เรื่องเล่าข่าวสุขภาพ | สมรรถภาพร่างกาย | สุขภาวะทางจิต | สุขภาพกับความงาม | สื่อกับสุขภาพ | สมุนไพรเพื่อสุขภาพ | ธรรมะกับสุขภาพ






สมุนไพรภูมิปัญญาไทยเพื่อลูกรัก




 

ในยุคสมัยนี้เวลาเราเจ็บไข้ได้ป่วย หรือเจ้าตัวเล็กในบ้านเกิดไม่สบายขึ้นมา สิ่งแรกที่เราจะนึกถึงก็คือ ยาและคุณหมอ เพราะฉะนั้นเวลาทำอะไรไม่ถูก กังวลมากๆ ก็ต้องไปหาหมอ ให้หมอตรวจดูเสียหน่อยค่อยอุ่นใจขึ้น ทั้งที่บางครั้งอาการเจ็บป่วยของเราเป็นเพียงอาการเล็กๆ น้อยๆ ซึ่งสมัยปู่ย่าตายาย อาการเหล่านั้นสามารถบรรเทาให้ทุเลา และรักษาให้หายได้ด้วยสมุนไพรในบ้านนั่นเอง นี่เป็นภูมิปัญญาไทยที่มีมาตั้งแต่โบราณ ภูมิปัญญาที่เคยได้รับความนิยมจนเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตไทย เคยเสื่อมสูญหายไปจากความสนใจของคนยุคใหม่ แต่ปัจจุบันนี้ สมุนไพร...ภูมิปัญญาไทยกำลังได้รับการศึกษาค้นคว้า และกลับมาเป็นที่สนใจอีกครั้ง ทั้งที่ใช้เป็นยารักษาโรค บำรุงร่างกาย เสริมความงาม รวมทั้งสามารถใช้เป็นยาสำหรับเด็กได้ด้วย Natural for Child ฉบับนี้จะพาคุณผู้อ่านย้อนอดีต ไปทำความรู้จักสมุนไพรไทย หรือยากลางบ้านกันค่ะ

สมุนไพร...ยาจากธรรมชาติ

คำว่า สมุนไพร คือ Herbs สามารถให้ความหมายได้หลายด้านนะคะ ถ้าเป็นทางพฤกษศาสตร์ หมายถึง พืชมีเมล็ดที่ไม่มีแก่นไม้และตาย เมื่อสิ้นสุดฤดูกาลปลูก แต่ถ้าใช้เกี่ยวกับอาหาร สมุนไพรจะหมายถึงเครื่องเทศ หรือผักที่ใช้แต่งกลิ่น รสชาติของอาหาร ซึ่งในวางการยา หมายถึง ยาที่มาจากพืช ส่วนในทางกฎหมาย สมุนไพรจะถูกจัดแบ่งแยกออกเป็นกลุ่มพิเศษ คือกลุ่มอาหารและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หากผลิตภัณฑ์สมุนไพรนั้น เกี่ยวข้องกับการวินิจฉัยโรคหรือป้องกันโรคจึงจะจัดเป็นยา สำหรับประเทศไทยนั้น สมุนไพร ตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ.2510 คือยาที่ได้จากพฤกษชาติ สัตว์ แร่ ซึ่งมิได้ผสม ปรุง หรือ แปรสภาพ แต่บรรพบุรุษไทยก็ใช้สมุนไพรเป็นอาหารและยามาตั้งแต่โบราณ เพราะสมุนไพรเป็นยารักษาโรคที่หาได้ง่ายจากธรรมชาติ ถ้าใช้ถูกวิธี ถูกอาการ ในปริมาณที่พอเหมาะ ก็จะรักษาโรคได้ดี มีผลข้างเคียงน้อยเนื่องจากเป็นยาที่มาจากธรรมชาติ รวมทั้งสมุนไพรบางชนิด เช่น ขิง ข่า ตะไคร้กะเพรา กระเทียม ก็เป็นอาหารที่เรารับประทานกันในชีวิตประจำวันด้วย

ใช้สมุนไพรกับลูกน้อยได้นะ

ปัจจุบันนี้เรามีการค้นคว้าวิจัย และมีการศึกษาจากหน่วยงานต่างๆ มากมาย พบว่า สมุนไพรสามารถใช้กับเด็กได้นะคะ และสมุนไพรที่ใช้ก็ไม่ใช่ชนิดที่หายากแบบที่ต้องไปเก็บตามป่าตามเขาเสียด้วย เพราะสมุนไพรในครัวเรือนที่หาง่าย ก็สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับเด็กได้ค่ะ เช่น เวลาเจ้าตัวเล็กหกล้มหัวโน คุณแม่ก็ไม่ต้องหายาที่ไหนไกล วิ่งเข้าไปในครัวหยิบมะนาวสักลูกแล้วผสมกับดินสอพอง ทาบริเวณหัวที่โน หรือบางทีที่อากาศเย็น เจ้าตัวเล็กเป็นหวัด...ฮัดเช้ย มีน้ำมูกไหล คุณแม่ลองหาหัวหอมแดงมาบุบให้แตกสักหน่อยแล้วห่อผ้าขาววางไว้พอเจ้าตัวเล็กเข้านอนก็นำไปวางไว้บนหัวนอน

หัวหอมนี่แหละค่ะที่จะทำให้ลูกน้อยหายใจคล่องขึ้น นอนหลับสบาย การใช้ยาสมุนไพรกับเด็กๆ ไม่แตกต่างกับการใช้กับผู้ใหญ่หรอกนะคะ แต่ต่างกันตรงที่อาจต้องลดปริมาณของตัวที่ใช้ในให้เหมาะสม และยาสมุนไพรก็ได้รับการยอมรับจากมูลนิธิสุขภาพไทย ว่าสามารถใช้กับเด็กได้ทุกวัยโดยไม่เกิดผลข้างเคียง เพราะบางครั้งการใช้ยาแผนปัจจุบันมากเกินไปก็อาจก่อให้เกิดสารตกค้างหรือผลข้างเคียงมากกว่าเสียอีก ดังนั้นสมุนไพรจึงเป็นทางเลือกหนึ่งในการรักษาโรคสำหรับคนยุคใหม่ค่ะ

ก่อนใช้สมุนไพรรักษาลูกน้อย

แม้ว่าสมุนไพรจะใช้รักษาโรคได้ดีและมีผลข้างเคียงน้อยกว่ายาแผนปัจจุบันที่เป็นสารเคมี แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า ยาสมุนไพรจะสามารถใช้รักษาได้ทุกโรค ทุกอาการ และยาสมุนไพรก็ยังมีข้อจำกัดในการรักษาด้วยค่ะ เช่น ถ้าใช้ยาสมุนไพรเพื่อรักษาอาการติดเชื้อในเด็กแล้ว แต่เมื่อเด็กมีไข้สูงมากหรือมีอาการแทรกซ้อนอื่นๆ ก็ควรรีบนำส่งโรงพยาบาล เพื่อให้คุณหมอรักษาแบบแผนปัจจุบัน หรือเด็กที่มีอาการเลือดน้อย เลือดจาง เพราะขาดสารอาหารอย่างรุนแรง ก็อาจต้องใช้วิธีรักษาแบบแผนปัจจุบันเพราะยาสมุนไพรไม่สามารถรักษาอาการนี้ได้ ดังนั้นคุณแม่อาจต้องศึกษาการเลือกใช้ยาสมุนไพรกับลูกสักนิดนะคะ อาจใช้ยาสมุนไพรกับลูกในกรณีที่ลูกไม่ได้ป่วยมาก โดยใช้สมุนไพรที่หาง่ายและวิธีการที่ไม่ยุ่งยากนักและไม่เสี่ยงต่อการเกิดอันตรายกับเด็กๆ ส่วนอาการใดที่ดูแล้วไม่น่าไว้วางไว้ใจ ก็ควรจะรีบปรึกษาแพทย์แผนปัจจุบันดีกว่าค่ะ เพื่อสุขภาพที่ดีของลูกน้อยสำหรับอาการป่วยเล็กๆ น้อยๆ ที่สามารถใช้ยาสมุนไพรในครัวเรือนรักษาได้ง่ายๆ เช่น เป็นหวัด คัดจมูก ไอ เจ็บคอ ลิ้นเป็นฝ้า ผื่นคัน ผื่นผ้าอ้อม บวม ฟกช้ำ ปวดท้อง ปวดฟัน อาการเหล่านี้ถ้าเป็นไม่มากนัก คุณแม่ก็สามารถวินิจฉัยอาการของลูกได้ จากการสังเกต หรือพูดคุยถามอาการ คุณแม่อาจใช้สมุนไพรในครัวเรือนเป็นทางเลือกหนึ่งในการบรรเทาอาการได้ค่ะ








ขอขอบคุณที่มา : นิตยสารบันทึกคุณแม่
      คัดลอกจาก : http://www.elib-online.com/doctors48/child_herb001.html
                          ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต















 
๏ปฟ












เธซเธ™เน‰เธฒเนเธฃเธ | เน€เธเธตเนˆเธขเธงเธเธฑเธšเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธ„เธฃเธทเธญเธ‚เนˆเธฒเธขเนเธฅเธฐเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธ–เธดเธ•เธด | เธเธฒเธฃเธˆเธฑเธ”เธเธฒเธฃเธ„เธงเธฒเธกเธฃเธนเน‰ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ•เธดเธ”เธ•เนˆเธญเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธˆเน‰เธฒเธซเธ™เน‰เธฒเธ—เธตเนˆเธ”เธนเนเธฅเธฃเธฐเธšเธš
เนเธ™เธฐเธ™เธณเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เนˆเธฒเธงเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เน€เธเธฒเธฐเธ•เธดเธ”เธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธกเน€เธ”เนˆเธ™ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™เธ—เธตเนˆเน€เธเธตเนˆเธขเธงเธ‚เน‰เธญเธ‡ | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™| เธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™เธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž| เธเน‰เธฒเธงเนƒเธซเธกเนˆเธเธฑเธš HISO | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธžเธ›เธฃเธฐเน€เธ—เธจเน„เธ—เธข
เธเธฒเธฃเธงเธดเน€เธ„เธฃเธฒเธฐเธซเนŒเธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เน€เธฃเธทเนˆเธญเธ‡เน€เธฅเนˆเธฒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธทเนˆเธญเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เนเธšเธšเธชเธณเธฃเธงเธˆเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | webbord | เธ„เธณเธ–เธฒเธกเธ—เธตเนˆเธžเธšเธšเนˆเธญเธข | เธชเธกเธธเธ”เน€เธขเธตเนˆเธขเธกเธŠเธก | เธšเธฃเธดเธเธฒเธฃเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅ