เรื่องเล่าข่าวสุขภาพ | สมรรถภาพร่างกาย | สุขภาวะทางจิต | สุขภาพกับความงาม | สื่อกับสุขภาพ | สมุนไพรเพื่อสุขภาพ | ธรรมะกับสุขภาพ






สมุนไพร..ต้านภัยเอดส์


 

จีนค้นพบชังเห่า (SH) จากสมุนไพรจีนโบราณ ต้านโรคเอดส์ (HIV) วิจัยโดยสถาบันพฤกษศาสตร์คุนหมิง

อธิบดีกรมวิทยศาสตร์การแพทย์ ศ.ดร.ภักดี โพธิศริ ได้ให้สัมภาษณ์ใกล้หมอ เกี่ยวกับยาตำรับสมุนไพร SH ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง สถาบันพฤกษศาสตร์คุนหมิง (KIB, Kunming Institute of Botany) ร่วมกับ National Cancer Institute แห่งสหรัฐอเมริกา สถาบันนี้มีห้องปฏิบัติการทดสอบสมุนไพรจีนที่มีฤทธิ์ต้านเชื้อ HIV และกระทรวงสาธารณสุข ของประเทศไทยภายใต้โครงการความร่วมมือด้านการแพทย์ สาธารณสุขและเภสัชกรรม ระหว่างรัฐบาลไทยและจีน โดยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เป็นผู้ดำเนินการวิจัยคำรับ SH ภายใต้โครงการ
สมุนไพรต้านเอดส์ของกรม

ศ.ดร.ภักดี ชี้แจงรายละเอียดองค์ประกอบของยา ชังเห่า (SH) ว่า เป็นชื่อสมุนไพร 5 ชนิดคือ

1. ซังไป่ผี (Cortex Mori) Morus alba L. เปลือกรากหม่อน เป็นสมุนไพรที่มีขายตามร้านขายยาจีนในประเทศไทย แต่น่าจะผลิตได้ในประเทศ
2. หงฮวา (Flos Carthami) Carthamus tinctorius L. ดอกคำฝอย
3. อิงเฉิน (Herba Artemisiae Scopariae) Artemisia capillaris Thunb. ไม่มีสมุนไพรนี้ในประเทศไทย
4. หวงฉี (Radix Astragali) Astragalus membranaceus Bge. ไม่มีสมุนไพรนี้ในประเทศไทย
5. กันเฉ่า (Radix Glycyrrhizae) Glycyrrhiza uralensis Fischer ชะเอมเทศ เป็นสมุนไพรนำเข้า

ต่อคำถามถึงความมั่นใจในประสิทธิภาพของตัวยา SH อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ยืนยันถึงการทดลอง
ของกรมว่า เมื่อได้รับยาหรือสารสกัด SH จาก KIB กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้มาทำการทดสอบในห้องปฏิบัติการเพื่อศึกษาฤทธิ์ต้านเชื้อ HIV ในหลอดทดลอง ซึ่งพบว่า ยา SH ที่ความเข้มข้น 0.083 mg/ml สามารถยับยั้งเชื้อ HIV ได้ 85% จากนั้นกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้ทดสอบพิษกึ่งเฉียบพลันของยา SH เพื่อให้แน่ใจในความปลอดภัยของยา โดยกรอกยาขนาดต่างๆ แก่หนูขาวเป็นเวลา 28 วัน พบว่ายา SH ในขนาดที่จะนำมาใช้คลินิกมีความปลอดภัย จากนั้นกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จึงได้ขออนุมัติดำเนินการทดลองทางคลินิกต่อคณะกรรมการจริยธรรม ของกระทรวงสาธารณสุขก่อนดำเนินการทดลอง

เมื่อได้รับอนุมัติ กรมได้ร่วมมือกับทางโรงพยาบาลสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อทำการศึกษาประสิทธิผลของยา SH suspension ทางคลินิก Phase ? ในผู้ติดเชื้อเอดส์ จำนวนทั้งสิ้น 28 ราย ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2543 โดยได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากคณะแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาล ในการคัดเลือก ตรวจ และติดตามผลการรักษาผู้ป่วย รวมทั้งอาจารย์จากคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในการตรวจวัดระดับ ของเซลล์เม็ดเลือดขาว CD4 และปริมาณของเชื้อเอชไอวีในกระแสเลือด (HIV-1 viral load) ซึ่งผลการทดสอบประสิทธิผล และความปลอดภัยของยาตำรับ SH ทางคลินิกในผู้ติดเชื้อเอดส์ ซึ่งได้รับยาขนาด 5 กรัม/วัน แบ่งให้วันละ 3 ครั้ง ติดต่อกันจนครบกำหนดเวลาการศึกษา 3 เดือน พอสรุปได้ดังนี้

     1. จากจำนวนผู้ติดเชื้อ 28 ราย (เป็นหญิง 22 ราย ชาย 6 ราย) ที่ได้รับยา SH

          - ผู้ติดเชื้อ 9 ราย มีผลการรักษาเป็นที่น่าพอใจ กล่าวคือ มีจำนวนไวรัสเอชไอวีในเลือดลดลงอย่างชัดเจน
          - ผู้ติดเชื้อ 16 ราย มีจำนวนไวรัสเอชไอวีในเลือดไม่เปลี่ยนแปลง
          - ผู้ติดเชื้อ 3 ราย มีจำนวนไวรัสเอชไอวีในเลือดเพิ่มขึ้น

     2. จากการตรวจร่างกาย และผลการตรวจเลือดทางห้องปฏิบัติการ พบว่ายาตำรับ SH ไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงใดๆ ในผู้ติดเชื้อเอดส์ สรุปได้ว่ายาตำรับ SH ในขนาดที่ใช้ในการทดลองนี้มีความปลอดภัยในการใช้รักษาผู้ติดเชื้อเอดส์

อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เผยว่า จากการประชุมที่ปรึกษาโครงการสมุนไพรต้านเอดส์ ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แพทย์และอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิได้เสนอแนะว่า ควรทำการวิจัย ยาตำรับนี้ต่อไปในระยะที่ 2/3 ซึ่งกรมวิทยาศาสตร์จะได้ดำเนินการต่อไป ทั้งในปีงาบประมาณปีนี้ และปีงบประมาณหน้า เพื่อศึกษาประสิทธิผลของยา SH เมื่อใช้ร่วมกับยาจากสมุนไพรชนิดอื่น ซึ่งกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ดำเนินการวิจัยอยู่ เช่น ยา SN-1 หรือ ใช้ร่วมกับยาต้านเชื้อ HIV แผนปัจจุบัน AZT ในผู้ป่วยเอดส์จำนวนมากขึ้น

โดยเปรียบเทียบกับการใช้ AZT ร่วมกับยา DDI ทั้งนี้ เนื่องจากการใช้ยาต้านเชื้อ HIV ในปัจจุบัน ต้องใช้ยาหลายชนิดร่วมกัน เพื่อชะลอการดื้อยาของเชื้อ HIV

กรมมิได้หยุดยั้งการวิจัยเพียงเท่านี้ ศ.ดร.ภักดี เปิดเผยว่า ขณะนี้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้ดำเนินการวิจัยสมุนไพรทางคลินิกในโครงการสมุนไพรต้านเอดส์ 2 ชนิดซึ่งเป็นสมุนไพรในโครงการ (in-house) ได้แก่

          - สมุนไพร SN-1 ซึ่งทำการวิจัยที่สงขลา (โรงพยาบาลหาดใหญ่และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์) ขณะนี้
            กำลังอยู่ในระหว่างสรุปผลการทดลอง

          - สมุนไพร YTC-2 ซึ่งกำลังดำเนินการวิจัยอยู่ที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น


นอกจากนี้ยังมีตำรับยาจากสมุนไพรอีก 1 ชนิด ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้ร่วมวิจัยกับภาคเคมี จุฬาฯ ซึ่งเริ่มดำเนินการวิจัยทางคลินิกในเร็วๆ นี้








ขอขอบคุณที่มา : นิตยสารใกล้หมอปีที่ 24 ฉบับที่ 9
      คัดลอกจาก : http://www.elib-online.com/doctors2/herb_aids02.html
                          ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต















 
๏ปฟ












เธซเธ™เน‰เธฒเนเธฃเธ | เน€เธเธตเนˆเธขเธงเธเธฑเธšเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธ„เธฃเธทเธญเธ‚เนˆเธฒเธขเนเธฅเธฐเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธ–เธดเธ•เธด | เธเธฒเธฃเธˆเธฑเธ”เธเธฒเธฃเธ„เธงเธฒเธกเธฃเธนเน‰ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ•เธดเธ”เธ•เนˆเธญเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธˆเน‰เธฒเธซเธ™เน‰เธฒเธ—เธตเนˆเธ”เธนเนเธฅเธฃเธฐเธšเธš
เนเธ™เธฐเธ™เธณเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เนˆเธฒเธงเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เน€เธเธฒเธฐเธ•เธดเธ”เธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธกเน€เธ”เนˆเธ™ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™เธ—เธตเนˆเน€เธเธตเนˆเธขเธงเธ‚เน‰เธญเธ‡ | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™| เธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™เธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž| เธเน‰เธฒเธงเนƒเธซเธกเนˆเธเธฑเธš HISO | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธžเธ›เธฃเธฐเน€เธ—เธจเน„เธ—เธข
เธเธฒเธฃเธงเธดเน€เธ„เธฃเธฒเธฐเธซเนŒเธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เน€เธฃเธทเนˆเธญเธ‡เน€เธฅเนˆเธฒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธทเนˆเธญเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เนเธšเธšเธชเธณเธฃเธงเธˆเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | webbord | เธ„เธณเธ–เธฒเธกเธ—เธตเนˆเธžเธšเธšเนˆเธญเธข | เธชเธกเธธเธ”เน€เธขเธตเนˆเธขเธกเธŠเธก | เธšเธฃเธดเธเธฒเธฃเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅ