เรื่องเล่าข่าวสุขภาพ | สมรรถภาพร่างกาย | สุขภาวะทางจิต | สุขภาพกับความงาม | สื่อกับสุขภาพ | สมุนไพรเพื่อสุขภาพ | ธรรมะกับสุขภาพ






น้ำผลไม้..ดียังไง ทำไมใครๆ ถึงบอกว่าดื่มแล้วดี




 

น้ำผลไม้เป็นสิ่งที่ดีที่สุดรองจากผลไม้จริง ๆ แต่บางทีก็ไม่ได้อุดมไปด้วยวิตามินอย่างที่คุณคิด เพราะคุณค่าทางอาหารของน้ำผลไม้ต่างกันไป ตามชนิดและยี่ห้อ ลองมาอ่านคุณประโยชน์ของน้ำผลไม้กันนะคะ

ดูซิว่าจริง ๆ แล้วมีอะไรอยู่ในน้ำผลไม้ที่คุณดื่ม

น้ำผลไม้นั้นมีคุณค่าทางอาหารน้อยกว่าผลไม้จริง ๆ อยู่แล้ว เมื่อนำผลไม้มาคั้น เส้นใย (ซึ่งเป็นแหล่งกากอาหารสูงสุด) และในกรณีผลไม้รสเปรี้ยว เมมเบรนของผลไม้ (ซึ่งเป็นแหล่งสารต้านมะเร็ง) จะสลายไปกับการคั้น วิตามินซี ซึ่งคุณคิดว่าเป็นสิ่งที่คุณด้รับมากที่สุด จากการดื่มน้ำผลไม้ก็ลดลงระหว่างกระบวนการการทำน้ำผลไม้ ยิ่งถ้าผลไม้นั้นมีวิตามินซีน้อยอยู่แล้ว เช่น แอปเปิ้ล เมื่อกระบวนการการทำน้ำผลไม้เสร็จลง วิตามินซีก็แทบไม่เหลืออยู่เลย

ถ้าผลไม้นั้นมีวิตามินซีมากอยู่แล้ว เช่น ผลไม้รสเปรี้ยว น้ำผลไม้ที่ได้ก็จะมีคุณค่าทางอาหารมาก อย่างไรก็ตาม บางครั้งคุณค่าทางอาหาร เช่น วิตามินซี ก็ถูกเติมลงไปในน้ำผลไม้ชนิดอื่น ๆ เพื่อเพิ่มคุณค่า คุณควรตรวจฉลากแสดงคุณค่าทางอาหาร เพราะน้ำแอปเปิ้ลหรือองุ่นยี่ห้อหนึ่งอาจมีวิตามินถึง 100% ของปริมาณที่ควรได้รับในแต่ละวัน ในขณะที่ยี่ห้ออื่นอาจมีน้อยกว่าหรือไม่มีเลย

ขนาดภาชนะบรรจุน้ำผลไม้มีผลต่อปริมาณวิตามินซี น้ำส้ม Tropicana Pure Premium Original 8 ออนซ์ ที่บรรจุในกล่องขนาดครึ่งแกลลอนมีปริมาณวิตามินซี 120% ของปริมาณที่ควรได้รับในแต่ละวัน ในขณะที่น้ำส้มแบบเดียวกันแต่มาจากกล่องขนาด 1 ควอร์ท มีปริมาณวิตามินซีเพียงครึ่งเดียว คือ 60% เท่านั้น และในกล่องขนาดเล็ก 6 ออนซ์ก็มีวิตามินซีเพียง 15% คุณคงสงสัยว่าเป็นไปได้อย่างไร คำตอบก็คือ ปริมาณวิตามินซีลดลงเมื่อสัมผัสกับออกซิเจน และน้ำผลไม้ที่บรรจุในกล่องขนาดเล็ก จะสัมผัสกับออกซิเจนมากกว่าทั้งระหว่างและหลังจากการบรรจุ

น้ำผลไม้ที่โฆษณาว่ามีส่วนผสมของน้ำผลไม้ถึง 100% อาจไม่มีคุณค่าทางอาหารมากขนาดนั้นก็ได้ น้ำผลไม้ที่โฆษณาเช่นนี้มักเป็นส่วนผสมสารสกัดน้ำผลไม้พวกองุ่นขาว แอปเปิ้ล หรือแพร์ ซึ่งมีคุณค่าทางอาหารและรสชาติต่ำ และไม่ต่างอะไรจากสารให้ความหวานธรรมดา

แม้กระทั่งน้ำผลไม้ผสมที่ดูแปลกอย่างน้ำส้ม/สตรอเบอร์รี่/กล้วย และส้มกับมะม่วง หรือกระทั่งแอปเปิ้ลกับราสเบร์รี่ ก็ไม่ได้ต่างกันสักเท่าไรด้านคุณค่าทางอาหาร

คุณไม่ได้รับผลไม้มากนักจาก "ค็อกเทลน้ำผลไม้" หรือ "เครื่องดื่มน้ำผลไม้" เพราะน้ำผลไม้เหล่านี้มักมีแต่น้ำและน้ำตาลฟรุกโตสเป็นส่วนผสมหลัก แต่ในกรณีของค็อกเทลแครนเบอร์รี่อาจมีคุณค่ามากเนื่องจากมีการเพิ่มวิตามินซีลงไป

เมื่อเปิดแล้ว น้ำผลไม้จะเสียคุณค่าทางอาหาร เพราะฉะนั้นอย่าเก็บไว้ในตู้เย็นนานเกินไป น้ำผลไม้ที่ผ่านการฆ่าเชื้อ เช่น น้ำส้ม เกรปฟรุต และผลไม้รสเปรี้ยว เช่น สับปะรดจะคงคุณค่าทางอาหารและรสชาติได้นาน 7-10 วัน น้ำผลไม้ที่รสเปรี้ยวน้อยกว่าเช่น แอปเปิ้ลและองุ่นจะคงคุณค่าทางอาหารและรสชาติได้นาน 1 สัปดาห์ หากคุณซื้อน้ำผลไม้ที่ไม่ได้ผ่านการฆ่าเชื้อ จึงควรดื่มให้หมดภายใน 1 สัปดาห์

น้ำผลไม้ที่ไม่ได้ผ่านการฆ่าเชื้ออาจไม่ปลอดภัย เนื่องจากการแพร่ของเชื้อแบคทีเรีย E Coli ที่พบในน้ำแอปเปิ้ลและสละที่ไม่ได้ผ่านการฆ่าเชื้อ รวมทั้งพิษ Salmonella ในน้ำส้มที่ไม่ได้ผ่านการฆ่าเชื้อ องค์การอาหารและยาจึงแนะให้ติดป้ายเตือนไว้ที่กล่องน้ำผลไม้ที่ไม่ได้ผ่านการฆ่าเชื้อ อัตราการเสี่ยงในผู้ใหญ่อาจต่ำ แต่ในเด็กและผู้สูงอายุ รวมทั้งผู้ภูมิต้านทานต่ำ (เช่น หญิงมีครรภ์) นั้นไม่ควรดื่มน้ำผลไม้ที่ไม่ได้ผ่านการฆ่าเชื้อ เนื่องจากไม่มีการใช้ความร้อนเพื่อฆ่าแบคทีเรีย น้ำผลไม้เกือบทั้งหมดที่ขายในท้องตลาด ยกเว้นชนิดที่คั้นสด ๆ ล้วนแต่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว แต่น้ำผลไม้จากผู้ค้ารายเล็ก ๆ อาจไม่ได้ผ่านการฆ่าเชื้อ หากคุณสงสัยจึงควรถามให้แน่ใจ

เมื่อคุณคั้นน้ำผลไม้ที่บ้าน ล้างผลไม้ให้สะอาดด้วยน้ำเย็นเพื่อล้างแบคทีเรีย และล้างที่คั้นด้วยสบู่และน้ำร้อนทุกครั้งที่ใช้

ถ้าคุณต้องการน้ำผลไม้ที่มีคุณค่าทางอาหารสูง ควรเลือกแต่น้ำผลไม้แบบไม่ผสม เช่น น้ำส้มหรือเกรปฟรุตล้วน ๆ หรือลองน้ำผลไม้รสเปรี้ยวที่มีการผสมวิตามินเอ ซี และอี หรือแม้กระทั่งแคลเซียม

เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพที่ทำด้วยผลไม้ดีกับสุขภาพจริงหรือ

อย่าพึ่งน้ำผลไม้จนเกินไป เมื่อคุณอ่านฉลากคุณค่าทางอาหารและเลือกอย่างระมัดระวัง น้ำผลไม้อาจมีประโยชน์มาก แต่การรับประทานผลไม้สักชิ้นสองชิ้นอาจมีประโยชน์ยิ่งกว่าน้ำผลไม้ เพราะต่อให้น้ำผลไม้ชนิดเยี่ยมที่สุดก็ยังต้องถอยเมื่อเจอคุณค่าของผลไม้จริง ๆ








ขอขอบคุณที่มา : http://www.samunpri.com/modules.php
                          ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต













 
๏ปฟ












เธซเธ™เน‰เธฒเนเธฃเธ | เน€เธเธตเนˆเธขเธงเธเธฑเธšเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธ„เธฃเธทเธญเธ‚เนˆเธฒเธขเนเธฅเธฐเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธ–เธดเธ•เธด | เธเธฒเธฃเธˆเธฑเธ”เธเธฒเธฃเธ„เธงเธฒเธกเธฃเธนเน‰ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ•เธดเธ”เธ•เนˆเธญเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธˆเน‰เธฒเธซเธ™เน‰เธฒเธ—เธตเนˆเธ”เธนเนเธฅเธฃเธฐเธšเธš
เนเธ™เธฐเธ™เธณเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เนˆเธฒเธงเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เน€เธเธฒเธฐเธ•เธดเธ”เธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธกเน€เธ”เนˆเธ™ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™เธ—เธตเนˆเน€เธเธตเนˆเธขเธงเธ‚เน‰เธญเธ‡ | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™| เธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™เธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž| เธเน‰เธฒเธงเนƒเธซเธกเนˆเธเธฑเธš HISO | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธžเธ›เธฃเธฐเน€เธ—เธจเน„เธ—เธข
เธเธฒเธฃเธงเธดเน€เธ„เธฃเธฒเธฐเธซเนŒเธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เน€เธฃเธทเนˆเธญเธ‡เน€เธฅเนˆเธฒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธทเนˆเธญเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เนเธšเธšเธชเธณเธฃเธงเธˆเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | webbord | เธ„เธณเธ–เธฒเธกเธ—เธตเนˆเธžเธšเธšเนˆเธญเธข | เธชเธกเธธเธ”เน€เธขเธตเนˆเธขเธกเธŠเธก | เธšเธฃเธดเธเธฒเธฃเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅ