เรื่องเล่าข่าวสุขภาพ | สมรรถภาพร่างกาย | สุขภาวะทางจิต | สุขภาพกับความงาม | สื่อกับสุขภาพ | สมุนไพรเพื่อสุขภาพ | ธรรมะกับสุขภาพ






ต้อหินคอมพิวเตอร์ อีกหนึ่งปัญหาสุขภาพที่คนไอทีต้องระวัง





 

ต้อหิน  ปัญหาสุขภาพของสายตาที่ขยายตัวและทวีจำนวนที่มีผู้คนเกิดอาการนี้มากขึ้น สาเหตุหลักเนื่องจากความเสื่อมโทรมของประสาทสายตา ซึ่งจักษุแพทย์ในปัจจุบันมักเตือนประชาชนที่มารับบริการดูแล รักษาให้สวมแว่นกันแดด แต่อีกเหตุผลหนึ่งที่จอประสาทสายตาเสื่อม ก็เนื่องมาจากการใช้สายตาจดจ่ออยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์วันละนานถึงนานมากที่สุด ด้วยการเสพทางสายตานี้ ด้วยเหตุผลจากหน้าที่การงาน จากการสร้างสรรค์ความบันเทิงให้กับตัวเอง


เรื่องนี้ ดร.มาซายูกิ ทาเทมิชิ แพทย์แห่งมหาวิทยาลัยโตโฮ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งส่งรายการการศึกษาปัญหาสุขภาพสายตาจากต้อหิน ด้วยเหตุจากคอมพิวเตอร์ เผยแพร่ในจักษุแพทย์วิทยา วารสารในแวดวงคุณหมอด้านสายตา ระบุว่า จากการตรวจสุขภาพสายตาของพนักงานบริษัท ข้าราชการทั้งหลายที่สายตาสั้นเกือบทั้งหมดมีประวัติต้องทำงานที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ๆ


โดยอธิบายความผิดปกติที่เกิดขึ้นว่า โรคต้อหินอันเนื่องจากความเสื่อมของประสาทตา หรือสายตาเสื่อมประสิทธิภาพลงจนเกิดจุดมืดบอดไปถึงนัยน์ตาบอดได้นั้น ปกติที่เคยเกิดเหตุมามักเป็นผลจากการสูบบุหรี่และอาการความดันโลหิตสูง แต่ยุคนี้การนั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์มากเกินไป เสี่ยงสูงที่เกิดอาการผิดปกติทางสายตาจนถูกนับรวมเป็นปัญหาหนักกว่าเหตุเดิม ๆ เสียอีก

ในการนี้ศึกษาครั้งนี้ ดร.ทาเทมิชิในฐานะหัวหน้าคณะวิจัยรวบรวมพนักงานญี่ปุ่นกว่า 10,000 คน
มาทดสอบทางสายตา พร้อมกับให้กรอกแบบสอบถามอาทิการใช้สายตากับจอคอมพิวเตอร์มากน้อยแค่ไหนระยะเวลาเท่าไร เป็นต้น

ผลทางทฤษฎีพิสูจน์ได้ว่า พนักงานราว 5% ของหมื่นคนนี้ มีปัญหาทางสายตา เมื่อลงลึกในรายละเอียดปรากฏว่า 1 ใน 3 ของพนักงานกลุ่มนี้ น่าจะเป็นต้อหินโดยเฉพาะผู้ที่มีสายตาสั้นอยู่ก่อน แล้วยังต้องมาใช้สายตากับคอมพิวเตอร์มาก ๆ ยิ่งมีความเสี่ยงสูงขึ้น

การใช้สายตามาก ๆ นี่เองที่ทำให้ดวงตาของเราอ่อนแอลงไปเรื่อย ๆ อนาคตก็ยังไม่แน่ใจอีกว่า เจ้าคอมพิวเตอร์นี้จะมีผลกระทบอย่างไร แค่ไหนกับส่วนอวัยวะอื่น ๆ ของมนุษย์เรานี้











ขอขอบคุณที่มา : http://www.sportronplus.com
                          ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต





 













 
๏ปฟ












เธซเธ™เน‰เธฒเนเธฃเธ | เน€เธเธตเนˆเธขเธงเธเธฑเธšเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธ„เธฃเธทเธญเธ‚เนˆเธฒเธขเนเธฅเธฐเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธ–เธดเธ•เธด | เธเธฒเธฃเธˆเธฑเธ”เธเธฒเธฃเธ„เธงเธฒเธกเธฃเธนเน‰ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ•เธดเธ”เธ•เนˆเธญเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธˆเน‰เธฒเธซเธ™เน‰เธฒเธ—เธตเนˆเธ”เธนเนเธฅเธฃเธฐเธšเธš
เนเธ™เธฐเธ™เธณเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เนˆเธฒเธงเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เน€เธเธฒเธฐเธ•เธดเธ”เธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธกเน€เธ”เนˆเธ™ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™เธ—เธตเนˆเน€เธเธตเนˆเธขเธงเธ‚เน‰เธญเธ‡ | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™| เธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™เธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž| เธเน‰เธฒเธงเนƒเธซเธกเนˆเธเธฑเธš HISO | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธžเธ›เธฃเธฐเน€เธ—เธจเน„เธ—เธข
เธเธฒเธฃเธงเธดเน€เธ„เธฃเธฒเธฐเธซเนŒเธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เน€เธฃเธทเนˆเธญเธ‡เน€เธฅเนˆเธฒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธทเนˆเธญเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เนเธšเธšเธชเธณเธฃเธงเธˆเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | webbord | เธ„เธณเธ–เธฒเธกเธ—เธตเนˆเธžเธšเธšเนˆเธญเธข | เธชเธกเธธเธ”เน€เธขเธตเนˆเธขเธกเธŠเธก | เธšเธฃเธดเธเธฒเธฃเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅ