เรื่องเล่าข่าวสุขภาพ | สมรรถภาพร่างกาย | สุขภาวะทางจิต | สุขภาพกับความงาม | สื่อกับสุขภาพ | สมุนไพรเพื่อสุขภาพ | ธรรมะกับสุขภาพ






8 ประโยชน์มากมายในผักกาด




 

ผักกาด จัดเป็นผักประเภทกินใบ ได้แก่ ผักกาดขาว ผักกาดดำ ซึ่งถือว่าเป็นผักพื้นเมืองในไทย ดองได้อร่อยกว่าผักดองเปรี้ยวเค็มชนิดอื่น ผักกาดขาวปลีที่ชาวไร่ปลูกขายในโรงงาน ปรุงสดๆ จะขมเฝื่อน แต่ถ้าดองแล้วรสชาติดี กรอบไม่ยุ่ย เก็บไว้ได้นานไม่เสีย หากปลูกกันมาก จะมีราคาถูก ต่ำสุดอยู่ที่ กก.ละ 30 สตางค์ หากในหน้าแล้งปลูกน้อย ราคาจะแพงถึง กก.ละ 5 บาทเลยทีเดียว กะหล่ำปลีและผักกาดกวางตุ้งอยู่ในตระกูลเดียวกัน ปลูกกันมากที่สุดในประเทศจีน สามารถนำมาทำเป็นแกงผักกาดจอและทำมัสตาร์ดขายไปทั่ว คะน้า ก็เป็นผักกาดอย่างหนึ่ง เชื่อว่ามีส่วนช่วยในการเสริมสร้างกระดูกได้แข็งแรง และผักกาดโสภณ หรือผักฮ่องเต้ จะมีราคาแพงหน่อย แต่ก็มีสารอาหารพอๆ กัน

ผักกาดกินดอก เช่น กะหล่ำดอก ในทางวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบแล้วว่า อุดมไปด้วยสารต่างๆ ที่ช่วยป้องกันการเกิดเซลล์มะเร็ง คนไทยในอดีต จึงคั้นเอาแต่น้ำสดๆ อมกลั้วคอ รักษาอาการร้อนใน และทารักษาโรคเรื้อนกวาง บร็อคโคลี่ ก็นับว่าเป็นตระกูลเดียวกับผักกาด มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กะหล่ำดอกอิตาเลียน

ผักทั้ง 2 ชนิดนี้ ดอกกะหล่ำสวยๆ ขาวๆ ชาวสวนจะใช้ยาฆ่าแมลงและยากันเชื้อราฉีดลงไปทุกๆ วันนกว่าจะตัดขาย ซึ่งถ้าไม่ทำเช่นนั้นแล้ว ผักก็จะถูกหนอนเจาะ และเชื้อดำระบาดบนดอก ซึ่งจะต้องหมั่นล้างและแช่ผักเพื่อให้สารเคมีของยาฆ่าแมลงหมดไป บร็อคโคลี่ กินได้สบายปาก แมลงมักไม่ค่อยะมารังควานเท่าไหร่นัก อีกทั้งยังไม่เป็นที่นิยมรับประทานกันสักเท่าไหร่ จึงปลูกน้อย รวมทั้งปลูกให้ดูดีก็ยาก เพราะชอบอากาศที่หนาวเย็นมาก

ผักอีกอย่างที่อยู่ในตระกูลเดียวกับผักกาด ก็คือ หัวผักกาด ซึ่งกินแต่ส่วนหัว เช่น นำมาทำแกงจืด แกงส้ม หัวไชเท้า และดองไชโป๊หวาน และโหระพา ซึ่งเด็ดเอาแต่ใบ ล้างและแช่น้ำให้สดและกรอบ

สำหรับคุณค่าอาหารในผักกาด ที่เก็บมาฝากก็มีดังต่อไปนี้ บร็อคโคลี่ ซึ่งมีพลังงานมากกว่าผักชนิดอื่นๆ รองลงมา ก็คือ คะน้า หัวไชโป๊ กะหล่ำดอก ผักกาดขาวปลี(อีลุ้ย) และกวางตุ้ง ส่วนผักกาดหอม(ผักสลัด) ผักกาดแก้วที่ปลูกบนดอยสูง กับผักกาดนกเขา ไม่จัดเป็นผักในวงศ์เครือญาติของผักกาด ฝรั่งได้บอกว่า มันเป็นผักกาดปลอม

หากอยากจะทานผักกาดให้อร่อย ต้องปรุงให้สุกอย่างเร็ว โดยใส่ลงไปในน้ำเดือดจัดๆ ประมาณ 3 นาที ยกลงออกจากเตา หรือผัดด้วยไฟแรง และถ้าต้องการทำสลัด ก็ฉีกด้วยมือ ผักจะสดกรอบดีกว่าหั่นมีด

นักวิทยาศาสตร์ เชื่อว่า ผักตระกูลผักกาด เป็นผักที่รักษาโรคครอบจักรวาล จึงแนะนำให้รับประทานผักอยู่เสมอ ซึ่งจะช่วยป้องกันกระดูกพรุน หูตาที่ฝ้ามัว ป้องกันมะเร็ง หรือกินคะน้าที่สร้างเสริมกระดูกให้แข็งแรง จึงขึ้นชื่อว่า ผักสร้างกระดูก สารสำคัญที่พบในผักเหล่านี้ ก็คือ ซันโฟราเฟน (sulforaphane) สารผลึกอินโดลส์ (indoles) กรดธรรมชาติโฟลิก (folic acid) และกำมะถัน (sulphur)

แพทย์แผนไทยโบราณ ได้จัดผักกาดเป็นสมุนไพร ซึ่งสามารถนำผักจำพวกผักกาดต้มน้ำ ดื่มแก้เจ็บคอ หยดเป็นยาล้างแผลเรื้อรัง หอบหืด อีกวิธีหนึ่งคือ บดผักกาดหรือกวางตุ้ง คั้นเอาแต่น้ำ1 ถ้วย เทลงไปในน้ำเดือดจัด 2 ช้อนโต๊ะตั้งบนไฟ รีบยกออก ทิ้งไว้ให้อุ่น ดื่มแทนน้ำเสริมพลังงาน ลดอาการแก่ชราที่ความจำไม่ค่อยดีได้ ซึ่งเป็นแบบอย่างของจีน

จีน เป็นชาติที่น่านับถือในเรื่องการดูแลสุขภาพ เห็นว่ามีการตั้งโรงงานผลิตน้ำผักกาดสกัดเป็นแคบซูลขาย ซึ่งเป็นอาหารเสริม นับว่าสะดวกอย่างมาก

เราสามารถลวกใบผักกาดขาว ตัดเป็นชิ้นๆ โรยกับเกลือ น้ำส้ม น้ำตาล เหยาะน้ำมันงาบริสุทธิ์ 1 ช้อนชา หมักประมาณ 10 นาที ทานกับข้าวต้มทุกวัน จะฟื้นตัวจากไวรัสตับอักเสบบีได้รวดเร็ว

สำหรับผักกาดเขียวปลี ครึ่งกก. เต้าหู้ขาว 3 ชิ้น มะขามป้อมลูกโต 8 ลูก ขิงสดแง่งใหญ่ นำไปต้มกับน้ำ 4 แก้ว ดื่มหลังอาหาร แก้อาการหวัดเย็นได้ อีกวิธีหนึ่ง คือ นำผักกาดเขียวปลี 1 กก.กับแห้วสดครึ่งกก. ต้มดื่มเป็นน้ำชา แล้วบีบมะนาวลงไปด้วย ช่วยขับปัสสาวะและลดความร้อนในร่างกาย ป้องกันโรคนิ่วได้

แต่ประโยชน์ของผักจะมีสูงสุด หากมีผักสวนครัวปลอดสารพิษ ที่เราสามารถใช้เวลาว่างปลูกเองได้ นับว่าดีทีเดียว








ขอขอบคุณที่มา : mcot
                          ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต













 
๏ปฟ












เธซเธ™เน‰เธฒเนเธฃเธ | เน€เธเธตเนˆเธขเธงเธเธฑเธšเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธ„เธฃเธทเธญเธ‚เนˆเธฒเธขเนเธฅเธฐเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธ–เธดเธ•เธด | เธเธฒเธฃเธˆเธฑเธ”เธเธฒเธฃเธ„เธงเธฒเธกเธฃเธนเน‰ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ•เธดเธ”เธ•เนˆเธญเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธˆเน‰เธฒเธซเธ™เน‰เธฒเธ—เธตเนˆเธ”เธนเนเธฅเธฃเธฐเธšเธš
เนเธ™เธฐเธ™เธณเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เนˆเธฒเธงเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เน€เธเธฒเธฐเธ•เธดเธ”เธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธกเน€เธ”เนˆเธ™ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™เธ—เธตเนˆเน€เธเธตเนˆเธขเธงเธ‚เน‰เธญเธ‡ | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™| เธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™เธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž| เธเน‰เธฒเธงเนƒเธซเธกเนˆเธเธฑเธš HISO | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธžเธ›เธฃเธฐเน€เธ—เธจเน„เธ—เธข
เธเธฒเธฃเธงเธดเน€เธ„เธฃเธฒเธฐเธซเนŒเธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เน€เธฃเธทเนˆเธญเธ‡เน€เธฅเนˆเธฒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธทเนˆเธญเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เนเธšเธšเธชเธณเธฃเธงเธˆเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | webbord | เธ„เธณเธ–เธฒเธกเธ—เธตเนˆเธžเธšเธšเนˆเธญเธข | เธชเธกเธธเธ”เน€เธขเธตเนˆเธขเธกเธŠเธก | เธšเธฃเธดเธเธฒเธฃเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅ