เรื่องเล่าข่าวสุขภาพ | สมรรถภาพร่างกาย | สุขภาวะทางจิต | สุขภาพกับความงาม | สื่อกับสุขภาพ | สมุนไพรเพื่อสุขภาพ | ธรรมะกับสุขภาพ







ยาดองเหล้า หนึ่งในการรักษาโรคด้วยพืชสมุนไพร





ยาดองเหล้า เป็นยาสมุนไพรอีกกลุ่มหนึ่งที่กำลังให้ความสนใจกันมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวชนบทในภาคเหนือ เห็นได้จากมีร้านขายยาดองเหล้าวางจำหน่ายอยู่ทั่วไป ซึ่งโดยรวมเกือบทุกตำรับจะมีสรรพคุณที่เกี่ยวกับ การบำรุงกำลัง แก้ปวดเมื่อย ปวดหลัง ปวดเอว เนื่องจากการทำงานหนัก จึงเป็นที่นิยมสำหรับผู้ใช้แรงงาน มีบางตำรับที่ใช้บำรุงโลหิตสำหรับสตรีหลังคลอดที่อยู่ไฟไม่ได้ และบางตำรับสามารถใช้รักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคอัมพาตและเหน็บชาได้ นอกจากนี้ยังเชื่อว่ายาดองเหล้าบางตำรับเป็นยาบำรุงกำหัดที่ได้ผล จึงเป็นที่นิยมในกลุ่มผู้ชาย

ถึงแม้จะมีการนำพืชสมุนไพรมาใช้ทำยาดองเหล้ากันมากขึ้น แต่กลับมีลักษณะการเก็บตัวยาอย่างไม่ถูกวิธี เช่น เก็บแบบขุดรากถอนโคน แล้วนำไปใช้เพียงเล็กน้อย ที่เห็นได้ชัด คือ สมุนไพรพวกเถาวัลย์ที่มีลำต้นเลื้อยพันขึ้นไปตามยอดไม้ ที่มักจะถูกตัดเอาเพียงส่วนโคนต้น ทำให้ส่วนที่เหลือตายไปอย่างน่าเสียดาย

วิธีการเหล่านี้ ล้วนเป็นสาเหตุให้พืชสมุนไพรที่มีสรรพคุณในการทำยาดองเหล้าเหล่านั้นเริ่มลดลง และมีโอกาสสูญพันธุ์ได้ในอนาคต ดังนั้น จึงควรหาทางอนุรักษ์พืชสมุนไพรเหล่านี้เอาไว้ ประกอบกับความต้องการจะรู้เกี่ยวกับชนิดพันธุ์พืชสมุนไพรที่เป็นองค์ประกอบในการเตรียมยาดองเหล้า ว่ามีพันธุ์พืชชนิดใดบ้าง ขณะที่คนทั่วไปจะเห็นว่าเป็นเพียงเศษไม้แช่ในโหลดองยาเท่านั้น จึงนำไปสู่การวิจัยเรื่อง "การศึกษาพืชสมุนไพรที่ใช้เป็นยาดองเหล้าในภาคเหนือของไทย" ของ สันติ วัฒฐานะ และทีมงาน จากสำนักวิชาการ องค์การสวนพฤกษศาสตร์ จ.ชียงใหม่ ด้วยการสนับสนุนทุนวิจัยจากโครงการพัฒนาองค์ความรู้ และศึกษานโยบายการจัดการทรัพยากรชีวภาพในประเทศไทย (BRT) ซึ่งเป็นโครงการหนึ่งในความร่วมมือระหว่าง สกว. และ สวทช.

ทีมงานวิจัยได้ทำการเก็บข้อมูลสูตรตำรับยาดองเหล้า ส่วนของพืชที่ใช้ในการดองเหล้า ปริมาณและสรรพคุณของยาดองเหล้าด้วยการสอบถามจากหมอยาพื้นบ้าน และรวบรวมจากตำรายาล้านนา และเก็บตัวอย่างพันธุ์พืชสมุนไพรรวมกับหมอยาพื้นบ้านเพื่อนำมาจำแนกชื่อแล้ว ทั้งนี้ได้ทำการเก็บตัวอย่างใน 6 จังหวัด (รวม 17 อำเภอ) ในภาคเหนือของไทย ได้แก่

      - เชียงใหม่ (อำเภอฝาง เชียงดาว พร้าว แม่แตง แม่ริม อมก๋อย หางดง และสันกำแพง)
      - ลำพูน (อำเภอแม่ทา)
      - ลำปาง (อำเภอแจ้ห่ม วาว เถิน ละห้างฉัตร)
      - พะเยา (อำเภอเชียง ม่วน)
      - น่าน (อำเภอปัว และบ่อเกลือ)
      - สุโขทัย (อำเภอคีรีมาส)



นอกจากนี้ ได้ทำการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะทางนิเวศวิทยา ตลอดจนนำต้นกล้าตัวอย่างพืชสมุนไพรจำนวน 70 ชนิด มาทดลองปลูก และขยายพันธุ์ใน สวนพฤกศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เพื่อประโยชน์ในการทำวิจัยต่อไปในอนาคต

จากการวิจัยตั้งแต่เดือน กรกฎาคม 2539 - ตุลาคม 2540 ทีมงานวิจัยสามารถรวบรวม สูตรตำรับยาดองได้ทั้งหมด 91 สูตร พบพืชที่ใช้เป็น ส่วนประกอบของยาดองเหล้า 242 ชนิด สามารถจำแนกชื่อทางพฤกษศาสตร์ได้ 209 ชนิด 166 สกุล จากทั้งหมด 77 วงศ์ สามารถจำแนกได้ถึงระดับสกุล 12 ชนิด และยังไม่สามารถจำแนกได้เลย 21 ชนิด ทั้งนี้ พืชสมุนไพรที่จำแนกได้ข้างต้น จัดเป็นพืชป่าและพืชปลูกในภาคเหนือของไทย 189 ชนิด และอีก 32 ชนิด เป็นพืชที่นำมาจากถิ่นอื่น โดยพบว่าเป็นตัวยาที่มีขายตามร้านขายยาแผนโบราณ โดยส่วนใหญ่จะใช้รากแก่น และผลตากแห้ง มาปรุงเป็นยา และ บางชนิดมีการนำเข้ามาจากต่างประเทศ

สำหรับพืชสมุนไพรที่นิยมนำมาใช้เป็นทำยาดองเหล้าในภาคเหนือ เมื่อพิจารณาจากความถี่ที่พบพืชสมุนไพรเหล่านี้ในตำรับยาดองเหล้าที่นิยมของคนทั่วไป ได้แก่

- จะค้าน (Piper sp.)  พบกระจายตามป่าดงดิบ และป่าดิบเขาทางภาคเหนือ มีสรรพคุณเป็นยาธาตุ

- ฝาง (Caesalpinia sappan)  พบกระจายตามป่าผลัดใบ และป่าหินปูนทั่วไปในประเทศไทย แก่นของพืชชนิดนี้มีสรรพคุณเป็นยาบำรุงโลหิต แก้ปอดพิการ ขับเสมหะ และขับระดู

- ปิดปิวแดง (Plumbagoindica)  มีถิ่นกำเนิดในอินเดีย และถูกนำมาปลูกเป็นไม้ประดับ และใช้เป็นพืชสมุนไพรตามบ้านเรือนในประเทศไทย รากของพืชชนิดนี้มีสรรพคุณในการขับประจำเดือน กระจายลมบำรุงธาตุ ช่วยให้เจริญอาหาร บำรุงธาตุไฟ เป็นต้น

- กำลังเสือโคร่ง (Betula alnoides)  พบกระจายตามที่โล่ง หรือพื้นที่เปิดใหม่ในที่สูงทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันตกเฉียงใต้ของไทยที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 800 - 1,600 เมตร เปลือกใช้เป็นยาบำรุงธาตุ บำรุงกำลัง แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย

- มะเขือแจ้เครือ (Securidaca inappendiculata)  พบตั้งแต่อินเดียตอนเหนือถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตามป่าริมธารน้ำที่ระดับความสูง 200-700 เมตรของไทย ทั้งต้นของพืชชนิดนี้ใช้ต้ม หรือดองเหล้าเป็นยาแก้ปวดหลังบั้นเอว

- รางแดง (Ventilago denticulata)  พบตามป่าชื้น ริมลำธารทั่วไปในประเทศไทย เถาของรางแดงมีสรรพคุณช่วยแก้กระษัย แก้เส้นเอ็นตึง เข้ายาเจริญอาหาร และยาอายุวัฒนะ

- พริกไทย (Piper nigrum)  พบปลูกอยู่ทั่วไปในแถบเส้นศูนย์สูตรที่มีอากาศร้อนชื้น สำหรับในประเทศไทยพบปลูกมากที่จังหวัดจันทบุรี ผลพริกไทยสามารถขับลม บำรุงธาตุ ช่วยให้เจริญอาหาร

- ฮ่อสะพานควาย (Reissanithia grahamii)  พบในอินเดีย พม่า มาเลเซีย และตามป่าดิบริมน้ำในประเทศไทย เถาใช้ดองเหล้าดื่มบำรุงกำลัง แก้ปวดเมื่อย

- กำลังช้างเผือก (Hiptage bengalensis var. candicans)  พบกระจายพันธุ์ในอินเดีย จีน มาเลเซีย และพบตามป่าผลัดใบที่ระดับความสูง 300-900 เมตร ทั่วทุกภาค (ยกเว้นภาคใต้) ของไทย แก่นของพืชชนิดนี้มีสรรพคุณบำรุงกำหนัด เป็นยาอายุวัฒนะ เจริญอาหาร แก้อ่อนเพลีย ขับลม แก้จุกเสียดแน่นเฟ้อ

- ดีปลี (Piper retrofrctum)  มีถิ่นกำเนิดที่เกาะโมลัคคาส ในมหาสมุทรอินเดีย และสามารถปลูกขึ้นได้ดีทั่วไปในเอเชียเขตร้อนชื้น เถาของพืชชนิดนี้แก้ลมช่วยเจริญอาหาร ดอกใช้ปรุงเป็นยาธาตุ ส่วนรากใช้แก้เส้นอัมพฤกษ์ และอัมพาต

- จะค้านแดง (Piper sp.)  พบตามป่าชื้นในภาคเหนือ มีสรรพคุณบำรุงธาตุ บำรุงกำลัง

- โด่ไม่รู้ล้ม (Elephantopus scaber)  พบทั่วไปตามทุ่งหญ้า ชายป่าและป่าละเมาะ ตลอดลำต้นของโด่ไม่รู้ล้มมีสรรพคุณแก้เหน็บชา บำรุงหัวใจ บำรุงกำหนัด ขับน้ำเหลืองเสียเป็นยาบำรุงหลังคลอด

- เปล้าใหญ่ (Croton oblongifolius)  พบกระจายในอินเดียจนถึงอินโดจีน ตามป่าเต็งรัง และป่าผลัดใบ ทั่วไปในประเทศไทย ต้นของเปล้าใหญ่ใช้ต้มดื่ม แก้ปวดเมื่อย ใบมีสรรพคุณบำรุงธาตุ ผลใช้ดองสุราดื่มขับเลือดหลังคลอด เปลือกต้น และกระพี้เป็นยาช่วยย่อยอาหาร เหลือต้นและใบสามารถบำรุงโลหิต เป็นต้น

- ม้าแม่กล่ำ (Polygala chinensis)  กระจายในเอเชียเขตร้อนชื้น โดยพบทั่วไปตามป่าดงดิบ หรือป่าเบญจพรรณที่ค่อนข้างชื้น ทั้งต้นของมันใช้ดองเหล้าดื่มแก้ปวดหลังปวดเอว

- มะเขือแจ้ป่าแพะ (Polygala crotalarioides)  พบตามป่าผลัดใบในภาคเหนือของประเทศไทย มีสรรพคุณเป็นยาบำรุงกำลัง

- มะเขือแจ้ (Solanum aculetissima)  เป็นพืชปลูกทั่วไป มีสรรพคุณเป็นยาบำรุงกำหนัด

- หัสคืน (Croton birmanicus)  ปลูกในพม่า และภาคเหนือของประเทศไทย ใบของพืชชนิดนี้ช่วยแก้เหน็บชา

- ลมแล้ง (Cassia fistula)  พบกระจายตามป่าผลัดใบในประเทศไทย ฝักของลมแล้งช่วยแก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย ส่วนรากใช้เป็นยาบำรุงกำลัง

- เขืองแข้งม้า (Leea indica)  พบกระจายในอินเดีย พม่า มาเลเซีย อินโดนีเซีย และตามป่าโปร่งค่อนข้างชื้นทางภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ระดับความสูง 500 -1000 เมตร ในประเทศไทย รากของพืชชนิดนี้แก้ปวดเมื่อยตามร่างกายและช่วยขับลม

- จุ่งจาลิง (Tinospora crispa)  พบตั้งแต่อินเดีย จีน จนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปลูกเป็นพืชสมุนไพรตามบ้าน และพบตามป่า และป่าผลัดใบของไทย เถาและลำต้นช่วยขับเหงื่อ บำรุงกำลัง และช่วยเจริญอาหาร

- ขี้เหล็ก (Cassia siamea)  พบทั่วไปในเขตเส้นศูนย์สูตร นิยมปลูกเป็นไม้ให้ร่มริมทาง รากของขี้เหล็กช่วยให้เจริญธาตุไฟ แก้เหน็บชา บำรุงธาตุ เปลือกช่วยแก้กระษัย แก่นใช้แก้ธาตุพิการ แก้เส้น แก้กระษัยบำรุงโลหิต และใบช่วยเจริญอาหาร

- สีเสื้อน้อย (Vitex trifolia)  นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ และยาสมุนไพรทั่วไป รากมีสรรพคุณในการบำรุงธาตุ แก้ปวดตามข้อ ใบใช้บำรุงน้ำดี แก้ปวดข้อและกล้ามเนื้อ เมล็ดช่วยให้เจริญอาหาร บำรุงร่างกาย


การปรุงยาบริโภค & การอนุรักษ์พืชสมุนไพร

ยาดองเหล้าที่ขายทั่วไปเตรียมได้จากการนำพืชสมุนไพรมาแช่ด้วยเหล้า โดยเหล้าจะเป็นตัวทำละลายดึงเอาตัวยาออกมาจากพืชสมุนไพร และยังช่วยถนอมรักษายาไม่ให้บูดเน่าง่าย

ส่วนของพืชที่นิยมใช้ทำยาดองเหล้า คือ ราก ลำต้น เถา หรือ แก่น โดยนำมาสับเป็นชิ้นเล็กๆ ให้เพียงพอตามปริมาณที่ระบุไว้ในแต่ละตำรับ แล้วนำไปห่อด้วยผ้าขาวบางใส่ในขวดโหล หลังจากนั้นใส่เหล้าลงไปให้ท่วมยาหรือตามอัตราส่วนที่กำหนดไว้ในสูตรของแต่ละตำรับยา ซึ่งจะมีความแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ความช่ำชองของหมอยาแต่ละคน ซึ่งจากการสัมภาษณ์หมอยาดองเหล้าในภาคเหนือจำนวน 37 คน โดยทีมงานวิจัย พบว่าโอกาสที่สูตรยาดองเหล้าทั้ง 91 ชนิดที่ได้จากการสำรวจมีโอกาสเหมือนกันน้อยมาก แต่มีพืชสมุนไพรหลายชนิดที่นำมาใช้ปรุงยาดองเหล้าเหมือนกัน บางสูตรใช้พืชที่มีสรรพคุณแก้ปวดเมื่อย บำรุงกำลังหรือบำรุงกำหนัด เพียงชนิดเดียว หรือหลายๆ ชนิดมา รวมกันปรุงเป็นยาดองเหล้า ซึ่งที่มาของสูตรเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นการบอกต่อๆ กันมา

ส่วนการตั้งชื่อยาดองเหล้าและแต่ละสูตรนั้น จะนิยมตั้งชื่อให้มีผลทางการค้าที่แสดงถึงความเป็นยาบำรุงกำลัง เพิ่มความแข็งแรง หรือบำรุงกำหนัด เช่น กระโดนกำแพง สาวน้อยตกเตียง โด่ไม่รู้ล้ม กำลังเสือโคร่ง และแสนนางวาน เป็นต้น และจากการตรวจค้นเอกสารที่เกี่ยวข้องของทีมงานวิจัย พบว่าพืชสมุนไพรหลายชนิดที่นำมาใช้ดองเหล้ามีสรรพคุณจริงในการบำรุงธาตุ บำรุงกำลัง บำรุงเลือด บำรุงกำหนัด แก้ปวดเมื่อย ฯลฯ

อย่างไรก็ตาม ไม่ควรบริโภคยาดองเหล้าในปริมาณที่มากเกินไป ควรดื่มวันละไม่เกิน 2 ครั้ง ก่อนอาหาร เช้าและเย็นและในแต่ละครั้งควรดื่มประมาณ 1 ถ้วยตะไล (30 ซี.ซี.) สำหรับผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคตับ สตรีมีครรภ์ และผู้ที่มีอาการแพ้เหล้า ไม่ควรดื่มยาดองเหล้าสมุนไพรเหล้านี้

ในขณะเดียวกัน จากการวิจัยยังพบว่า พืชสมุนไพรบางชนิดที่ชาวบ้านหรือหมอยาพื้นบ้านนำมาใช้ดองเหล้า เช่น ดองดึง สลอดหรือมะข่าว หานช้างร้อง เมล็ดมะเติ่ง และเมล็ดสะบ้านั้น ถ้าหากบริโภคเข้าไปโดยปรกติอาจเป็นพิษถึงตาย แต่หมอยาพื้นบ้านได้อธิบายว่า เมื่อนำพืชเหล่านี้มาปรุงเป็นยาดองจะถูกตัวยาจากพืชชนิดอื่นที่ปรุงผสมไปด้วย หักล้างความเป็นพิษออกไป หรือได้นำพืชเหล่านั้นไปปิ้ง หรือคั่วไฟตามวิธีการทำลายพิษของพืชแต่ละชนิด เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ทีมงานวิจัยมีความเห็นในเรื่องนี้ว่าพืชที่มีความเป็นพิษข้างต้น ไม่ควรนำมาปรุงเป็นยาก่อนที่จะได้รับการวิจัยตรวจสอบว่าปลอดภัย อีกประเด็นที่น่าเป็นห่วงคือการลดจำนวนลงของพืชสมุนไพรในภาคเหนือของไทย เนื่องจากการเก็บพืชสมุนไพรออกมาจากป่ามากเกินไป

ซึ่งทีมงานวิจัยได้เสนอว่า "ควรรณรงค์ให้ชาวบ้านและหมอยาท้องถิ่นพื้นบ้าน นำพืชสมุนไพรออกจากป่าสำหรับพอใช้ในการปรุงยาแต่ละครั้งเท่านั้น ตลอดจนส่งเสริมให้เกิดการอนุรักษ์พืชสมุนไพรที่มีประโยชน์ให้คงอยู่ในท้องถิ่นตลอดไป




ขอขอบคุณที่มา :  http://www.oknation.net/blog/print.php?id=256871
                           ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต





 


 











 
๏ปฟ












เธซเธ™เน‰เธฒเนเธฃเธ | เน€เธเธตเนˆเธขเธงเธเธฑเธšเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธ„เธฃเธทเธญเธ‚เนˆเธฒเธขเนเธฅเธฐเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธ–เธดเธ•เธด | เธเธฒเธฃเธˆเธฑเธ”เธเธฒเธฃเธ„เธงเธฒเธกเธฃเธนเน‰ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ•เธดเธ”เธ•เนˆเธญเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธˆเน‰เธฒเธซเธ™เน‰เธฒเธ—เธตเนˆเธ”เธนเนเธฅเธฃเธฐเธšเธš
เนเธ™เธฐเธ™เธณเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เนˆเธฒเธงเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เน€เธเธฒเธฐเธ•เธดเธ”เธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธกเน€เธ”เนˆเธ™ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™เธ—เธตเนˆเน€เธเธตเนˆเธขเธงเธ‚เน‰เธญเธ‡ | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™| เธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™เธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž| เธเน‰เธฒเธงเนƒเธซเธกเนˆเธเธฑเธš HISO | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธžเธ›เธฃเธฐเน€เธ—เธจเน„เธ—เธข
เธเธฒเธฃเธงเธดเน€เธ„เธฃเธฒเธฐเธซเนŒเธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เน€เธฃเธทเนˆเธญเธ‡เน€เธฅเนˆเธฒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธทเนˆเธญเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เนเธšเธšเธชเธณเธฃเธงเธˆเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | webbord | เธ„เธณเธ–เธฒเธกเธ—เธตเนˆเธžเธšเธšเนˆเธญเธข | เธชเธกเธธเธ”เน€เธขเธตเนˆเธขเธกเธŠเธก | เธšเธฃเธดเธเธฒเธฃเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅ