เรื่องเล่าข่าวสุขภาพ | สมรรถภาพร่างกาย | สุขภาวะทางจิต | สุขภาพกับความงาม | สื่อกับสุขภาพ | สมุนไพรเพื่อสุขภาพ | ธรรมะกับสุขภาพ






ทีวี: พิษภัยใกล้ตัวสำหรับเด็กเล็ก





 

โทรทัศน์หรือที่เรียกสั้นๆ ว่าทีวีนั้น เป็นเครื่องรับสัญญาณคลื่นความรู้ ข่าวสาร และความบันเทิงมาทุกยุกทุกสมัย ภาพครอบครัวที่อยู่ด้วยกันพร้อมหน้าพร้อมตาหน้าจอทีวีนั้นดูเหมือนเป็นสิ่งที่สังคมอาจมองว่าเป็นการสร้างความอบอุ่นและสัมพันธภาพที่ดีระหว่างสมาชิกในครอบครัว บางครอบครัวมีเครื่องทีวีประจำในห้องนอนของลูกๆ พอเด็กๆ ตื่นนอนก็ต้องเปิดทีวีเป็นอันดับแรก หรือบางบ้านมีลูกน้อยกำลังหัดคลานหัดเดินก็ปล่อยไว้หน้าจอทีวีด้วยเชื่อว่าเด็กจะได้เห็นตัวการ์ตูนในทีวีเป็นเพื่อนไปพลางๆ ในขณะที่พ่อแม่ต้องทำภาระกิจอื่น

เนื่องจากช่วงเด็กแรกเกิดจนถึง 3 ปี จะเป็นช่วงที่เรียนรู้ภาษา, ทักษะทางสังคมและร่างกายมีพัฒนาการ
ด้านต่างๆ อย่างเห็นได้ชัด โครงสร้างและการทำงานของสมองมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก มีปัจจัยหลายอย่างทั้งภายในตัวเด็กเองและสิ่งแวดล้อมที่เด็กเรียนรู้ล้วนมีผลต่อความยืดหยุ่นของสมอง (brain plasticity) ที่จะเป็นตัวเบ้าหลอมโครงสร้างและการทำงานของสมองในอนาคตเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ การรับชมทีวีจึงมีผลต่อการเรียนรู้เด็กอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

Dr Aric Sigman ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็น Associate Fellow of the British Psychological Society ซึ่งเป็นนักจิตวิทยาที่ศึกษาผลของทีวีต่อสุขภาพมาเป็นเวลานานได้แถลงต่อคณะสมาชิกวุฒิสภาของสหราชอาณาจักรในการประชุมที่จัดโดยองค์กรด้านสื่อสารมวลชน Mediawatch-UK โดยผลเสียของการดูทีวีที่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ยืนยัน ได้แก่ รูปแบบการนอนหลับที่ผิดปกติ (irregular sleep pattern) ลดอัตราเผาผลาญพลังงานในขณะพัก (resting metabolic rate) จนอาจทำให้เกิดโรคอ้วน เวลาที่เด็กพูดกับผู้ใหญ่ลดน้อยลง เด็กมีทักษะทางสังคมแย่ลง และที่สำคัญคือเด็กมีสมาธิ (concentration) และความจดจ่อ (attention) แย่ลง จนอาจทำให้เกิดโรคความจดจ่อเสื่อมหรือสมาธิสั้น (attention deficit
hyperactivity disorder) และทีวีอาจเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดโรคออติซึมโดยเมื่อปลายปีที่แล้ว Cornell University, Indiana University และ Purdue University ได้ศึกษาความเชื่อมโยงระหว่างการดูทีวีและการเกิดอาการออติซึมในเด็กอเมริกัน

นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าภาพในจอทีวีที่เคลื่อนไหวค่อนข้างเร็วจะลดความสามารถของเด็กในการจดจ่อสนใจ ขาดสมาธิในการเรียนรู้ นอกจากนี้ทีวียังมีแสงสว่างจ้า สีสรรมากเกินไป เต็มไปด้วยตัวกระตุ้นเทียมที่ไม่มีจริงในชีวิตตามธรรมชาติ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อกระบวนการพัฒนาสมองทั้งในด้านโครงสร้างและหน้าที่การทำงานซึ่งจะส่งผลในระยะยาวเมื่อโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่




 ข้อเสนอของ Dr Aric Sigman

- เด็กเล็กที่อายุต่ำกว่า 3 ปี ไม่ควรให้ดูทีวี
- เด็กอายุ 3-7 ปี ควรให้ดูทีวีได้ไม่เกินวันละ 30-60 นาทีต่อวัน
- เด็กอายุ 7-12 ปี ควรให้ดูทีวีได้ไม่เกินวันละ 1 ชั่วโมง
- เด็กอายุ 12-15 ปี ควรให้ดูทีวีได้ไม่เกินวันละ 1.5 ชั่วโมง
- เด็กอายุ 16 ปีขึ้นไป ควรให้ดูทีวีได้ไม่เกินวันละ 2 ชั่วโมง


ทีวีเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีเกือบจะทุกบ้าน ให้สาระและความบันเทิงและเป็นเพื่อนคนไทยมาเป็นเวลาช้านาน รายการทีวีในเมืองไทยมีส่วนช่วยพัฒนาเด็กและเยาวชนไทยมากน้อยเพียงใด ผู้ปกครองสนใจอิทธิพลของทีวีที่มีต่อลูกหลานตัวเองหรือไม่ อย่าปล่อยให้เด็กเล็กอยู่หน้าจอทีวีตลอดเลยครับ พาพวกเขาไปเรียนรู้ธรรมชาตินอกบ้าน สวนสาธารณะ และพิพิธภัณฑ์ เป็นต้น ถึงแม้เรายังไม่สามารถสรุปแน่ชัดว่าทีวีเป็นตัวการทำลายสุขภาพเด็ก แต่การจำกัดช่วงเวลาการดูทีวีและส่งเสริมให้เด็กได้ทำกิจกรรมที่หลากหลายก็จะช่วยให้สมองของลูกรักได้มีการเรียนรู้อย่างสมดุลและป้องกันปัญหาที่ตัวเราคาดไม่ถึงได้


เอกสารอ้างอิง

1. หนังสือพิมพิ์ guardian ฉบับวันที่ 24 เมษายน 2550
http://www.guardian.co.uk/medicine/story/0,,2064185,00.html

2. Michael Waldman และคณะ, DOES TELEVISION CAUSE AUTISM?
http://www.johnson.cornell.edu/faculty/profiles/Waldman/AUTISM-WALDMAN-NICHOLSON-ADILOV.pdf











ขอขอบคุณที่มา : http://cmadong.com
                          ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต





 













 
๏ปฟ












เธซเธ™เน‰เธฒเนเธฃเธ | เน€เธเธตเนˆเธขเธงเธเธฑเธšเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธ„เธฃเธทเธญเธ‚เนˆเธฒเธขเนเธฅเธฐเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธ–เธดเธ•เธด | เธเธฒเธฃเธˆเธฑเธ”เธเธฒเธฃเธ„เธงเธฒเธกเธฃเธนเน‰ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ•เธดเธ”เธ•เนˆเธญเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธˆเน‰เธฒเธซเธ™เน‰เธฒเธ—เธตเนˆเธ”เธนเนเธฅเธฃเธฐเธšเธš
เนเธ™เธฐเธ™เธณเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เนˆเธฒเธงเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เน€เธเธฒเธฐเธ•เธดเธ”เธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธกเน€เธ”เนˆเธ™ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™เธ—เธตเนˆเน€เธเธตเนˆเธขเธงเธ‚เน‰เธญเธ‡ | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™| เธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™เธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž| เธเน‰เธฒเธงเนƒเธซเธกเนˆเธเธฑเธš HISO | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธžเธ›เธฃเธฐเน€เธ—เธจเน„เธ—เธข
เธเธฒเธฃเธงเธดเน€เธ„เธฃเธฒเธฐเธซเนŒเธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เน€เธฃเธทเนˆเธญเธ‡เน€เธฅเนˆเธฒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธทเนˆเธญเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เนเธšเธšเธชเธณเธฃเธงเธˆเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | webbord | เธ„เธณเธ–เธฒเธกเธ—เธตเนˆเธžเธšเธšเนˆเธญเธข | เธชเธกเธธเธ”เน€เธขเธตเนˆเธขเธกเธŠเธก | เธšเธฃเธดเธเธฒเธฃเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅ