เรื่องเล่าข่าวสุขภาพ | สมรรถภาพร่างกาย | สุขภาวะทางจิต | สุขภาพกับความงาม | สื่อกับสุขภาพ | สมุนไพรเพื่อสุขภาพ | ธรรมะกับสุขภาพ






สื่อทางเลือก ก้าวย่างใหม่ภาคประชาชน


 

             แนวคิด โครงการพื้นที่ทางสังคมและสื่อทางเลือกซึ่งอ้างเอาความคิด อันโตนิโอ กรัมชี นักคิดอิตาลี พูดถึงวิธีการควบคุมสังคม โดยเฉพาะกลุ่มชนที่เป็นนักปกครอง ถึงรูปแบบการยึดกุมกลไกสังคม 2 แบบ

             1. ควบคุมกลไกด้านการปราบปราม ใช้กฎหมาย ศาล ตำรวจ ทหาร เป็นกลไกการปราบปรามโดยใช้กำลังรุนเรงหากถูกพิสูจน์มาแล้วในประวัติศาสตร์มนุษยชาติว่า ใช้ได้ผลอย่างจำกัด ไม่ยืนยาว และไม่อาจควบคุมประชาชนได้อย่างสงบราบคาบ
             2. ควบคุมกลไกทางอุดมการณ์ อารมณ์พื้นฐานมนุษย์ที่ต้องการความมั่นคงของความเชื่อ ครอบครัว ศาสนา โรงเรียน ศิลปวัฒนธรรม รวมทั้งสื่อมวลชน หล่อหลอมกล่อมเกลา ให้ประชาชนยอมรับความคิดเห็น นักปกครองย่อมทราบดีถึงพลังศรัทธา การยินยอมพร้อมใจ การยึดพื้นที่ความคิดหรือสร้างอุดมการณ์หนึ่งชุด ย่อมเป็นสิ่งที่นัก
ปกครองทราบดีว่า หากทำได้สำเร็จไม่เพียงครองใจประชาชนได้เท่านั้น หากยังสามารถดึงประโยชน์จาก อุดมการณ์ ที่สร้างขึ้นได้อย่างมากมายและการสร้างอุดมการณ์ใดใดในยุคนี้ ธุรกิจสื่อสารมวลชนกลายเป็นแรงเร้าให้เข้าถึงประชาชนได้อย่างเป็นผล..

             โครงสร้างอำนาจของสังคมไทยวันนี้ ก้าวเข้าสู่ยุคทุนสื่อสาร กุมกลไกและเข้าเป็นส่วนสัมพันธ์หลักสร้างและกำหนดนโยบายตั้งแต่สถาบันการเมืองและกลุ่มองค์กรธุรกิจ ขบวนคน สื่อทางเลือก ในเวทีสรุปบทเรียนขบวนการสื่อภาคประชาชน 8 พฤษภาคม 2547 โรงละคร หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม มช. จากกลุ่มสื่อพื้นบ้าน ,เครือข่ายพระนักพัฒนาภาคเหนือ ,กลุ่มละครชุมชน ,ชุมชนคนรักป่า ,เครือข่ายองค์กรชุมชนเมือง ,สำนักข่าวประชาธรรม ,วิทยุชุมชน เชียงใหม่และภาคเหนือ 15 จังหวัด ตบขบวนร่วมงาน คนทำสื่อภาคประชาชน

สำนักข่าวประชาธรรม จากแนวคิดเรื่องการนำเสนอข่าว ราวปลายปี 2542 ที่จุดประกายจากความคิดในกลุ่มนักวิชาการ องค์กรพัฒนาเอกชนและนักกิจกรรมส่วนหนึ่งซึ่งบทสรุปมุ่งความสำคัญไปที่ภาคประชาชนจะต้องสื่อสารเรื่องราวของตนออกไปให้เป็นระบบที่สุด การจัดตั้งองค์กรทำงานอย่างจริงจังเพื่อให้เสียงคนเล็กคนน้อยปรากฏในพื้น1/12/2549ที่สาธารณะ เข้าสู่การกำหนดนโยบาย ไม่ใช่เฉพาะรัฐหรือกลุ่มทุนเท่านั้น ปี 2543 สำนักข่าวประชาธรรม จึงกำเนิดขึ้นด้วยทุนเริ่มต้นเพียง 300,000 บาท โดยเน้นไปที่การเสนอเบาะแสภาคประชาสังคม เปิดเนื้อที่ภาคประชาชนสู่สื่อกระแสหลัก จากหนังสือพิมพ์ข่าวสด มติชน บางกอกโพสต์ ไทยทีวีสีช่อง 7 (ปัจจุบันหยุดเป็นสมาชิก) บริษัทไทยเดย์ดอทคอม
หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ และเวปไซด์ผู้จัดการ ออนไลน์

ชุมชนคนรักป่า เน้นสร้างพื้นที่และเป็นสื่อกลางระหว่างชุมชนและคนชั้นกลาง สื่อสารความเข้าใจเรื่อง คนอยู่กับป่า ผลักดัน พ.ร.บ.ป่าชุมชน แสดงให้เห็นว่า คน ชุมชน มีกระบวนการจัดการทรัพยากรดิน น้ำ ป่า ที่คนภายนอกหรือรัฐยังเข้าไม่ถึง การทำงานมุ่งสู่ฐานสื่อสารมวลชน ต่อเนื่องจนเกิดฐานการเรียนรู้และทำความเข้าใจเรื่องป่ากับชุมชน ทั้ง โทรทัศน์ วิทยุ นิตยสาร หนังสือพิมพ์ จดหมายข่าว ทัวร์ป่าชุมชนและจุลสารสานใจ เป็นการสร้างรูปแบบกิจกรรมในพื้นที่สื่อสารสาธารณะที่หลากหลาย

เครือข่ายพระนักพัฒนาชุมชนภาคเหนือ(คพชน.) บทสรุปใหม่ที่พระสงฆ์นักพัฒนาจำเป็นต้องวิเคราะห์ให้ออกผ่านเครื่องมือตามหลักอริยสัจ 4 รู้จักตัวปัญหา(ทุกข์) รู้ต้นเหตุแห่งปัญหา(สมุทัย) วางเป้าหมายและกำหนดปัญหา(นิโรธ) ชี้แนวทางการแก้ปัญหา(มรรค) เป็นการประยุกต์พุทธธรรมนำเข้าสู่การแก้ปัญหาสังคม จัดรูปแบบเวทีการเรียนรู้ในพื้นที่ ออกจุลสารโพธิยาลัยและร่วมภาคีเครือข่ายสถาบันการศึกษา 4 สถาบัน เครือข่ายบางจุ้มเมืองเย็น เครือข่ายการสื่อสารเพื่อชุมชน สื่อพื้นบ้านสารสุขภาพและสถาบันแสนผะหญา จัดรายการเสียงวิทยุบ้านล้านนาร่วมกับองค์กรเครือข่ายวิทยุชุมชน รายการสังฆะเพื่อสังคมทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยและรายการโพธิยาลัยทางสถานีวิทยุเสียงเสริมสร้างพลังชุมชน บทความและข่าว จุดประกายกรุงเทพฯธุรกิจและเชียงใหม่ปริทัศน์ การศึกษาดูงานและนำงานวิจัยไทบ้านคืนสู่ชุมชนผ่านเสียงตามสาย

ละครชุมชน ขยายพื้นที่และรูปแบบงานพัฒนา นับจาก แก๊งกวนเมือง ถึง จันทร์เปลี่ยนสีและ แท็งค์ เซ็กส์-ขอบคุณความสุข 1,2 ของกลุ่มละครกั๊บไฟ นำการละครเพื่อการพัฒนาเข้าสู่การนำเสนอเชิงนโยบาย เน้นงานรณรงค์ ละครเร่กับรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนถึงการสร้างอาสาสมัคร อีกหนึ่งรูปแบบของการสื่อสารการก่อนเข้าสู่ชุมชน เน้นสร้างการสื่อสารรูปแบบใหม่ให้ชุมชน เสริมพลังทางเลือก การตัดสินใจที่เป็นตัวของตัวเอง ไม่หันเหไปกับสื่อกระแสหลัก นับจากปี 2539-2547 ละครสาธิต วัยใสเก็บพริก สองต่อสอง และคนใกล้ชิด เป็นชุดละครรุ่นแรก ๆ จัดแสดง 23 รอบ ทั้งโรงเรียนและสถานพินิจ คุ้มครองเด็กและเยาวชน จำนวนผู้ชม 4,100 คน นางฟ้าเดินทาง เสนอเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชน กรณีทหารพม่าฆ่าข่มขืนผู้หญิงไทใหญ่ และภัยร้ายจากอินเตอร์เน็ต เรื่องห้องน้อยในโลกกว้าง ชุมชนฮักละอ่อน นกน้อยหัดบินและบาร์โค้ด บอกเล่าเรื่องสิทธิเด็กและเยาวชน และถึงวันนี้ได้พัฒนาแนวคิดเข้าสู่การฝึกอบรมทักษะชีวิต มิติชายหญิง สิทธิเด็ก การย้ายถิ่น โลกาภิวัตน์ แรงงาน การค้าบริการทางเพศ และการค้ามนุษย์ ที่ขยายพื้นที่การรับรู้และเข้าใจเรื่องราวอีกด้าน

เครือข่ายองค์กรชุมชนเมืองเชียงใหม่กับกระบวนการสร้างตัวตน คงปฏิเสธไม่ได้ว่า สลัม แหล่งเสื่อมโทรม ชุมชนแออัด หรือคนจนเมือง เป็นผลผลิตที่เกิดขึ้นจากนโยบายรัฐ การมุ่งสร้างการลงทุนและการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดในภาคอุตสาหกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยว ส่งผลให้เมืองเติบโตอย่างรวดเร็ว สลัม ชุมชนแออัด กลายเป็นภาพสะท้อนของเมืองที่ถูกมองว่าเป็นแหล่งรวมของปัญหา อดอยาก ขัดสน เสื่อมโทรม รุนแรง คน อพยพเข้าสู่เมือง หางานทำ เข้ามาพักอาศัยก่อสร้างที่พักทำให้คนเมืองที่อยู่ก่อนมองคนกลุ่มนี้ว่าเป็นผู้บุกรุก บุกรุกที่สาธารณะ บุกรุกที่ของรัฐ การลุกขึ้นมาของเครือข่ายชุมชนเมืองเชียงใหม่ทำความสะอาดคลองแม่ข่า ชาวบ้านร่วม 1,000 คน ลงแรงทำความสะอาดสิ่งปฏิกูลและแหล่งเพาะพันธุ์ยุง ถึงระยะทาง 3.5 กิโลเมตร เป็นผลให้คลองแม่ข่าคืนสภาพ มีน้ำสะอาดไหล ลดกลิ่นเหม็น ลดยุง และรณรงค์รักษาสิ่งแวดล้อมต่อเนื่อง นำคลองแม่ข่าคืนมา พร้อมผลักดันการแก้ปัญหาระดับนโยบาย ร่วมกับเครือข่ายสลัม 4 ภาค ออกพระราชบัญญัติชุมชนแออัด การปฏิรูปที่ดินของรัฐอย่างเห็นค่าความเป็นคน

สื่อพื้นบ้านเพื่อการพัฒนา ผ่าสังคมกระแสตะวันตก ฟื้นฟูเพลง ดนตรีและนิทานพื้นบ้าน ตำนานท้องถิ่น ขับขานการเทศน์และบทสวดพื้นบ้านผ่านสื่อสาธารณะ จนมีรูปแบบและท่วงทำนองแห่งวัฒนธรรมท้องถิ่น เป็นการรวมกลุ่มของศิลปิน กวี ตั้งชมรมกวีล้านนา กลุ่มสืบสานตำนานปี่ซอ และชมรมศิลปินพื้นบ้านหรือชมรมซอล่องด้วยการเป็นสื่อกลางระหว่างจิตสำนึกพื้นถิ่นกับสาระความรู้ในฐานะเครื่องมือที่ให้ความบันเทิง กล่อมเกลาจิตใจให้ลดการยึดถือตัวเองแก่ชุมชนท้องถิ่นและชุมชนวงกว้างไม่ให้กลายเป็นเพียงวัฒนธรรมที่ใช้เฉพาะในงานพิธีต่าง ๆ หรือเป็นนิยามของการท่องเที่ยวเพียงเท่านั้น หรือ กลุ่มดนตรี สะล้อ ซอ ปิน ถ่ายทอดชุดความคิดผ่านระบบการเรียนการสอนโดยการเชิญพ่อครูแม่ครูสู่ระบบโรงเรียนในหลักสูตรภูมิปัญญาพื้นถิ่น

เครือข่ายวิทยุชุมชนเชียงใหม่และภาคเหนือ 15 จังหวัด คลื่นวิทยุถูกจำกัดการใช้ไว้ในเงื้อมงำของรัฐมานานแสนนาน การนำเสนอข้อมูลข่าวสารเพียงด้านเดียวโดยคนรัฐและกลุ่มทุนขนาดใหญ่ที่เข้าไปครองการนำเสนอทำให้ภาคประชาชนแทบจะไม่ได้พูดเรื่องราวของตัวเองผ่านคลื่นวิทยุซึ่งเป็นสาธารณะสมบัติได้เพราะราคาค่าโฆษณาที่แพงแสนแพง หากกำหนดในรัฐธรรมนูญ 2540 มาตรา 40 เปิดช่องของการ สื่อสาร ด้วยการกำหนดว่า คลื่นวิทยุอย่างน้อย 20% ต้องเป็นของประชาชนและรับผิดชอบโดยองค์กรประชาชนทุกคนในชุมชนสามารถมีส่วนในการพูดคุยเรื่องราวของตัวเอง โครงการนำร่อง วิทยุชุมชนเชียงใหม่ 8 มีนาคม 2545 กำเนิดขึ้นจากความต้องการที่ชัดเจนเน้นให้ชุมชนเข้ามามีส่วนในการสื่อสารความเข้าใจและขยายไกลจนเกิดเป็นเครือข่ายองค์กรวิทยุชุมชนเชียงใหม่ เน้นฝึกอบรมทำความเข้าใจเรื่องมาตรา 40 และผลิตรายการผ่านคลื่นวิทยุทั้งรูปแบบและจัดตั้งสถานีวิทยุชุมชนคลื่นต่ำ การศึกษาวิจัยสถานีวิทยุชุมชนโดยสนับสนุนกลุ่มนักศึกษา เป็นแบบแผนการทำงานทุกระดับ ทำให้ภาคประชาชนเกิดความตื่นตัวในสิทธิตามรัฐธรรมนูญและเป็นย่างก้าวแรกของนักจัดรายการมืออาชีพที่สังกัดองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนที่ต้องการผลิตรายการสาระ ไม่ใช่การแสวงหากำไรหรือผูกขาดเพลงโปรโมทเทปในสังกัดค่ายยักษ์ใหญ่ ทั้งประเด็นการเมือง สังคม สื่อ สุขภาพ ภาคประชาสังคม ศิลปวัฒนธรม ศาสนา เกษตรอินทรีย์และวิถีชาวบ้าน ตามบัญญัติของสื่อทางเลือกที่ไม่มุ่งแสวงกำไรเป็นหลักใหญ่ เครือข่ายวิทยุชุมชนภาคเหนือ 15 จังหวัด คือ การรวมตัวขององค์กรชุมชนภาคเหนือ 15 จังหวัดที่เห็นประโยชน์อันเกิดขึ้นจากการสื่อสารเพิ่มพื้นที่ชุมชนให้หันมาร่วมคิดถึงการสื่อสารที่มีความเหมาะสม และต้องการสร้างความเข้มแข็งชุมชนและมาตรา 40 กลายเป็นชนวนให้เกิดการจัดตั้งเครือข่ายวิทยุชุมชนชาวบ้าน ในนามเครือข่ายวิทยุชุมชนภาคเหนือ 15 จังหวัด จุดปฏิบัติการการเรียนรู้มาตรา 40 เพราะนอกจากส่งเสริมนักจัดรายการชาวบ้านแล้วยังเน้นการเรียกร้องให้รัฐบาลดำเนินการการสรรหาคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ(กสช.) อย่างมีกระบวนการเป็นการฝึกทักษะและเตรียมความพร้อมเรื่องสิทธ์เสียงของประชาชนที่เกิดจากประชาชน เกิดเป็นความสมดุลของข้อมูลสาธารณะและไม่ให้เกิดการผูกขาดการพูด

       ถึงแม้ว่า ขบวนสื่อทางเลือก จะอยู่ในช่วงแรกของการก้าวย่าง หากบทสรุปหนึ่งของภาคประชาสังคม นั่นคือ การแสวงหาช่องทาง สร้างพื้นที่ และบทเรียนหนึ่งของภาคประชาชนว่าด้วย สื่อสารมวลชนไทย โดยเฉพาะทีวี โทรทัศน์ วิทยุ เพราะ เป็นจริงหรือไม่ว่า ยังไม่อาจสร้างประชาธิปไตยให้ก้าวรุดไปข้างหน้า เป็นได้เพียงเครื่องมือของรัฐและทุนแห่งยุค และวันนี้ ฐานันดร ที่สี่ กำลังถูกจัดระเบียบภายใต้รัฐบาลนี้ ที่ช่ำชองกับการเล่นกับ สื่อ เพื่อครอบคลุมสังคมไทยทั้งสังคม!!











ขอขอบคุณที่มา : http://www.thaingo.org/HeadnewsKan/media130547.htm
                          ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต





 













 
๏ปฟ












เธซเธ™เน‰เธฒเนเธฃเธ | เน€เธเธตเนˆเธขเธงเธเธฑเธšเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธ„เธฃเธทเธญเธ‚เนˆเธฒเธขเนเธฅเธฐเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธ–เธดเธ•เธด | เธเธฒเธฃเธˆเธฑเธ”เธเธฒเธฃเธ„เธงเธฒเธกเธฃเธนเน‰ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ•เธดเธ”เธ•เนˆเธญเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธˆเน‰เธฒเธซเธ™เน‰เธฒเธ—เธตเนˆเธ”เธนเนเธฅเธฃเธฐเธšเธš
เนเธ™เธฐเธ™เธณเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เนˆเธฒเธงเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เน€เธเธฒเธฐเธ•เธดเธ”เธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธกเน€เธ”เนˆเธ™ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™เธ—เธตเนˆเน€เธเธตเนˆเธขเธงเธ‚เน‰เธญเธ‡ | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™| เธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™เธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž| เธเน‰เธฒเธงเนƒเธซเธกเนˆเธเธฑเธš HISO | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธžเธ›เธฃเธฐเน€เธ—เธจเน„เธ—เธข
เธเธฒเธฃเธงเธดเน€เธ„เธฃเธฒเธฐเธซเนŒเธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เน€เธฃเธทเนˆเธญเธ‡เน€เธฅเนˆเธฒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธทเนˆเธญเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เนเธšเธšเธชเธณเธฃเธงเธˆเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | webbord | เธ„เธณเธ–เธฒเธกเธ—เธตเนˆเธžเธšเธšเนˆเธญเธข | เธชเธกเธธเธ”เน€เธขเธตเนˆเธขเธกเธŠเธก | เธšเธฃเธดเธเธฒเธฃเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅ