เรื่องเล่าข่าวสุขภาพ | สมรรถภาพร่างกาย | สุขภาวะทางจิต | สุขภาพกับความงาม | สื่อกับสุขภาพ | สมุนไพรเพื่อสุขภาพ | ธรรมะกับสุขภาพ






พบ"ผักติ้ว"สามารถสกัดเป็นสารต้านอนุมูลอิสระยับยั้งการหืนได้




 

วิจัยพบผักจิ้มน้ำพริก กระถิน ติ้ว หมาก พลู มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับวิตามินอี คือ เป็นสารกันหืนได้ โดยจากการวิจัยพบว่า หนึ่งในนั้นคือ ผักติ้ว ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมมากที่สุด นางพิชญ์อร ไหมสุทธิสกุล นักศึกษาโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (คปก.) คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศึกษาพบว่า “ติ้ว” ซึ่งเป็นพืชผักธรรมชาติที่หาซื้อได้ตามท้องตลาดสามารถนำมาสกัดเป็นสารกันหืนในอาหารได้ผลดี ปลอดภัย และราคาถูก หากสามารถนำไปต่อยอดเชิงการค้าทั้งในส่วนของอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องสำอางจะช่วยเพิ่มมูลค่าสินค้าและลดการนำเข้าจากต่างประเทศ โดยสารกันหืนที่ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารขณะนี้เป็นสารกันหืนสังเคราะห์อัลฟา โทคอฟรีรอล ซึ่งเป็นสารประเภทวิตามินอี มีคุณสมบัติกำจัดอนุมูลอิสระได้


แต่เมื่อนำมาทำการทดลองวัดหาค่าการต้านอนุมูลอิสระแล้วพบว่า “ติ้ว” สามารถยับยั้งการหืนของขนมขบเคี้ยวได้ดีกว่าสารสังเคราะห์ ทดลองด้วยการเคลือบสารสกัดจากติ้วบนขนม แล้วนำมาให้กลุ่มตัวอย่างรับประทาน พบว่า ฟีนอลิกจาก “ติ้ว” สามารถป้องกันการหืนบนขนมได้ดีกว่าอัลฟา โทคอฟรีรอล ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ
สังเคราะห์



สำหรับสารฟีนอลิก ซึ่งใช้ต้านอนุมูลอิสระพบในพืชที่เกิดในบริเวณที่มีแสงแดดมากและพืชเมืองร้อนก็จะสร้างสารฟีนอลิก ออกมาได้มากกว่าบริเวณที่ไม่มีแดดซึ่งเหมาะกับประเทศไทย โดยสารฟีนอลิก พบมากในผักที่รับประทานกับน้ำพริก เช่น ติ้ว กระโดน กระถิน และพวกหมาก พลู สีเสียด และพืชที่ผลิตไวน์ เช่น ลูกหว้า มะเม่า มะเกลี้ยง เป็นต้น ทั้งนี้ งานวิจัยดังกล่าวสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ แต่ต้องทำการทดสอบความเป็นพิษก่อน ซึ่งถ้าสามารถพิสูจน์ได้ว่าไม่มีพิษก็จะสามารถนำมาผลิตในเชิงการค้าได้ทันที เนื่องจากในพืชบางชนิดยังพบว่ามีสารก่อมะเร็งรวมอยู่ด้วย เช่น กลุ่มของหมาก


อย่างไรก็ดี หากมีการต่อยอดจนสามารถผลิตสารสกัดติ้วในเชิงพาณิชย์ได้ก็จะช่วยลดอัตราการนำเข้าของสารสกัดพืชจากต่างประเทศ และช่วยเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรไทยด้วย








ขอขอบคุณที่มา : หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
                          ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต













 
๏ปฟ












เธซเธ™เน‰เธฒเนเธฃเธ | เน€เธเธตเนˆเธขเธงเธเธฑเธšเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธ„เธฃเธทเธญเธ‚เนˆเธฒเธขเนเธฅเธฐเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธ–เธดเธ•เธด | เธเธฒเธฃเธˆเธฑเธ”เธเธฒเธฃเธ„เธงเธฒเธกเธฃเธนเน‰ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ•เธดเธ”เธ•เนˆเธญเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธˆเน‰เธฒเธซเธ™เน‰เธฒเธ—เธตเนˆเธ”เธนเนเธฅเธฃเธฐเธšเธš
เนเธ™เธฐเธ™เธณเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เนˆเธฒเธงเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เน€เธเธฒเธฐเธ•เธดเธ”เธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธกเน€เธ”เนˆเธ™ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™เธ—เธตเนˆเน€เธเธตเนˆเธขเธงเธ‚เน‰เธญเธ‡ | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™| เธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™เธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž| เธเน‰เธฒเธงเนƒเธซเธกเนˆเธเธฑเธš HISO | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธžเธ›เธฃเธฐเน€เธ—เธจเน„เธ—เธข
เธเธฒเธฃเธงเธดเน€เธ„เธฃเธฒเธฐเธซเนŒเธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เน€เธฃเธทเนˆเธญเธ‡เน€เธฅเนˆเธฒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธทเนˆเธญเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เนเธšเธšเธชเธณเธฃเธงเธˆเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | webbord | เธ„เธณเธ–เธฒเธกเธ—เธตเนˆเธžเธšเธšเนˆเธญเธข | เธชเธกเธธเธ”เน€เธขเธตเนˆเธขเธกเธŠเธก | เธšเธฃเธดเธเธฒเธฃเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅ