เรื่องเล่าข่าวสุขภาพ | สมรรถภาพร่างกาย | สุขภาวะทางจิต | สุขภาพกับความงาม | สื่อกับสุขภาพ | สมุนไพรเพื่อสุขภาพ | ธรรมะกับสุขภาพ







ฝรั่ง : สมุนไพรแก้ท้องเสีย ช่วยขับลม
ดับกลิ่นปาก และป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน






                                                                                           ภญ.พัชราภรณ์ ปัญญาวุฒิไกร


ฝรั่ง (Guava) เป็นผลไม้ที่รู้จักกันโดยทั่วไป ให้ผลผลิตทุกฤดูกาลตลอดปี มีหลายพันธุ์ เช่น ฝรั่งขี้นก ฝรั่งสาลี่ ฝรั่งเวียดนาม เป็นต้น จากการศึกษาพบว่า พันธุ์ฝรั่งขี้นกของไทย (Psidium Guajava Linn) จะมีสารสำคัญซึ่งให้คุณค่าทางอาหาร และคุณค่าในด้านการรักษาโรคได้ดี โดยทั่วไปเราจะนิยมรับประทานผลฝรั่งแก่จัด หรือสุก ซึ่งเป็นผลไม้ที่มีคุณประโยชน์ โดยเฉพาะ มีวิตามินซีมากกว่าผลไม้อื่นๆ มากกว่าส้ม 4-10 เท่า จึงช่วยรักษาและป้องกันโรคลักปิดลักเปิด หรือโรคเลือดออกตามไรฟันได้ นอกจากนี้ในผลฝรั่งยังมีวิตามินเอ บี 1 บี 2 บี 6 ธาตุเหล็ก แคลเซียม และอื่น ๆ ด้วย และเนื่องจากฝรั่งมีเส้นใยพืชมาก จึงทำให้การดูดซึมของน้ำตาล และไขมัน ในลำไส้เล็กลดน้อยลง นอกจากนี้เส้นใยพืชจะไม่ย่อย และไม่ดูดซึมเข้าร่างกาย การรับประทานผลฝรั่งจึงช่วยลดน้ำหนักได้โดยไม่ต้องลดอาหาร

ฝรั่งใช้เป็นยาได้ทั้งยอดอ่อน ใบที่ไม่แก่และไม่อ่อนเกินไป (ใบเพสลาด) ผลดิบที่ยังฝาดอยู่ และผลแก่จัด โดยใบฝรั่ง และผลฝรั่งดิบจะมีสารแทนนิน (tannin) มีฤทธิ์ในการลดระคายเคือง ของลำไส้ และลดการสูญเสียน้ำ ส่วนน้ำมันหอมระเหยในใบฝรั่งจะมีฤทธิ์เป็นยาขับลม

และจากการทดลองทางคลีนิก โดย พ.ญ.ปัจจางค์ ธนังกูล และชัยโย ชัยชาญทินยุทธ ได้ใช้ใบฝรั่งแห้งบดเป็นผงรักษาผู้ป่วยที่มีอาการอุจจาระร่วง โดยให้รับประทานครั้งละ 500 มก.ทุก 3 ชั่วโมง เป็นเวลา 3 วัน และเปรียบเทียบกับยาปฏิชีวนะ เตตร้าซัยคลิน พบว่า ยาจากสมุนไพรใบฝรั่ง สามารถลดจำนวนอุจจาระร่วง และลดระยะเวลาของการ ถ่ายเหลวได้มากกว่ายาเตตร้าซัยคลิน และไม่พบอาการข้างเคียง ซึ่งตรงกับการทดลองทางการแพทย์ที่พบว่า ใบ ดอก และผลฝรั่ง มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ที่ก่อให้เกิดอาการท้องเสีย ได้แก่ Staphyllococcus aureus E coli Salmonella Typhosa และ Shigella antidysenteriae ได้ อย่างไรก็ดี การรับประทานฝรั่ง โดยเฉพาะใบและผลดิบ มากไป อาจทำให้ท้องผูก และการเตรียมสารสกัดจากฝรั่งจะต้องระวังในการเตรียม โดยไม่ต้มให้เข้มข้นมากเกินไป และไม่ควรรับประทานติดต่อกันนานเกินไป เพราะสารแทนนิน ที่ละลายออกมามากจะมีพิษต่อตับ และไต การลดพิษนี้ทำได้ ด้วยการใช้แคลเซียมไฮดรอกไซด์ และการเตรียมการผลิตที่ถูกวิธี (ทางการแพทย์แผนไทย จะใช้น้ำปูนใสเป็นน้ำกระสายยา สำหรับยาเตรียมจากฝรั่ง)

สำหรับยาที่ใช้ภายนอก ได้มีการนำใบฝรั่งขี้นกมาเตรียมเป็นยาบ้วนปาก ชนิดผสมน้ำก่อนใช้ เพื่อระงับกลิ่นปาก โดยเฉพาะที่เกิดจากฟันผุ เหงือกอักเสบ เศษอาหารเน่าค้าง กลิ่นที่ออกมาจากภายใน หรือกลิ่นที่เกิดจากการรับประทานอาหารกลิ่นแรง หรือกลิ่นเหล้า และบุหรี่ เนื่องจากในใบฝรั่ง นอกจากมีสารพวกแทนนินแล้ว ยังมีน้ำมันหอมระเหยหลายชนิด ช่วยดับกลิ่นปากได้ และจากการทดลองฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ที่มักจะพบในปาก พบว่าสารสกัดใบฝรั่งจะมีผลต่อเชื้อ Nei sserla spp
Coaggurase Staphylococcus Staphylococcus Steep Virdans Yease Diphteroid bacilli และ E. coli แต่ยาบ้วนปากธรรมดาไม่มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ




ขอขอบคุณที่มา :  http://www.elib-online.com/doctors/herb_guava1.html
                           ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต





 


 











 
๏ปฟ












เธซเธ™เน‰เธฒเนเธฃเธ | เน€เธเธตเนˆเธขเธงเธเธฑเธšเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธ„เธฃเธทเธญเธ‚เนˆเธฒเธขเนเธฅเธฐเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธ–เธดเธ•เธด | เธเธฒเธฃเธˆเธฑเธ”เธเธฒเธฃเธ„เธงเธฒเธกเธฃเธนเน‰ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ•เธดเธ”เธ•เนˆเธญเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธˆเน‰เธฒเธซเธ™เน‰เธฒเธ—เธตเนˆเธ”เธนเนเธฅเธฃเธฐเธšเธš
เนเธ™เธฐเธ™เธณเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เนˆเธฒเธงเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เน€เธเธฒเธฐเธ•เธดเธ”เธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธกเน€เธ”เนˆเธ™ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™เธ—เธตเนˆเน€เธเธตเนˆเธขเธงเธ‚เน‰เธญเธ‡ | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™| เธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™เธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž| เธเน‰เธฒเธงเนƒเธซเธกเนˆเธเธฑเธš HISO | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธžเธ›เธฃเธฐเน€เธ—เธจเน„เธ—เธข
เธเธฒเธฃเธงเธดเน€เธ„เธฃเธฒเธฐเธซเนŒเธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เน€เธฃเธทเนˆเธญเธ‡เน€เธฅเนˆเธฒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธทเนˆเธญเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เนเธšเธšเธชเธณเธฃเธงเธˆเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | webbord | เธ„เธณเธ–เธฒเธกเธ—เธตเนˆเธžเธšเธšเนˆเธญเธข | เธชเธกเธธเธ”เน€เธขเธตเนˆเธขเธกเธŠเธก | เธšเธฃเธดเธเธฒเธฃเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅ