เรื่องเล่าข่าวสุขภาพ | สมรรถภาพร่างกาย | สุขภาวะทางจิต | สุขภาพกับความงาม | สื่อกับสุขภาพ | สมุนไพรเพื่อสุขภาพ | ธรรมะกับสุขภาพ






กระเจี๊ยบแดง อาหารและยาสำหรับโรคทันสมัย : ความดัน คอเลสเตอรอล




 

                 กระเจี๊ยบแดงเป็นสมุนไพรที่คนไทยคุ้นเคยกันดี น้ำกระเจี๊ยบสีสวย เปรี้ยวหวานหอม กินแล้วสดชื่นดีจัง กระเจี๊ยบเป็นพืชเขตร้อน ที่พบได้ในหลายประเทศ กลีบเลี้ยงของดอกกระเจี๊ยบเป็นสมุนไพรที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย ในทุกประเทศที่มีกระเจี๊ยบ

                 ใบอ่อน ยอดอ่อนของกระเจี๊ยบสามารถรับประทานเป็นอาหารได้ โดยใช้ใส่ในแกงแต่งรสเปรี้ยว ใช้แต่งกลิ่น หรือรับประทานเป็นผักสด ลำต้นของกระเจี๊ยบยังสามารถใช้ทำเป็นเชือกปอได้ดีระดับหนึ่ง ดอกกระเจี๊ยบมีสีแดงโดยทั่วไปใช้แต่งสีในอาหาร ในไวน์ ในน้ำหวาน

                 ประเทศต่างๆ ที่ใช้กระเจี๊ยบเป็นยา เช่น ในแอฟริกาใต้ใช้เมล็ดกระเจี๊ยบต้มกิน เป็นยาขับปัสสาวะ และเป็นยาบำรุง และใช้น้ำมันจากเมล็ดรักษาแผลให้อูฐ ในแอฟริกาตะวันออกใช้ใบต้มน้ำกินแก้ไอ ลดความดันโลหิตสูง ขับปัสสาวะ ลดคอเลสเตอรอล ลดความหนืดของเลือด ขับพยาธิ

                 ในอียิปต์ ใช้กลีบเลี้ยงต้มกินกับน้ำตาลวันละสามเวลา ใช้รักษาความดันโลหิตสูง ใช้ทั้งต้นต้มกินรักษาโรคหัวใจและโรคประสาท กินเป็นยาลดน้ำหนักเนื่องจากช่วยให้ระบายและยังใช้เป็นยาช่วยฆ่าเชื้อในลำไส้

                 ส่วนกัวเตมาลา ใช้น้ำตาลต้มกลีบเลี้ยงแห้งเป็นยาขับปัสสาวะ ยาลดการอักเสบของไต ในอินเดียและแม็กซิโกใช้กระเจี๊ยบเป็นยาเหมือนๆ กันและยังใช้กระเจี๊ยบในทางคล้ายๆ กัน คือ ใช้ใบต้มน้ำกินด้วยเชื่อว่าจะทำให้เลือดบริสุทธิ์ และใช้ตากแห้งต้มน้ำกินแก้ไอ

                 ในประเทศไทย ใช้ใบสดและกลีบเลี้ยงทั้งสดและแห้งของกระเจี๊ยบต้มกิน แก้ไอ แก้นิ่ว ลดไข้ ขับน้ำดี โดยใช้ใบสด 30-60 กรัม ต้มหรือแกงกิน ใช้กลีบเลี้ยงแห้ง 5-10 กรัม ต้มน้ำหรือชงน้ำร้อนกิน

                 การใช้ประโยชน์ทางยาของประเทศต่างๆ ที่กล่าวมา ประเด็นของการลดคอเลสเตอรอล กับลดความดันโลหิตสูงนั้นเป็นประเด็นที่น่าสนใจ สำหรับคนยุคนี้ เพราะเป็นโรคที่ไม่หายขาด เป็นโรคเรื้อรังที่ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของแพทย์

                 การที่จะต้องแสวงหาทางเลือกให้กับประชาชน เป็นสิ่งที่จะต้องช่วยๆ กันทำโดยเฉพาะการนำไปสู่การพึ่งตนเองด้านยา ทั้งในระดับครัวเรือน ระดับชุมชน และระดับประเทศ โดยเฉพาะประเทศไทยที่ไม่มีปัญญา ผลิตยาแผนปัจจุบันได้เอง และยาสมัยใหม่ที่รักษาโรคพวกนี้ก็แพงแสนแพง

                 ถ้าเราไม่คิดกระบวนการส่งเสริมสุขภาพป้องกัน ไม่ให้เป็นโรคนี้เสียแต่แรก อีกไม่นานเราต้องเป็นทาสต่างชาติแน่นอนเพราะต้องซื้อยาแพงๆ พวกนี้กิน ซึ่งสักวันหนึ่งคนไทยอาจต้องจ่ายค่ายามากกว่าค่าข้าว

                 การมองหาทางเลือกในการรักษาโรค โดยเฉพาะด้านสมุนไพร สำหรับโรคแห่งความทันสมัยนั้น เป็นสิ่งจำเป็น กระเจี๊ยบนับว่าเป็นสมุนไพรที่น่าสนใจตัวเหนึ่ง เพราะจากการศึกษาทางวิทยาศาสตร์พบว่า การทดลองในหนูโดยใช้กลีบเลี้ยงแห้ง ในความเข้มข้น 5% ของอาหารที่เลี้ยงหนูนั้น สามารถลดคอเลสเตอรอลได้ ในความเข้มข้นของกลีบเลี้ยงกระเจี๊ยบ ในอาหารที่เท่ากัน คือ 5% นั้นยังสามารถลดไขมัน ลดไตรกลีเซอไรด์ในหนูได้เช่นกัน

                 นอกจากนั้นยังพบว่า จากการทดลองในแมว สารสกัดด้วยน้ำของกลีบเลี้ยงกระเจี๊ยบ เมื่อฉีดเข้าเส้นแล้ว มีฤทธิ์ลดความดัน ส่วนน้ำต้มจากการทดลองให้คนกิน สามารถลดความดันโลหิตได้ และมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ โดยทำการทดลองในหนู เมื่อใช้น้ำต้มกลีบเลี้ยงในขนาด 1 กรัมต่อน้ำหนักตัวหนึ่งกิโลกรัม สามารถเป็นยาขับปัสสาวะที่แรงมาก และในขนาดที่เท่ากันนี้สามารถขับยูริคได้ดีในหนูเช่นกัน และน้ำต้มจากดอกทดลอง ในคนสามารถเป็นยาขับปัสสาวะ เป็นยาลดความดันโลหิตสูง เป็นยาลดการอักเสบของระบบทางเดินปัสสาวะ ภายหลังการผ่าตัดผู้สูงอายุที่เป็นนิ่วในไต ได้

                 ส่วนสารสกัดจากกลีบดอกของกระเจี๊ยบนั้น ช่วยระบายทำให้อุจจาระนุ่มขึ้น ช่วยลดอาการบวม ช่วยยับยั้งการสร้างอะฟลาท๊อกซิน ช่วยปกป้องไม่ให้ตับถูกทำลาย นอกจากนี้ยังมีคล้ายฤทธิ์ฮอร์โมนเอสโตรเจนในเพศหญิง ซึ่งอาจจะเป็นประโยชน์ต่อสตรีวัยทอง

                 ส่วนความเป็นพิษนั้น พบว่า การที่ทำให้หนูตายครึ่งหนึ่งนั้น ต้องกินน้ำสกัดกระเจี๊ยบ 129.1 กรัมต่อน้ำหนักหนูหนึ่งกิโลกรัม คือ ถ้าเปรียบเทียบกับให้คนกินแล้ว คนหนักประมาณ 60 กิโลกรัมจะต้องกินกระเจี๊ยบประมาณ 7.8 กิโลกรัม คิดว่าคนทั่วไปคงไม่มีปัญญากินอยู่แล้วล่ะ เพราะท้องจะแตกตายก่อนที่จะเป็นพิษ
จากกระเจี๊ยบ

                 ดังนั้น แนวโน้มของกระเจี๊ยบ จึงมีแนวโน้มที่จะลดความดันโลหิต ลดคอเลสเตอรอลได้ ขับยูริคได้ จึงควรมีพัฒนาการปลูกกระเจี๊ยบ เพื่อให้ได้กระเจี๊ยบที่ดีมีสารสำคัญสูง มีการศึกษาวิจัยทางคลินิก เพื่อหาขนาดการกินที่แน่นอนในคน ถือเป็นสิ่งที่ท้าทายนักวิจัยอย่างมาก

                 ในภาคประชาชน การที่เราจะช่วยกันปลูกกระเจี๊ยบกินเป็นผัก เป็นยา เป็นชาบำรุงสุขภาพ ตามแนวโน้มของสรรพคุณที่ได้กล่าวมาแล้ว ก็จะเป็นการมีส่วนร่วมในการฟื้นฟูการใช้สมุนไพรของประเทศ ดอกกระเจี๊ยบก็สวยงาม ดูแล้วสดชื่นสบายใจ นอกจากนี้ในบางประเทศยังเชื่อว่า ดอกกระเจี๊ยบสีแดงเป็นสีแห่งพลังและความรัก

                 ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hibiscus sabdariffa L.








ขอขอบคุณที่มา : http://advisor.anamai.moph.go.th/hph/herbs/herbindex.html
                          ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต













 
๏ปฟ












เธซเธ™เน‰เธฒเนเธฃเธ | เน€เธเธตเนˆเธขเธงเธเธฑเธšเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธ„เธฃเธทเธญเธ‚เนˆเธฒเธขเนเธฅเธฐเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธ–เธดเธ•เธด | เธเธฒเธฃเธˆเธฑเธ”เธเธฒเธฃเธ„เธงเธฒเธกเธฃเธนเน‰ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ•เธดเธ”เธ•เนˆเธญเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธˆเน‰เธฒเธซเธ™เน‰เธฒเธ—เธตเนˆเธ”เธนเนเธฅเธฃเธฐเธšเธš
เนเธ™เธฐเธ™เธณเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เนˆเธฒเธงเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เน€เธเธฒเธฐเธ•เธดเธ”เธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธกเน€เธ”เนˆเธ™ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™เธ—เธตเนˆเน€เธเธตเนˆเธขเธงเธ‚เน‰เธญเธ‡ | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™| เธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™เธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž| เธเน‰เธฒเธงเนƒเธซเธกเนˆเธเธฑเธš HISO | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธžเธ›เธฃเธฐเน€เธ—เธจเน„เธ—เธข
เธเธฒเธฃเธงเธดเน€เธ„เธฃเธฒเธฐเธซเนŒเธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เน€เธฃเธทเนˆเธญเธ‡เน€เธฅเนˆเธฒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธทเนˆเธญเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เนเธšเธšเธชเธณเธฃเธงเธˆเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | webbord | เธ„เธณเธ–เธฒเธกเธ—เธตเนˆเธžเธšเธšเนˆเธญเธข | เธชเธกเธธเธ”เน€เธขเธตเนˆเธขเธกเธŠเธก | เธšเธฃเธดเธเธฒเธฃเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅ