เรื่องเล่าข่าวสุขภาพ | สมรรถภาพร่างกาย | สุขภาวะทางจิต | สุขภาพกับความงาม | สื่อกับสุขภาพ | สมุนไพรเพื่อสุขภาพ | ธรรมะกับสุขภาพ






ผลกระทบต่อสุขภาพในการทำงานกับคอมพิวเตอร์





 

ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ได้รับการพัฒนาขึ้นมาอย่างรวดเร็ว และมีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้กันอย่างแพร่หลาย ทั้งในงานสำนักงานและอุตสาหกรรมทั่วไป คำถามที่เกิดขึ้นตามมาก็คือ ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ๆ ต่อสรีระร่างกายและจิตใจของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ จะมีมากน้อยเพียงใด ไม่ว่าจะเป็นผลทางด้านสายตา ระบบกล้ามเนื้อ และกระดูก ผิวหนัง รวมไปถึงผลกระทบต่อทารกในครรภ์ คำถามเหล่านี้ได้กระตุ้นให้มีการศึกษาวิจัยเกิดขึ้นเป็นจำนวนไม่น้อย รวมทั้งมาตรการการป้องกันทางด้านเออร์โกโนมิคส์ เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของผู้ใช้คอมพิวเตอร์นั่นเอง


รายงานการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้อง

ในช่วง 20 กว่าปีที่ผ่านมา ได้มีการศึกษาวิจัยถึงผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยในกลุ่มผู้ใช้คอมพิวเตอร์กันอย่างแพร่หลายในหลายๆ ประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาสายตาและต้อกระจก ปัญหาความผิดปกติของทารกในครรภ์และปัญหาผื่นคันตามผิวหนัง อย่างไรก็ตาม องค์การอนามัยโลก (WHO press
release, 1998) ได้สรุปถึงปัญหาดังกล่าวไว้ดังนี้คือ


- ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างปัญหาสายตาและต้อกระจกในการทำงานกับคอมพิวเตอร์แต่อาจพบปัญหาตาล้า และอาการปวดศีรษะ ได้จากการเพ่งมองจอภาพคอมพิวเตอร์ที่มีแสงจ้า หรือแหล่งแสงสว่างสะท้อนอยู่ที่จอภาพเป็นเวลานาน

- รายงานการศึกษาวิจัยทางระบาดวิทยาและการศึกษาในสัตว์ทดลอง หลายๆ ฉบับไม่สามารถอธิบายได้ถึงผลกระทบของรังสีจากภาพคอมพิวเตอร์ที่มีผลต่อการตั้งครรภ์ของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ อย่างไรก็ตาม ปัญหาความเครียด ความกังวลและท่าทางของการทำงานที่ต้องนั่งเป็นเวลานานๆ ซึ่งเป็นปัจจัยทางเออร์โก-โนมิคส์ อาจส่งผลให้เกิดความผิดปกติของทารกในครรภ์ได้

- ปัญหาผื่นคันตามผิวหนังในกลุ่มผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ก็ไม่สามารถพิสูจน์ยืนยันได้จากการทดสอบในห้อง
ปฏิบัติการว่ามีสาเหตุมาจากการสัมผัสสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ในช่วงคลื่นความถี่ที่แผ่ออกมาจากจอภาพคอม-พิวเตอร์

สำหรับการศึกษาวิจัยทางสรีระวิทยาของตาในผู้ใช้คอมพิวเตอร์ 35 คน โดย สสิธร และ Saito (ปีพ.ศ. 2536) ได้ข้อแนะนำในการจัดสภาพแวดล้อมการทำงานกับคอมพิวเตอร์ ดังนี้

(1) จอภาพคอมพิวเตอร์ควรอยู่ต่ำกว่าระดับสายตา เพื่อการมองลงขณะทำงานซึ่งสบายตากว่าการมองขึ้น
(2) ระยะในการมองควรอยู่ระหว่าง 50-70 ซ.ม. และ
(3) จอภาพคอมพิวเตอร์ควรมีลักษณะ ตัวหนังสือมืดบนพื้นสว่าง ภายใต้ระดับการส่องสว่างของแสง 500 ลักซ์






เมตตา (ปี พ.ศ.2538) ได้ทำการศึกษาผลกระทบต่อสายตาของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ 40 คน โดยพบว่า ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ที่สายตาสั้น มักเกิดความล้าของตาและสายตาสั้นลงชั่วคราวมากกว่าผู้ใช้คอมพิวเตอร์ที่มีสายตาปกติ นอกจากนี้ สมพร (ปี พ.ศ.2539) ยังพบปัญหาความล้าของตาเกิดขึ้นหลังจากทำงานกับคอมพิวเตอร์ผ่านไปแล้ว 1 ชั่วโมง และหายเป็นปกติหลังจากหยุดพัก 10 นาที



ภาพแสดงถึงการจัดและปรับสถานีงานคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสม



กองอาชีวอนามัย กรมอนามัย ได้ดำเนินการศึกษาวิจัยในกลุ่มผู้ใช้คอมพิวเตอร์จากหลายๆ หน่วยงานรวมทั้งสิ้น 152 คน พบว่า สภาพการทำงานส่วนใหญ่ไม่เหมาะสมต่อการทำงาน โดยเฉพาะการจัดสถานีงาน ทั้งนี้มีผู้ใช้คอมพิวเตอร์ 92% ที่ทราบถึงผลกระทบต่อตา ในขณะที่มีเพียง 3% ที่ทราบถึงผลกระทบต่อระบบกล้ามเนื้อ กระดูกและข้อต่อ เนื่องจากการใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ สำหรับปัญหาความเครียดนั้น ไม่พบในการศึกษาครั้งนี้ (สสิธร และคณะ 2537) และในปี พ.ศ. 2538 กองอาชีวอนามัยได้ดำเนินการตรวจวัดระดับปริมาณรังสีที่แผ่ออกมาจากจอภาพคอมพิวเตอร์ในกรมอนามัย ซึ่งในขณะนั้นมีอยู่ทั้งสิ้น 71 เครื่อง โดยใช้เครื่อง วัดรังสี VDT Radiation Survey Meter, MI 3600 พบว่า ระดับรังสีคลื่นแม่เหล็ก ไฟฟ้าที่แผ่ออกมาจากจอภาพคอมพิวเตอร์ลดระดับลงมากตามระยะทางที่ห่างจากจอภาพออกไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ระดับ 30 ซ.ม. ห่างจากด้านหน้าของจอภาพ ระดับรังสีนั้นลดลงต่ำกว่าค่ามาตรฐานมาก ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว ผู้ใช้คอมพิวเตอร์มักนั่งห่างจากจอภาพโดยประมาณ 50-70 ซ.ม. นอกจากนี้ยังพบว่าแผ่นกรองแสงที่ใช้ติดหน้าจอภาพโดยทั่วไป ช่วยลดระดับการสัมผัสรังสีลงได้บ้าง (กราฟที่ 1 และ 2) การศึกษาวิจัยนี้สรุปได้ว่า การทำงานกับคอมพิวเตอร์ไม่ได้เป็นสาเหตุของปัญหาสุขภาพอนามัย ที่มีผลมาจากรังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ดังเช่นหลายๆ คนกังวลกันอยู่ (สสิธร และธรณพงศ์. 2539)


ข้อเสนอแนะในการจัดสถานีงานคอมพิวเตอร์

ภาพที่ 1 แสดงถึง การจัดและปรับสถานีงานคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสม โดยผู้ใช้คอมพิวเตอร์แต่ละคน ควรปรับระดับที่เหมาะสมของสถานีงานของตนเอง เพื่อให้ได้ท่าทางการนั่งทำงานที่เหมาะสมที่สุด เพื่อป้องกันปัญหาตาล้า และความผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อ กระดูก และข้อต่อของร่างกาย คำแนะนำในการจัดสถานีงานคอมพิวเตอร์ มีดังนี้ คือ

- จอภาพคอมพิวเตอร์ควรอยู่ต่ำกว่าระดับสายตาในแนวประมาณ 20 องศา
- ระยะในการมอง ควรอยู่ระหว่าง 50-70 ซ.ม.
- เก้าอี้ปรับระดับได้ และ/หรือ โต๊ะปรับระดับความสูงได้
- นั่งหลังตรง หลังพิงพนักพิง และ
- จอภาพควรเป็นประเภทตัวหนังสือมืดบนพื้นสว่างภายใต้ระดับความส่องสว่างของแสง ประมาณ 300-500 ลักซ์











ขอขอบคุณที่มา : http://advisor.anamai.moph.go.th
                          ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต





 













 
๏ปฟ












เธซเธ™เน‰เธฒเนเธฃเธ | เน€เธเธตเนˆเธขเธงเธเธฑเธšเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธ„เธฃเธทเธญเธ‚เนˆเธฒเธขเนเธฅเธฐเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธ–เธดเธ•เธด | เธเธฒเธฃเธˆเธฑเธ”เธเธฒเธฃเธ„เธงเธฒเธกเธฃเธนเน‰ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ•เธดเธ”เธ•เนˆเธญเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธˆเน‰เธฒเธซเธ™เน‰เธฒเธ—เธตเนˆเธ”เธนเนเธฅเธฃเธฐเธšเธš
เนเธ™เธฐเธ™เธณเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เนˆเธฒเธงเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เน€เธเธฒเธฐเธ•เธดเธ”เธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธกเน€เธ”เนˆเธ™ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™เธ—เธตเนˆเน€เธเธตเนˆเธขเธงเธ‚เน‰เธญเธ‡ | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™| เธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™เธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž| เธเน‰เธฒเธงเนƒเธซเธกเนˆเธเธฑเธš HISO | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธžเธ›เธฃเธฐเน€เธ—เธจเน„เธ—เธข
เธเธฒเธฃเธงเธดเน€เธ„เธฃเธฒเธฐเธซเนŒเธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เน€เธฃเธทเนˆเธญเธ‡เน€เธฅเนˆเธฒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธทเนˆเธญเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เนเธšเธšเธชเธณเธฃเธงเธˆเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | webbord | เธ„เธณเธ–เธฒเธกเธ—เธตเนˆเธžเธšเธšเนˆเธญเธข | เธชเธกเธธเธ”เน€เธขเธตเนˆเธขเธกเธŠเธก | เธšเธฃเธดเธเธฒเธฃเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅ