เรื่องเล่าข่าวสุขภาพ | สมรรถภาพร่างกาย | สุขภาวะทางจิต | สุขภาพกับความงาม | สื่อกับสุขภาพ | สมุนไพรเพื่อสุขภาพ | ธรรมะกับสุขภาพ






' ดีปลี ' รสเผ็ดกินดี-เป็นยา




 

พอพูดถึง "ดีปลี" คนปักษ์ใต้มักเข้าใจว่า "พริกขี้หนู" แต่ที่หมายถึง "ดีปลี" ที่เป็นไม้เลื่อย ทางภาคใต้เรียกว่า "ดีปลีเชือก" มีรากออกตามข้อสำหรับเกาะและพาดพันสิ่งอื่น เถา เป็นไม้เนื้อแข็งมีข้อโป่งนูน ส่วนของลำต้นค่อนข้างกลมและเรียบ แตกกิ่งก้านสาขามาก พืชชนิดนี้จัดอยู่ในลักษณะวงศ์ "PIPERACEAE" มีสรรพคุณทางยาไทยหลายอย่าง

คนสมัยก่อนจะนำ "ดีปลี" ใช้ในการปรุงเป็นอาหาร คือผลสุก มีรสเผ็ดร้อนใช้เป็นเครื่องเทศแต่งกลิ่นอาหาร ผลอ่อนรับประทานเป็นผักได้

ทางใต้ จะใช้ผลสุกตากแห้งเป็นเครื่องเทศประกอบอาหาร เช่น แกงคั่ว แกงเผ็ด เป็นการดับกลิ่นคาว ในบางท้องถิ่นใช้แต่งกลิ่นผักดอง และช่วยถนอมอาหารมิให้เกิดการบูดเน่า หรือ บางพื้นที่นำมาป่นเป็นผง นำไปปนปลอมในพริกไทยดำ ส่วนลูกอ่อนชาวใต้รับประทานเป็น ผักสด

...ใบ...เป็นใบเดี่ยวออกสลับตัว รูปทรงรีเรียวยาว แต่ขอบในหนา ปลายและโคนใบแหลมเนื้อโคนใบสองข้าง ไม่เท่ากันดูเบี้ยว

...ดอก...ออกเป็นช่อตรงกันข้ามกับใบ มีลักษณะเป็นแท่ง ปลายเรียวมน

...ผล...มีขนาดเล็กกลม ฝังตัวแน่น อยู่กับแกนช่อดอก ผลอ่อนสีเขียว พอแก่จัดจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล และพอสุก เต็มเป็นสีแดง


พืชชนิดนี้ตามตำรายาไทยมีสรรพคุณหลายอย่าง อาทิ

เถา แก้เสมหะพิการ แก้ปวดฟัน ปวดท้อง จุกเสียด แก้ริดสีดวงทวาร แก้ลม ช่วยทำให้เจริญอาหาร

ใบ แก้เส้นสุมนา ดอกมีรสเผ็ดร้อน แก้ธาตุพิการ แก้ท้องร่วง ขับลมในลำไส้ แก้หืด หอบ แก้ลมวิงเวียน แก้ริดสีดวงทวาร แก้คุดทะราด เจริญอาหาร

ราก ใช้แก้เส้นอีมพฤกษ์อัมพาต ดับพิษปัตคาด แก้หืดหอบ แก้ลมวิงเวียน แก้เสมหะ แก้ปวดท้อง บำรุงธาตุ ซึ่งทั้งต้นของดีปลีนั้นล้วนแต่มีรสเผ็ดร้อน

วิธีการใช้ คือ หากใช้แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ และปวดท้อง แก้อาการคลื่นไส้อาเจียนที่เกิดธาตุไม่ปกติ โดยใช้ดอกแก่ 1 กำมือ หรือประมาณ 10-15 ดอก ต้มเอาน้ำดื่มถ้าไม่มีดอกให้ใช้เถาต้มแทนได้

ใช้บรรเทาอาการไอและขับเสมหะ ใช้ดอกแก่แห้ง หรือช่อผลแก่แห้งประมาณ 1/2 กำมือ ฝนกับน้ำมะนาวแทรกเกลือ กวาดคอหรือจิบบ่อยๆ








ขอขอบคุณที่มา : http://www.samunpri.com
                          ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต













 
๏ปฟ












เธซเธ™เน‰เธฒเนเธฃเธ | เน€เธเธตเนˆเธขเธงเธเธฑเธšเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธ„เธฃเธทเธญเธ‚เนˆเธฒเธขเนเธฅเธฐเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธ–เธดเธ•เธด | เธเธฒเธฃเธˆเธฑเธ”เธเธฒเธฃเธ„เธงเธฒเธกเธฃเธนเน‰ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ•เธดเธ”เธ•เนˆเธญเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธˆเน‰เธฒเธซเธ™เน‰เธฒเธ—เธตเนˆเธ”เธนเนเธฅเธฃเธฐเธšเธš
เนเธ™เธฐเธ™เธณเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เนˆเธฒเธงเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เน€เธเธฒเธฐเธ•เธดเธ”เธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธกเน€เธ”เนˆเธ™ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™เธ—เธตเนˆเน€เธเธตเนˆเธขเธงเธ‚เน‰เธญเธ‡ | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™| เธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™เธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž| เธเน‰เธฒเธงเนƒเธซเธกเนˆเธเธฑเธš HISO | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธžเธ›เธฃเธฐเน€เธ—เธจเน„เธ—เธข
เธเธฒเธฃเธงเธดเน€เธ„เธฃเธฒเธฐเธซเนŒเธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เน€เธฃเธทเนˆเธญเธ‡เน€เธฅเนˆเธฒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธทเนˆเธญเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เนเธšเธšเธชเธณเธฃเธงเธˆเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | webbord | เธ„เธณเธ–เธฒเธกเธ—เธตเนˆเธžเธšเธšเนˆเธญเธข | เธชเธกเธธเธ”เน€เธขเธตเนˆเธขเธกเธŠเธก | เธšเธฃเธดเธเธฒเธฃเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅ