เรื่องเล่าข่าวสุขภาพ | สมรรถภาพร่างกาย | สุขภาวะทางจิต | สุขภาพกับความงาม | สื่อกับสุขภาพ | สมุนไพรเพื่อสุขภาพ | ธรรมะกับสุขภาพ






คอมพิวเตอร์กับสุขภาพ





 

ผู้ที่ทำงานใช้สายตาในระยะใกล้เป็นเวลานานๆ เช่น อ่านหนังสือ ใช้จอคอมพิวเตอร์ อาจ จะเกิดอาการไม่สบายได้คล้ายๆ กันคือ ปวดคอ ปวดหลัง เคืองตา เมื่อยตา ปวดตา และปวดศีรษะ นอกจากนี้ยังสงสัยว่าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่กระจายออกมาจากจอคอมพิวเตอร์จะเพิ่มอันตรายให้หรือไม่ องค์การอนามัยโลกจึงได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นศึกษาผลกระทบต่อสุขภาพจากการใช้จอคอมพิวเตอร์และ มีคำแนะนำดังนี้

1. ผู้ที่ใช้จอคอมพิวเตอร์ควรแก้ปัญหาสายตาด้วยแว่นที่เหมาะสม
2. ควรใช้จอภาพที่มีคุณภาพดี ปัจจัยที่ควรคำนึงถึง ได้แก่ ความคมชัดของภาพ ความสว่าง ภาพไม่กระพริบและอื่นๆ
3. การปรับแสงสว่างให้พอเหมาะจะช่วยลดอาการไม่สบายตาได้
4. จอภาพสมัยใหม่ที่มีสารเคลือบลดการสะท้อนแสงอยู่แล้วไม่ต้องใช้แผ่นกรองแสงติดภายนอกอีก เพราะความคมชัดของภาพจะลดลงทำให้ตาเมื่อยล้าได้
5. ปรับสภาพแวดล้อม เช่น อุณหภูมิ ลดเสียงรบกวนให้เหมาะกับการทำงาน
6. โต๊ะและเก้าอี้ต้องเหมาะสมกับผู้ใช้
7. ไม่จำเป็นต้องใช้แผ่นตะกั่วป้องกันรังสีเอ็กซเรย์ที่แพร่จากจอภาพ แม้สตรีตั้งครรภ์ก็ไม่ต้องใช้* เพราะรังสีที่กระจายรวมทั้งคลื่นอื่นๆมีปริมาณน้อยกว่าค่ามาตรฐานที่ปลอดภัยหลายร้อยเท่า
8. หากมีปัญหาการมองเห็นควรพบแพทย์

* หมายเหตุ สถาบันสุขภาพแห่งชาติ กระทรวงแรงงานของญี่ปุ่น แนะนำว่าหากเป็นไปได้ควรให้สตรีมีครรภ์เลี่ยงไปทำงานอื่น

ในแง่สภาพแวดล้อม เพื่อช่วยลดอาการผิดปกติอันเกิดจากการทำงานระยะใกล้ติดต่อกันเป็นเวลานาน มีข้อแนะนำดังนี้

1. ปรับแสงสว่างให้พอเหมาะทั้งบนจอคอมพิวเตอร์และแสงสว่างรอบข้างโดยทั่วไปควรให้ แสงบนจอสว่างเป็น 3 เท่าของความสว่างในห้องทำงาน ไม่ควรดับไฟในห้องแล้วเปิดแต่จอภาพ

2. ปรับระดับจอภาพให้อยู่ต่ำกว่าระดับสายตาประมาณ 15-20 องศา เพราะท่าที่ตาเหลือบมองลงล่างเล็กน้อยจะให้ความสบาย ไม่ต้องเงยหน้าซึ่งอาจทำให้ปวดคอ ไหล่ และหลังได้

3. สำหรับผู้มีสายตาคนแก่ (สายตายาว) ซึ่งมักเริ่มเมื่ออายุประมาณ 40 ปี ควรเลือกใช้แว่นชนิดชั้นเดียว (มองใกล้อย่างเดียว) ในการทำงานหน้าจอ เพราะจะได้ลานสายตากว้างกว่า และควรบอกผู้ประกอบแว่นว่าต้องการใช้งานที่ระยะ 50-70 เซนติเมตร มิฉะนั้นช่างจะตัดให้เห็นชัดที่ระยะอ่านหนังสือ คือ 30 เซนติเมตร

4. โต๊ะ เก้าอี้ แป้นพิมพ์ ระดับความสูงคอมพิวเตอร์ ควรเป็นแบบปรับให้สูงต่ำได้ตามต้องการ ท่านั่งที่สบายถูกสุขลักษณะคือ

- ให้จออยู่ต่ำกว่าระดับสายตาเล็กน้อย
- โต๊ะและเก้าอี้สูงพอเหมาะที่จะนั่งได้โดยหลังตรง
- ควรมีที่วางข้อมือระหว่างแป้นพิมพ์กับขอบโต๊ะ เพื่อลดการเกร็งของกล้ามเนื้อแขนและไหล่











ขอขอบคุณที่มา : http://www.vcharkarn.com/include/article/showarticle.php?aid=18906
                          ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต





 













 
๏ปฟ












เธซเธ™เน‰เธฒเนเธฃเธ | เน€เธเธตเนˆเธขเธงเธเธฑเธšเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธ„เธฃเธทเธญเธ‚เนˆเธฒเธขเนเธฅเธฐเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธ–เธดเธ•เธด | เธเธฒเธฃเธˆเธฑเธ”เธเธฒเธฃเธ„เธงเธฒเธกเธฃเธนเน‰ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ•เธดเธ”เธ•เนˆเธญเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธˆเน‰เธฒเธซเธ™เน‰เธฒเธ—เธตเนˆเธ”เธนเนเธฅเธฃเธฐเธšเธš
เนเธ™เธฐเธ™เธณเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เนˆเธฒเธงเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เน€เธเธฒเธฐเธ•เธดเธ”เธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธกเน€เธ”เนˆเธ™ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™เธ—เธตเนˆเน€เธเธตเนˆเธขเธงเธ‚เน‰เธญเธ‡ | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™| เธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™เธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž| เธเน‰เธฒเธงเนƒเธซเธกเนˆเธเธฑเธš HISO | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธžเธ›เธฃเธฐเน€เธ—เธจเน„เธ—เธข
เธเธฒเธฃเธงเธดเน€เธ„เธฃเธฒเธฐเธซเนŒเธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เน€เธฃเธทเนˆเธญเธ‡เน€เธฅเนˆเธฒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธทเนˆเธญเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เนเธšเธšเธชเธณเธฃเธงเธˆเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | webbord | เธ„เธณเธ–เธฒเธกเธ—เธตเนˆเธžเธšเธšเนˆเธญเธข | เธชเธกเธธเธ”เน€เธขเธตเนˆเธขเธกเธŠเธก | เธšเธฃเธดเธเธฒเธฃเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅ