นยาได้ทั้งราก ใบ ผล และเปลือกผล สรรพคุณทางยาที่สำคัญคือ การใช้เปลือกผลในการรักษาแผล

                 การรับประทานมังคุดทำให้การขับถ่ายดีขึ้น น้ำต้มรากมังคุดจะช่วยรักษาอาการประจำเดือนไม่ปกติ น้ำต้มของใบมังคุดกับกล้วยดิบ ผสมทิงเจอร์เบนซอยด์เล็กน้อย ใช้รักษาแผลจากการขลิบตามพิธีทางศาสนาอิสลาม น้ำต้มของเปลือกมังคุดแห้งใช้รับประทานแก้บิดมานานนับศตวรรษ ในหลายประเทศที่มีมังคุดให้ลิ้มลอง

                 ในเมืองไทยใช้เปลือกมังคุดตากแห้งฝนกับน้ำดื่ม แก้อาการท้องเสีย เปลือกมังคุดตากแห้งใช้ทาแผลพุพองเน่าเปื่อย ด้วยสรรพคุณดังกล่าวนี้เอง จึงมีการนำเอามังคุดมาเป็นส่วนผสมทำสบู่สมุนไพร ซึ่งได้รับความนิยมจากผู้ใช้ไม่น้อย   ที่เป็นเช่นนี้เพราะในเปลือกมังคุดมี "แทนนิน" สารอะไรที่มีรสฝาดๆ ส่วนใหญ่ก็จะมีสารแทนนินอยู่ทั้งนั้นในตำรายาไทยมักจะกล่าวถึงสารรสฝาดว่า มีฤทธิ์ชอบสมาน โดยจะช่วยในการรักษาอาการท้องเสีย และรักษาแผลพุพองต่างๆ โดยแทนนินมีฤทธิ์ตกตะกอนโปรตีน และส่วนใหญ่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรค

                 แทนนินมีอยู่สองแบบ แบบหนึ่งสามารถถูกแยกออกเป็นโมเลกุลเล็กๆ ได้เรียก ไฮโรไลซ์ แทนนิน ให้เป็นกอลลิก เอซิก (gallic acid) เป็นสารที่มีสี ในเปลือกมังคุด ยังมีแทนนินอีกพวก เรียกคอนเดนส์ แทนนิน (condensed tannin) หรือเรียกอีกอย่างว่า โปรแอนโทรไซยานิน (proanthrocyanin) สารโปรแอนโทรไซยานินที่ไม่มีสีนั้น นอกจากพบในเปลือกมังคุดแล้ว ยังพบมากในเม็ดองุ่น มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่สูงมาก ปัจจุบันมีผู้ใช้ความฝาดของเปลือกมังคุดทำไวน์เปลือกมังคุด โดยใช้เปลือกมังคุดครึ่งกิโลกรัม ในการทำไวน์มังคุด 20 กิโลกรัม เพื่อช่วยให้รสไวน์จับลิ้นและหวังผลในแง่การต้านอนุมูลอิสระ และนอกจากสารพวกแทนนิน แล้วในเปลือกมังคุดยังมีสารตัวอื่นที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระอีกด้วย การที่สารต้านอนุมูลอิสระนั้น ก็หมายความว่า หากใช้ในปริมาณที่เหมาะสามารถ ใช้ชะลอความชราของเซล และช่วยทำสารสารพิษที่จะมาทำร้ายเซลได้

                 การที่เปลือกมีมังคุดมีรสฝาด จึงช่วยสมานผิวทำให้รูขุมขนกระชับ เมื่อรูขุมขนกระชับโอกาสที่เชื้อโรค สารพิษ จะแทรกเข้าผิวหนังผ่านรูขุมขนก็ยากขึ้น คนโบราณเมื่อเป็นตุ่มคัน อับชื้นเขาจะแนะนำให้ใช้เปลือกมังคุดต้มอาบ หรือใช้ชะล้างตุ่มคันเหล่านั้น และนอกจากนั้นเมือเป็นแผลในปากหรือเหงือกบวม ก็แนะนำให้ใช้เปลือกมังคุดต้มอมบ้วนปากอีกด้วย

                 และนอกจากนี้จากการทดลองในห้องทดลอง ยังพบว่า สารบางตัวในเปลือกมังคุด ช่วยทำให้กระตุ้นให้เซล phagocyte ในร่างกายของคนที่ทำหน้าที่ทำลายเชื้อแบคทีเรีย สามารถทำหน้าที่ได้ดีขึ้น

                 ดังนั้นจึงเห็นว่ามังคุด เป็นผลไม้ที่มีศักยภาพ ทั้งทางด้านอาหารและยา เปลือกมังคุดที่เป็นของเหลือใช้ทางการเกษตรนั้น สามารถนำมาพัฒนาได้หลากหลาย เช่น มีการนำมาผสมกับสบู่ถูตัวเป็นสบู่เปลือกมังคุด ผู้ที่มีกลิ่นตัว ผิวมันมาก เป็นตุ่มคัน มีสิวเห่อเป็นประจำเวลาอับชื้น มักนิยมซื้อสบู่เปลือกมังคุดไปใช้ หรือบางรายก็นำเปลือกมังคุดพัฒนาเป็นไวน์ตามที่กล่าวมาแล้ว ส่วนท่านที่รับประทานมังคุดแล้ว ไม่ต้องรอให้ใครมาแปรรูปให้ยุ่งยาก เพียงนำเปลือกมังคุดไปทำความสะอาด แบ่งเป็นสี่ส่วน (เพื่อที่จะทำให้แห้งได้ง่าย) จากนั้นนำไปตากแดด แล้วเก็บไว้ในภาชนะปิดสนิท ใช้รักษาแผล ผดผื่นคันต่างๆ ชะงัดดีนัก








ขอขอบคุณที่มา : http://advisor.anamai.moph.go.th/hph/herbs/herbindex.html
                          ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต













 
๏ปฟ












เธซเธ™เน‰เธฒเนเธฃเธ | เน€เธเธตเนˆเธขเธงเธเธฑเธšเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธ„เธฃเธทเธญเธ‚เนˆเธฒเธขเนเธฅเธฐเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธ–เธดเธ•เธด | เธเธฒเธฃเธˆเธฑเธ”เธเธฒเธฃเธ„เธงเธฒเธกเธฃเธนเน‰ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ•เธดเธ”เธ•เนˆเธญเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธˆเน‰เธฒเธซเธ™เน‰เธฒเธ—เธตเนˆเธ”เธนเนเธฅเธฃเธฐเธšเธš
เนเธ™เธฐเธ™เธณเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เนˆเธฒเธงเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เน€เธเธฒเธฐเธ•เธดเธ”เธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธกเน€เธ”เนˆเธ™ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™เธ—เธตเนˆเน€เธเธตเนˆเธขเธงเธ‚เน‰เธญเธ‡ | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™| เธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™เธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž| เธเน‰เธฒเธงเนƒเธซเธกเนˆเธเธฑเธš HISO | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธžเธ›เธฃเธฐเน€เธ—เธจเน„เธ—เธข
เธเธฒเธฃเธงเธดเน€เธ„เธฃเธฒเธฐเธซเนŒเธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เน€เธฃเธทเนˆเธญเธ‡เน€เธฅเนˆเธฒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธทเนˆเธญเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เนเธšเธšเธชเธณเธฃเธงเธˆเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | webbord | เธ„เธณเธ–เธฒเธกเธ—เธตเนˆเธžเธšเธšเนˆเธญเธข | เธชเธกเธธเธ”เน€เธขเธตเนˆเธขเธกเธŠเธก | เธšเธฃเธดเธเธฒเธฃเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅ