เรื่องเล่าข่าวสุขภาพ | สมรรถภาพร่างกาย | สุขภาวะทางจิต | สุขภาพกับความงาม | สื่อกับสุขภาพ | สมุนไพรเพื่อสุขภาพ | ธรรมะกับสุขภาพ






รักษาสุขภาพเมื่อคุณใช้คอมพิวเตอร์





 

คอมพิวเตอร์เป็นผลิตผลทางเทคโนโลยีอันทันสมัย ที่ช่วยอำนวยความสะดวกสบาย และเพิ่มประสิทธิภาพ ในการทำงาน ในยุคข้อมูลข่าวสาร นับวัน คอมพิวเตอร์จะเข้ามามีบทบาท ในธุรกิจ และการประกอบการหลายแขนงมากขึ้นเรื่อย ๆ สิ่งที่เกิดขึ้น ตามมาก็คือ ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ มีการเคลื่อนไหว อิริยาบถน้อยลง โดยเฉพาะ ผู้ปฏิบัติงานอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ ที่มักจะนั่งอยู่ในอิริยาบถนั้น ๆ เป็นเวลานาน ส่งผลเสียต่อสุขภาพในด้านต่าง ๆ เช่น สายตา ความเครียด ปัญหาการตั้งครรภ์เป็นต้น

การนั่งที่ไม่เหมาะสมเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ร่างกายต้องรับน้ำหนักเกินความจำเป็น ก่อให้เกิด ความเมื่อยล้าได้ง่าย การนั่งที่ถูกต้องคือ การนั่งลึกให้เต็มเก้าอี้ และหลังพิงพนักเก้าอี้ การยืดแขนขา หรือการได้เปลี่ยนอิริยาบถ ในขณะทำงานบ้าง จะช่วยลดความเครียด ของกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ของ

ในขณะนี้ปัญหาที่พบบ่อยเมื่อต้องนั่งปฏิบัติงานอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์นาน ๆ ก็คือ ปัญหาความล้า ของสายตา สาเหตุเกิดจากการมองทั้งจอภาพ แป้นพิมพ์ และเอกสารสลับกันตลอดเวลา ระยะความห่าง ที่แตกต่างกัน ในการมองเห็นวัตถุทั้ง 3 ทำให้สายตาต้องปรับโฟกัสตลอดเวลา ก่อให้เกิดความล้าของสายตา การใช้สายตาเพ่งนาน ๆ ยังอาจทำให้ตาแห้งเกิดระคายเคืองตา จึงควรพักสายตาประมาณ 10 นาทีต่อชั่วโมง หรือพักทุก 15 นาที ต่อ 2 ชั่วโมง การนั่งปฏิบัติงาน ควรนั่งให้ห่างจากจอภาพไม่น้อยกว่า 30 เซนติเมตร เพื่อลดปริมาณรังสีที่แผ่ออกมาให้ได้รับน้อยที่สุด จากการศึกษาของกองอาชีวอนามัย กรมอนามัย พบว่า การติดแผ่นกรองแสงสามารถลดระดับปริมาณรังสีที่แผ่ออกมาจากจอภาพลงได้บ้าง แต่ไม่สามารถลดลง ได้ทั้งหมด การติดหรือไม่ติดแผ่นกรองแสง จึงมีผลแตกต่างกันไม่มากนัก กับปริมาณรังสีที่แผ่ออกมา เพียงแต่การติด แผ่นกรองแสง จะช่วยให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ เกิดความสบายใจ หรือช่วยคลายความกังวล ลงได้บ้าง อย่างไรก็ตาม แผ่นกรองแสง ก็ยังมีข้อดี ตรงที่ช่วยลดแสงจ้า แสงสะท้อน และไฟฟ้าสถิตย์ ช่วยให้ความล้าของสายตา ลดลง และป้องกันแสงสะท้อนเข้าสู่ตาได้ระดับหนึ่ง

การจัดสถานที่ตั้งคอมพิวเตอร์ มีความสำคัญที่จะส่งผลต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงาน ควรจัดไว้ ในที่ที่มี แสงสว่างพอเหมาะ ทั้งที่จอภาพ แป้นพิมพ์ และเอกสาร โดยให้ความส่องสว่าง ของวัตถุ ที่เรามอง มีระดับพอ ๆ กัน เพราะถ้าภายในห้อง มีทั้งบริเวณสว่าง และมืด จะทำให้เกิดความล้าของดวงตาได้ และถ้าแสงสว่าง เข้าไปในห้องทำงาน ได้มาก ควรใช้ม่านปิดกันแสงสว่างเพื่อไม่ให้เกิดแสงจ้าจนเกินไป

การเพ่งมองจอภาพคอมพิวเตอร์นาน ๆ มีผลทำให้เกิดความเครียดได้ เพราะทำให้สมอง ต้องทำงานหนัก ดังนั้น เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพ ควรหยุดพักบ้าง ตามความเหมาะสม หรืออาจทำงานอย่างอื่น ร่วมไปด้วย เพื่อลดระยะเวลาทำงาน กับคอมพิวเตอร์ให้น้อยลง นอกจากนี้ ยังเป็นการช่วยลด ความเมื่อยล้า ที่เกิดขึ้นในส่วนอื่น ๆ ของร่างกายได้ด้วย มีผู้ปฏิบัติงาน หน้าจอคอมพิวเตอร์ส่วนหนึ่ง ซึ่งเป็นหญิงตั้งครรภ์ มีความเข้าใจที่ผิด คิดว่ารังสีที่แผ่ออกมา จากหน้าจอคอมพิวเตอร์ มีผลกระทบที่ทำให้เกิดความผิดปกติ ของทารกในครรภ์ หรือเกิดการแท้งบุตรได้นั้น แท้ที่จริงแล้ว ตัวการ ที่ทำให้เกิดความผิดปกติ ของทารก ในครรภ์ หรือการแท้งบุตร เกิดจากความเครียด ความกังวล หรือการนั่งทำงาน เป็นเวลานาน ๆ โดยไม่ได้ เคลื่อนไหว ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย มีผลทำให้ระบบไหลเวียนของโลหิต เป็นไปได้ไม่สะดวก

สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งที่ควรคำนึงถึงก็คือ ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ควรดูแลอุปกรณ์ที่ใช้ ให้สะอาด ปราศจากฝุ่น ละออง และเอาใจใส่สุขภาพตนเอง โดยการรับประทานอาหาร ให้เป็นเวลา และครบตามหลัก โภชนาการ ทำจิตใจให้ร่าเริง แจ่มใส อยู่เสมอ และออกกำลังกายเป็นประจำ สำหรับผู้ปกครอง ที่มีบุตรหลาน ใช้คอมพิวเตอร์อยู่ในบ้าน ควรให้ความสนใจ ในเรื่องอาหารการกิน การพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อให้บุตรหลานของท่าน ได้มีการพัฒนาร่างกายและสติปัญญาควบคู่กันไป

การใช้คอมพิวเตอร์ถึงแม้จะเกิดผลกระทบต่อสุขภาพหลายประการก็ตาม แต่ถ้าผู้ใช้ ได้ปฏิบัติตน ตามคำแนะนำ ที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น จะช่วยให้ท่าน สามารถใช้คอมพิวเตอร์ ได้อย่างสบายใจ โดยไม่ต้องกังวล กับผลกระทบ ที่อาจเกิดขึ้นจากผลผลิตของเทคโนโลยีประเภทนี้











ขอขอบคุณที่มา : http://www.narak.com
                          ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต





 













 
๏ปฟ












เธซเธ™เน‰เธฒเนเธฃเธ | เน€เธเธตเนˆเธขเธงเธเธฑเธšเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธ„เธฃเธทเธญเธ‚เนˆเธฒเธขเนเธฅเธฐเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธ–เธดเธ•เธด | เธเธฒเธฃเธˆเธฑเธ”เธเธฒเธฃเธ„เธงเธฒเธกเธฃเธนเน‰ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ•เธดเธ”เธ•เนˆเธญเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธˆเน‰เธฒเธซเธ™เน‰เธฒเธ—เธตเนˆเธ”เธนเนเธฅเธฃเธฐเธšเธš
เนเธ™เธฐเธ™เธณเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เนˆเธฒเธงเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เน€เธเธฒเธฐเธ•เธดเธ”เธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธกเน€เธ”เนˆเธ™ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™เธ—เธตเนˆเน€เธเธตเนˆเธขเธงเธ‚เน‰เธญเธ‡ | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™| เธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™เธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž| เธเน‰เธฒเธงเนƒเธซเธกเนˆเธเธฑเธš HISO | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธžเธ›เธฃเธฐเน€เธ—เธจเน„เธ—เธข
เธเธฒเธฃเธงเธดเน€เธ„เธฃเธฒเธฐเธซเนŒเธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เน€เธฃเธทเนˆเธญเธ‡เน€เธฅเนˆเธฒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธทเนˆเธญเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เนเธšเธšเธชเธณเธฃเธงเธˆเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | webbord | เธ„เธณเธ–เธฒเธกเธ—เธตเนˆเธžเธšเธšเนˆเธญเธข | เธชเธกเธธเธ”เน€เธขเธตเนˆเธขเธกเธŠเธก | เธšเธฃเธดเธเธฒเธฃเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅ