เรื่องเล่าข่าวสุขภาพ | สมรรถภาพร่างกาย | สุขภาวะทางจิต | สุขภาพกับความงาม | สื่อกับสุขภาพ | สมุนไพรเพื่อสุขภาพ | ธรรมะกับสุขภาพ








สมุนไพรรักษาเริม และ งูสวัดด้วยว่านหางจระเข้








ชื่อ ว่านหางจระเข้

ชื่อพฤกษศาสตร์ Aloe barbadensis Mill.

ชื่ออื่นๆ ว่านไฟไหม้(เหนือ), หางตะเข้(กลาง)

วิธีใช้ ใช้ใบสดที่พึ่งตัดออกจากต้นนำมาล้างให้สะอาด ปอกเปลือกส่วนที่มีสีเขียวออกให้หมดเหลือแต่วุ้นใส หากมียางสีเหลืองติดที่วุ้นให้ล้างออกก่อน หั่นวุ้นเป็นชิ้นเล็กๆวางไว้บริเวณ ที่มีแผล ใช้ผ้าสะอาดพันไม่ให้เลื่อนจากแผลเปลี่ยนวุ้นทุก 2-3 ชั่วโมง จะช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น หากไม่สะดวกที่จะต้องพันผ้า ให้ขูดส่วนที่เป็นเมือกใส่จากวุ้นใส่บริเวณแผลบ่อยๆ ช่วยให้แผลหายเร็ว

ประสบการณ์ตรงและสูตรลับรักษางูสวัสดิ์
นายธีรภพ โตศุกลวรรณ์ ผู้พัฒนาเว็บไซต์samunpai.com, teenee.com และ happy-box.com เคยป่วยเป็นโรคงูสวัสดิ์

อาการของโรค เริ่มจากมีตุ่มเล็กๆขึ้นมาและเจ็บ เหมือนเป็นสิวหัวช้าง หลังจากนั้นภายใน5 ชั่วโมงตุ่มเริ่มแตก เริ่มกลายเป็นผื่น คล้ายๆ เป็นโรคเริม (แพทย์บางท่านยังไม่สามารถแยกออกได้ว่าอันไหนเป็นเริมอันไหนเป็นงูสวัสดิ์) หลังจากที่ตุ่มแตกแล้ว อาการจะปวดแสบปวดร้อน ตามร่างกาย และปวดตามข้ออย่างรุนแรง และตุ่มจะเริ่มซ้อนๆ ขึ้นหลายๆชั้น คล้ายพวงองุ่น และเริ่มกระจายออกไปด้านข้างเหมือนถูกงูพัน

ทางผมเองได้ไปหาแพทย์หลายต่อหลายที่ แพทย์บอกว่าเกิดจาก เมื่อสมัยยังเด็กตอนเป็นอีสุกอีกใสเชื้อบางส่วนถูกเก็บอยู่ในร่างกาย เมื่อร่างกายอ่อนแอจึงเกิดขึ้นอีก และแพทย์ได้แนะนำให้ใช้ ใบจากต้นหนุมานประสานกายทาแต่อาการของผมเองไม่ดีขึ้น และปวดตามตัวหนักจนไม่สามารถนอนได้

และทางผมได้รับสูตรยาจากบุคคลท่านหนึ่ง ซึ่งสามารถรักษาให้หายได้อย่างน่าอัศจรรย์

สูตรยา

ให้นำด่างทับทิม ผสมน้ำอุ่น และเช็ดตามตุ่มแผลต่างๆเพื่อฆ่าเชื้อ และให้นำว่านหางจรเข้ ทาหลายๆรอบ และให้ใช้ด้วยผงวิเศษตราร่มชูชีพปะตามแผล ก่อนว่านหางจรเข้แห้ง (สูตรนี้จะทำให้แผลเริ่มแห้งภายใน1-4 วัน) ซึ่งด้วยสรรพคุณ ของว่านหางจรเข้แล้ว จะทำให้ไม่เกิดแผลเป็น

*** ช่วงแผลแห้งจะเกิดอาการคัน ซึ่งถ้าเกาอาจเกิดเป็นแผลเป็นได้

โรคนี้เป็นโรคที่น่ากลัวโรคหนึ่ง ผู้ป่วยทรมานจากอาการปวดมาก และสามารถเกิดได้กับทุกคน ถ้าหากร่างกายอ่อนแอ




ขอขอบคุณที่มา :  http://www.samunpai.com
                           ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต





 


 











 
๏ปฟ












เธซเธ™เน‰เธฒเนเธฃเธ | เน€เธเธตเนˆเธขเธงเธเธฑเธšเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธ„เธฃเธทเธญเธ‚เนˆเธฒเธขเนเธฅเธฐเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธ–เธดเธ•เธด | เธเธฒเธฃเธˆเธฑเธ”เธเธฒเธฃเธ„เธงเธฒเธกเธฃเธนเน‰ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ•เธดเธ”เธ•เนˆเธญเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธˆเน‰เธฒเธซเธ™เน‰เธฒเธ—เธตเนˆเธ”เธนเนเธฅเธฃเธฐเธšเธš
เนเธ™เธฐเธ™เธณเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เนˆเธฒเธงเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เน€เธเธฒเธฐเธ•เธดเธ”เธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธกเน€เธ”เนˆเธ™ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™เธ—เธตเนˆเน€เธเธตเนˆเธขเธงเธ‚เน‰เธญเธ‡ | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™| เธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™เธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž| เธเน‰เธฒเธงเนƒเธซเธกเนˆเธเธฑเธš HISO | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธžเธ›เธฃเธฐเน€เธ—เธจเน„เธ—เธข
เธเธฒเธฃเธงเธดเน€เธ„เธฃเธฒเธฐเธซเนŒเธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เน€เธฃเธทเนˆเธญเธ‡เน€เธฅเนˆเธฒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธทเนˆเธญเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เนเธšเธšเธชเธณเธฃเธงเธˆเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | webbord | เธ„เธณเธ–เธฒเธกเธ—เธตเนˆเธžเธšเธšเนˆเธญเธข | เธชเธกเธธเธ”เน€เธขเธตเนˆเธขเธกเธŠเธก | เธšเธฃเธดเธเธฒเธฃเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅ