เรื่องเล่าข่าวสุขภาพ | สมรรถภาพร่างกาย | สุขภาวะทางจิต | สุขภาพกับความงาม | สื่อกับสุขภาพ | สมุนไพรเพื่อสุขภาพ | ธรรมะกับสุขภาพ






พบ แมงลักคา รักษาหวัดใหญ่




 
วงการแพทย์ไทยทำสำเร็จ พบ "แมงลักคา" หรือ "อีตู่ป่า" เป็นสมุนไพรรักษาไข้หวัดใหญ่ เผยทดลองกับสัตว์และคนไข้มานานกว่า 1 ปี ได้ผลดีในระดับปฏิบัติการ เตรียมผลิตเป็นยาแคปซูลหลังทดลองระยะที่ 3 เสร็จในเร็วๆ นี้


เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม น.พ.สุชัย เจริญรัตนกุล รมว.สาธารณสุข เป็นประธานเปิดศูนย์ตรวจสอบและรับรองคุณภาพสมุนไพร เพื่อเร่งรัดการพัฒนาอุตสาหกรรมสมุนไพรไทยและมอบเครื่องหมายรับรองคุณภาพให้แก่เกษตรกร โรงพยาบาล และหน่วยงานของรัฐ 33 ราย พร้อมลงนามในความร่วมมือกับสมาคมผู้ผลิตยาสมุนไพร เพื่อพัฒนาคุณภาพวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทย รมว.สาธารณสุข เปิดเผยในงานนี้ว่า เป็นความสำเร็จของวงการแพทย์ไทยที่สามารถวิจัยสมุนไพรเพื่อรักษาไข้หวัดใหญ่ ไฟโต-1 (Phyto-1) ซึ่งสถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ วิจัยหลังพบว่า การระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ทุกครั้งจะต้องใช้ยาต้านไวรัสจากต่างประเทศที่มีราคาแพง กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จึงได้ทดลองใช้สมุนไพรในการรักษาไข้หวัดใหญ่ ซึ่งจากการทดลองพบว่า สมุนไพรไฟโต-1 สามารถฆ่าเชื้อไข้หวัดใหญ่ได้ในระดับห้องปฏิบัติการ "การใช้สมุนไพรชนิดนี้ จะใช้ในความเข้มข้นของสมุนไพรไฟโต-1 ในขนาด 5 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร ซึ่งสามารถลดเชื้อไข้หวัดใหญ่ลงได้ถึง 93% โดยไม่พบความเป็นพิษหรืออันตรายจากการทดลองในสัตว์ทดลองและผลการทดลองระยะที่ 1 ซึ่งเป็นการทดลองในมนุษย์ 10 คน ก็พบว่าปลอดภัย ไม่พบผลข้างเคียง ซึ่งจะมีการทดลองในระยะที่ 2 และระยะที่ 3 ต่อไป"


น.พ.สุชัย กล่าว ด้าน น.พ.ไพจิตร วราชิต อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์มีคลังเก็บเชื้อไข้หวัดใหญ่และไข้หวัดนกจำนวนมาก ซึ่งเมื่อนำมาใช้ในการทดลองสุมนไพรไทยตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข พบว่าในส่วนของสมุนไพรไฟโต-1 ซึ่งประกอบด้วยส่วนประกอบหลัก คือแมงลักคา
และส่วนประกอบอื่นๆ นั้น กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้นำไปจดสิทธิบัตรยาไว้แล้ว "การทดลองในระยะที่ 1 ที่ผ่านมา พบว่ามีความปลอดภัยทั้งในสัตว์ทดลองและในมนุษย์ก็ไม่มีผลข้างเคียง ซึ่งกรมได้วางแผนที่จะวิจัยทางคลินิกในระยะที่ 2 เพื่อดูประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อในมนุษย์ให้มากขึ้น โดยคาดว่าจะใช้อาสาสมัคร 400-500 คน และจากนั้นจะมีการวิจัยในระยะที่ 3 ซึ่งคาดว่าจะใช้อาสาสมัคร 1,000 คนขึ้นไป และหลังจากที่ทำการทดลองเสร็จแล้ว ก็คาดว่าจะผลิตสมุนไพรไฟโต-1 ออกมาเป็นยาแคปซูล" อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าว



ด้านนางปราณี ชวลิตธำรง ผอ.สถาบันวิจัยสมุนไพร กล่าวว่า สถาบันได้ทดลองใช้สมุนไพรดังกล่าวเพื่อหาสรรพคุณทางยาในการรักษาโรคมาประมาณ 5 ปีแล้ว แต่เพิ่งทดลองใช้กับไวรัสไข้หวัดใหญ่และไข้หวัดนกเมื่อ 1 ปีที่ผ่านมานี้ หลังจากที่องค์การอนามัยโลก ระบุว่าไข้หวัดใหญ่จะมีการระบาดครั้งใหญ่ในช่วง 1-2 ปีจากนี้ไป "จากการทดลองก็พบว่าสมุนไพรไฟโต-1 ได้ผลดีในการฆ่าเชื้อไข้หวัดใหญ่ ส่วนไข้หวัดนกนั้นอยู่ระหว่างดำเนินการทดลอง ซึ่งจากนี้ไปจะมีการทดลองทางคลินิกในเฟสที่ 2 ซึ่งเป็นการทดลองในมนุษย์ประมาณ 400-500 คน คาดว่า 1-2 ปี จะสามารถสรุปผลได้ แต่หลังจากการทดลองได้ประมาณ 40-50 คน ก็น่าจะได้แนวทางว่าจะมีประสิทธิภาพหรือไม่ภายใน 7-8 เดือน" นางปราณี กล่าว ทั้งนี้ แมงลักคา หรืออีตู่ป่า มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ว่า Hyptis suaveolens Poit. อยู่ในวงศ์ LAMIACEAE มีลักษณะเป็นไม้ล้มลุกถึงไม้พุ่มเตี้ย สูงถึง 2 เมตร ลำต้นอ่อนมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยม มีขนปกคลุมทั่วลำต้นโดยเฉพาะที่ยอดอ่อน ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงตัวตรงข้าม ก้านใบยาว 0.5-5 ซม. ใบรูปไข่หรือรูปรี โคนใบเว้าเข้าเป็นร่องรูปหัวใจ ปลายใบแหลม ขอบใบหยัก ผิวใบมีขนสากมือ ใบกว้าง 1-6 ซม. ยาว 1.5-7.5 ซม. ก้านใบและใบอ่อนมีขนปกคลุม ใบและส่วนต่างๆ ของต้นมีกลิ่นฉุน








ขอขอบคุณที่มา : ศูนย์ข้อมูลสมุนไพร สถาบันวิจัยสมุนไพร
                          กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
                          ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต













 
๏ปฟ












เธซเธ™เน‰เธฒเนเธฃเธ | เน€เธเธตเนˆเธขเธงเธเธฑเธšเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธ„เธฃเธทเธญเธ‚เนˆเธฒเธขเนเธฅเธฐเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธ–เธดเธ•เธด | เธเธฒเธฃเธˆเธฑเธ”เธเธฒเธฃเธ„เธงเธฒเธกเธฃเธนเน‰ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ•เธดเธ”เธ•เนˆเธญเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธˆเน‰เธฒเธซเธ™เน‰เธฒเธ—เธตเนˆเธ”เธนเนเธฅเธฃเธฐเธšเธš
เนเธ™เธฐเธ™เธณเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เนˆเธฒเธงเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เน€เธเธฒเธฐเธ•เธดเธ”เธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธกเน€เธ”เนˆเธ™ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™เธ—เธตเนˆเน€เธเธตเนˆเธขเธงเธ‚เน‰เธญเธ‡ | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™| เธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™เธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž| เธเน‰เธฒเธงเนƒเธซเธกเนˆเธเธฑเธš HISO | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธžเธ›เธฃเธฐเน€เธ—เธจเน„เธ—เธข
เธเธฒเธฃเธงเธดเน€เธ„เธฃเธฒเธฐเธซเนŒเธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เน€เธฃเธทเนˆเธญเธ‡เน€เธฅเนˆเธฒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธทเนˆเธญเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เนเธšเธšเธชเธณเธฃเธงเธˆเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | webbord | เธ„เธณเธ–เธฒเธกเธ—เธตเนˆเธžเธšเธšเนˆเธญเธข | เธชเธกเธธเธ”เน€เธขเธตเนˆเธขเธกเธŠเธก | เธšเธฃเธดเธเธฒเธฃเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅ