เรื่องเล่าข่าวสุขภาพ | สมรรถภาพร่างกาย | สุขภาวะทางจิต | สุขภาพกับความงาม | สื่อกับสุขภาพ | สมุนไพรเพื่อสุขภาพ | ธรรมะกับสุขภาพ






สมุนไพรกับการเรียนรู้




 

ความหมายของสมุนไพร

           สมุนไพร หมายถึง พืชที่ใช้ทำเป็นเครื่องยา ส่วนยาสมุนไพร หมายถึง ยาที่ได้จากส่วนของพืช สัตว์และแร่ ซึ่งยังมิได้ผสมปรุงหรือแปรสภาพ ส่วนการนำมาใช้อาจดัดแปลงรูปลักษณะ
ของสมุนไพรให้ใช้ได้สะดวกขึ้น เช่นนำมาหั่นให้มีขนาดเล็กลง หรือนำมาบดเป็นผง เป็นต้น

           สมุนไพรนอกจากจนำมาใช้ประโยชน์เป็นยารักษาโรคแล้วยังสามารถนำมาใช้ประโยชน์ทางด้านอื่นๆอีก เช่นนำมาบริโภคเป็นอาหาร อาหารเสริมสุขภาพ เครื่องดื่มสีผสมอาหารและสีย้อม ตลอดจนใช้ทำเครื่องสำอางอีกด้วย

           การใช้สมุนไพรเป็นยาบำบัดโรคนั้น อาจใช้ในรูปยาสมุนไพรเดี่ยวๆหรือใช้ในรูปตำรับยาสมุนไพร ปัจจุบันตำรับยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณที่กระทรวงสาธารณสุขอนุญาตให้ใช้รักษาโรคได้ มีทั้งหมด 28 ขนาน เช่น ยาจันทน์ลีลา ใช้แก้ไข้แก้ตัวร้อน ยามหานิลแท่งทอง ใช้แก้ไข้ แก้หัด อีสุกอีใส ยาหอมเทพพิจิตร บำรุงหัวใจ ยาเหลืองปิดสมุทร แก้ท้องเสีย ยาประสะมะแว้ง แก้ไอ ขับเสมหะ ยาตรีหอม แก้ท้องผูกในเด็กระบายพิษไข้

           สำหรับ สมุนไพรที่นิยมใช้เดี่ยวๆรักษาอาการของโรคที่พบบ่อยๆได้แก่ สมุนไพรแก้ไข้ ฟ้าทะลายโจร บอระเพ็ด สมุนไพรแก้ท้องเสีย กล้วยน้ำว้า ทับทิม ฝรั่งดิบ สมุนไพรแก้ไอ มะแว้ง ขิง มะนาว สมุนไพรแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขมิ้นชัน แห้วหมู กระชาย สมุนไพรช่วยให้นอนหลับ ขี้เหล็ก ดอกบัวหลวง หัวหอมใหญ่ สมุนไพรแก้ เชื้อรา กระเทียม ข่า ชุมเห็ดเทศ สมุนไพรแก้เริม เสลดพังพอนตัวเมียและตัวผู้


การเก็บยาสมุนไพรให้ได้สรรพคุณที่ดี

1. พืชที่ให้น้ำมันหอมระเหย ควรเก็บในขณะดอกกำลังบาน
2. เก็บรากหรือหัว เก็บตอนที่พืชหยุดปรุงอาหาร หรือเริ่มมีดอก
3. เก็บเปลือก เก็บก่อนพืชเริ่มผลิใบใหม่
4. เก็บใบ เก็บก่อนพืชออกดอก ควรเก็บในเวลากลางวัน ที่มีอากาศแห้ง
5. เก็บดอก ควรเก็บเมื่อดอกเจริญเต็มที่ คือ ดอกตูม หรือแรกแย้ม
6. เก็บผล ควรเก็บผลที่โตเต็มที่ แต่ยังไม่สุก
7. เก็บเมล็ด ควรเก็บเมื่อผลสุกงอมเต็มที่ จะมีสารสำคัญมาก


การเก็บยาสมุนไพรให้ได้สรรพคุณที่ดี

           การนำสมุนไพรมาใช้รักษาโรคนั้น ใช้ได้หลายรูปแบบ เช่นการใช้สมุนไพรสดๆใช้ในรูปยาต้ม ยาชง ยาลูกกลอน ยาดองเหล้า และยาพอก เป็นต้น

           1. ใช้ในรูปสมุนไพรสดๆ สมุนไพรบางชนิดนิยมใช้ในรูปสมุนไพรสดจึงจะได้ผลดี เช่นวุ้นจากใบว่านหางจระเข้สด ใช้ทาแผลไฟใหม้ น้ำร้อนลวกใบผักบุ้งทะเลสด นำมาตำใช้ทาแผลที่ถูกพิษแมงกระพรุนหรือกระเทียมสดนำมาฝานเป็นชิ้นบางๆ ใช้ทาบริเวณผิวหนังที่เป็นเชื้อรา เป็นต้น ในกรณีการใช้สมุนไพรสด ควรระวังในเรื่องของความสะอาด เพราะถ้าสกปรก อาจติดเชื้อ ทำให้แผลเป็นหนองได้

           2. ตำคั้นเอาน้ำกิน ใช้สมุนไพรสดๆตำให้ละเอียดจนเหลว ถ้าไม่มีน้ำให้เติมน้ำลงไปเล็กน้อย คั้นเอาน้ำยาที่ได้กิน สมุนไพรบางชนิดเช่น กระทือ กระชายให้นำไปเผาไฟให้สุกเสียก่อน จึงค่อยตำ

           3. ยาชง ส่วนมากมักใช้กับพวกใบไม้ เช่น หญ้าหนวดแมว ใบชุมเห็ดเทศกระเจี๊ยบ เป็นต้น ทำโดยใช้สมุนไพร 1 ส่วน ผสมกับน้ำเดือด 10 ส่วน ปิดฝาทิ้งไว้5-10 นาที ยาชงเป็นรูปแบบยาที่มีกลิ่นหอมชวนดื่ม และเป็นวิธีที่สะดวก รวดเร็วตัวยาหนึ่งชุดนิยมใช้เพียงครั้งเดียว

           4. ยาต้ม เป็นวิธีที่นิยมใช้ และสะดวกมากที่สุด สามารถใช้ได้ทั้งตัวยาสดหรือแห้ง ในตัวยาที่ สารสำคัญสามารถละลายได้ในน้ำ โดยการนำตัวยามาทำความสะอาด สับให้เป็นท่อนขนาดพอเหมาะ และให้ง่ายต่อการทำละลายของน้ำกับตัวยานำใส่ลงในหม้อ

           5. ยาดอง ใช้ได้ผลดีกับตัวยาที่สารสำคัญละลายน้ำได้น้อย น้ำยาที่ได้จะออกฤทธิ์เร็วและแรงกว่าการใช้วิธีต้ม นิยมใช้กับตัวยาแห้ง ห้ามใช้กับผู้ที่มีความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ หญิงมีครรภ์

           6. ยาเม็ด ยาไทยส่วนมากมักจะมีรสไม่ค่อยชวนรับประทาน สำหรับตัวยาบางตัวสามารถนำมาทำเป็นยาเม็ด นิยมทำเป็นแบบ ลูกกลอน(เม็ดกลม)และเม็ดแบน(โดยใช้แบบพิมพ์อัดเม็ด) ในปัจจุบัน เพิ่มการบรรจุแคปซูลเข้าไปอีกวิธีหนึ่งโดยการนำตัวยาที่ผ่านการอบให้แห้ง และฆ่าเชื้อแล้ว มาบดให้ละเอียด ใช้น้ำผึ้งหรือน้ำกระสายยาอื่นๆ มาผสมเพื่อปั้นเม็ด เช่นน้ำดอกไม้เทศ เหล้า เป็นต้น

           สมุนไพรมีประโยชน์ แต่อาจมีโทษได้ถ้าใช้ไม่ถูกต้อง คือใช้ให้ถูกต้นถูกส่วน ต้องรู้ว่าส่วนใดใช้ป็นยาได้ ใช้ให้ถูกขนาด ถ้ามากไปก็อาจเป็นอันตราย หรือเกิดพิษต่อร่างกายได้ ถูกวิธี ถูกกับโรค และที่สำคัญคือการรักษาความสะอาด ต้องสะอาดทั้งเครื่องใช้ ตัวยา มือ และสิ่งประกอบอื่นๆ


ข้อเสนอแนะในการใช้สมุนไพร

1. ศึกษาหาข้อมูลของสมุนไพรนั้น ๆ ก่อนนำมาใช้
2. ต้องใช้สมุนไพรให้ตรงกับโรคที่ได้วินิจฉัยอย่างถูกต้องแล้ว
3. ต้องใช้สมุนไพรให้ถูกต้น
4. ต้องใช้ให้ถูกส่วนของสมุนไพร
5. ต้องใช้สมุนไพรตามอายุของพืช
6. ต้องเตรียมให้ถูกวิธี
7. ต้องสะอาด ทุกขั้นตอน
8. การรับประทานยา เมื่อใช้ยาไป 1 - 2 วัน อาการไม่ดีขึ้น ควรต้องไปปรึกษาแพทย์


อาการโรคที่ไม่ควรใช้สมุนไพร

1. โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน สุนัขบ้ากัด งูพิษกัด กระดูกหัก ฯลฯ
2. ถ้าอาการป่วยมีอาการรุนแรง ไม่ควรใช้ยาสมุนไพร ควรส่งโรงพยาบาล








ขอขอบคุณที่มา : ใบความรู้การกิจกรรมการจัดการเรียนรู้วิชา สปช. และ www.sanook.com
                          ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต













 
๏ปฟ












เธซเธ™เน‰เธฒเนเธฃเธ | เน€เธเธตเนˆเธขเธงเธเธฑเธšเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธ„เธฃเธทเธญเธ‚เนˆเธฒเธขเนเธฅเธฐเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธ–เธดเธ•เธด | เธเธฒเธฃเธˆเธฑเธ”เธเธฒเธฃเธ„เธงเธฒเธกเธฃเธนเน‰ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ•เธดเธ”เธ•เนˆเธญเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธˆเน‰เธฒเธซเธ™เน‰เธฒเธ—เธตเนˆเธ”เธนเนเธฅเธฃเธฐเธšเธš
เนเธ™เธฐเธ™เธณเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เนˆเธฒเธงเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เน€เธเธฒเธฐเธ•เธดเธ”เธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธกเน€เธ”เนˆเธ™ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™เธ—เธตเนˆเน€เธเธตเนˆเธขเธงเธ‚เน‰เธญเธ‡ | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™| เธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™เธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž| เธเน‰เธฒเธงเนƒเธซเธกเนˆเธเธฑเธš HISO | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธžเธ›เธฃเธฐเน€เธ—เธจเน„เธ—เธข
เธเธฒเธฃเธงเธดเน€เธ„เธฃเธฒเธฐเธซเนŒเธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เน€เธฃเธทเนˆเธญเธ‡เน€เธฅเนˆเธฒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธทเนˆเธญเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เนเธšเธšเธชเธณเธฃเธงเธˆเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | webbord | เธ„เธณเธ–เธฒเธกเธ—เธตเนˆเธžเธšเธšเนˆเธญเธข | เธชเธกเธธเธ”เน€เธขเธตเนˆเธขเธกเธŠเธก | เธšเธฃเธดเธเธฒเธฃเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅ