เรื่องเล่าข่าวสุขภาพ | สมรรถภาพร่างกาย | สุขภาวะทางจิต | สุขภาพกับความงาม | สื่อกับสุขภาพ | สมุนไพรเพื่อสุขภาพ | ธรรมะกับสุขภาพ






นัยน์ตากับคอมพิวเตอร์





 

จากที่เรา ๆ ท่าน ๆ ต้องทำงานเกี่ยวกับเครื่องคอมพิวเตอร์ แน่นอนย่อมมีผลกับนัยน์ตา ซึ่งมักจะมีอาการปวดตาสำหรับผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ ซึ่งจักษุแพทย์ได้พบว่ามีหลาย ๆ สาเหตุที่ทำให้นัยน์ตาต้องเสี่ยงภัยจากเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นผลทำให้เกิดอาการปวดตา พอจะแจกแจงได้ดังนี้

- ความเสี่ยงภัยจากการใช้เวลาทำงานส่วนใหญ่กับคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นหนทางที่ก่อให้เกิดอันตรายกับนัยน์ตา
- ความไม่พอเพียงหรืออันตรายที่เกิดจากแสงและสภาพบนจอภาพ
- สภาพของนัยน์ตาที่แย่อยู่ก่อนแล้วรวมทั้งสภาพการทำงาน
- การใช้นัยน์ตาเพ่งมองหรือจ้องมองเค้นของนัยน์ตา


ลักษณะการทำงานของนัยน์ตา

สาเหตุที่พบบ่อยในการทำให้เกิดอาการเมื่อยตาหรือปวดตา นั่นก็คือการที่เราพยายามใช้นัยน์ตาในการมองภายใต้สภาวะที่เสี่ยงภัยหรือเป็นอันตรายกับนัยน์ตา การทำงานของนัยน์ตาถูกควบคุมโดยกล้ามเนื้อตา ซึ่งกล้ามเนื้อจะทำงานอย่างเหน็ดเหนื่อยและรัดเกร็ง สำหรับผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่พยายามใช้นัยน์ตาในการมองแต่ละวันนั้นคุณอาจจะต้องตกใจว่านัยน์ตานั้นมีการ 30,000 ครั้ง/วัน กล้ามเนื้อตาที่ถูกใช้ในการมองข้อความบนกระดาษหน้าหนึ่ง, การกระตุกของจอภาพ, การปรับสายตาในการมองสิ่งต่าง ๆ หรือเปลี่ยนโฟกัสในการมองและกลับมามองที่หน้าจออีกครั้ง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นหน้าที่ของกล้ามเนื้อตาทั้งสิ้น

การพิมพ์ตัวอักษรที่ปรากฎอยู่บนหน้าจอเครื่องคอมพิวเตอร์ในสภาพการทำงานที่หลอดไฟในห้องมีความสว่างมากเกินwb และทำให้จอภาพของคุณมองไม่ชัดเหมือนหมอกมาบดบังอยู่หน้าจอนั่น เกิดจากการสะท้อนของแสงที่ตกกระทบกับจอคอมพิวเตอร์ของคุณ ทำให้ต้องมีการเพ่งไปที่จอภาพเป็นระยะเวลานานในการทำงานอยู่กับเครื่องคอมพิวเตอร์ จะมีการเลื่อนโฟกัสของสายตาที่จ้องมองบนจอภาพ เพื่อทำการอ่านข้อความบนจอภาพซึ่งได้จากการพิมพ์ลงไปบนคีย์บอร์ด จากสาเหตุต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดอาการเมื่อยตาหรือปวดตานั้นยังไม่อาจบอกแน่นอนว่าเป็นสาเหตุใดที่แท้จริง บางอาการก็เกิดจากการเครียดกับการทำงานหรือการติดเชื้อ ฉะนั้นเราจึงไม่ควรรีรอในการปรึกษาหาคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญในการดูแลรักษานัยน์ตาหรือจักษุแพทย์


อาการที่นัยน์ตาถูกใช้อย่างหักโหม


การมองเห็นสี
เมื่อมีการจ้องดูที่จอเป็นระยะเวลานาน ๆ ซึ่งตัวอักษรบนจอมีการแสดงสีเป็นสีเขียวบนพื้นจอดำ คุณจะรู้สึกว่าการมองเห็นสีนั้นยากขึ้นเมื่อคุณลองมองไปที่อื่นหลังจากที่มองจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ๆ ปรากฏการณ์เช่นนี้ถูกเรียกว่า "The McCulloch afterimage" ที่เกิดจากปริมาณของสีเคมีพิเศษที่อยู่ในเรตินาลดลง อย่างไรก็ตามนัยน์ตาก็จะสร้างสีให้เกิดใหม่ได้ในไม่ช้าหลังจากที่สีเคมีดังกล่าวขาดหายไปชั่วขณะหนึ่ง


การมองเห็นภาพซ้อน
การมองเห็นภาพซ้อนเกิดจากกกล้ามเนื้อตาที่ควบคุมการรวมกันของภาพที่จุด ๆ เดียว ที่ตาทั้งสองข้างจะรวมภาพที่จุด ๆ หนึ่ง แต่เหมือนกับมีบางสิ่งมาอยู่ใกล้ ๆ กับจุดโฟกัสนั้น เมื่อเราพยายามมองก็จะทำให้เกิดเป็นภาพซ้อน ๆ กัน ซึ่งมักพบได้บ่อย ๆ ภาพที่เห็นซ้อน ๆ กันนี้บางครั้งก็ไม่รู้สึกหรือไม่เกิดขึ้นโดยตรง แต่จะรู้สึกปวดหัวหรือเกิดอาการล้านัยน์ตา ภาพซ้อนก็เป็นอาการหนึ่งของความเครียดทางสุขภาพนัยนต์ตาเช่นกัน ถ้าพบว่าเห็นภาพซ้อนปรากฎทันทีหรือเป็นอยู่เรื่อย ๆ คุณควรจะไปพบหรือปรึกษากับจักษุแพทย์ทันที


ปัญหาจากโฟกัส
เมื่อกล้ามเนื้อซิเลียรี (ciliary) เกิดอาการล้าหรือตึงเครียด ซึ่งกล้ามเนื้อ ciliary เป็นกล้ามเนื้อที่มีความสัมพันธ์ระหว่าง ciliary body กับโครงสร้างของตาโดย ciliary body จะมีลักษระเหมือนกับเยื่อหุ้มหลอดเลือดที่มีความหนาอยู่ระหว่างส่วนที่เรียกว่า คอรอยด์ (choriod) และม่านตา (iris) ซึ่งเมื่อกล้ามเนื้อซิเลียรีเกิดอาการดังกล่าวก็จะทำให้ไม่สามารถมองเห็นจุดโฟกัสของภาพนั้นได้อย่างสมบูรณ์ อาการที่เกิดขึ้นกับนัยน์ตาที่เมื่อยล้าหรือเกิดจากการเค้นจ้องจะทำให้ความสามารถในการกำหนดโฟกัสของสายตา wbr>w ในส่วนของกล้ามเนื้อซิเลียรี (ciliary) หากต้องถูกใช้งานอย่างหนักโดยการทำงานอย่างซ้ำ ๆ เพื่อเลื่อนโฟกัสมองตามตัวอักษรที่พิมพ์หรือกวาดสายตาตามตัวอักษรที่พิมพ์บนจอภาพ หรือการที่พยายามมองอยู่ที่โฟกัสเดิมเป็นเวลานาน ๆ ก็เป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการล้าและอาจทำให้สายตาหรือกล้ามเนื้อส่วนนี้เสื่อมไปด้วย


อาการปวดหัว
เมื่อคุณต้องใช้สายตาอย่างหนักโดยการเค้นหรือจ้องมองเขม็งเป็นเวลานาน ๆ บนจอคอมพิวเตอร์ คุณก็อาจจะเกิดอาการปวดหัว ซึ่งคอมพิวเตอร์กับอาการปวดหัวนั้นเกิดจากความเครียดที่มีสาเหตุจากกล้ามเนื้อในบริเวณคอและบริเวณศีรษะเกิดความตึงเครียด และที่พบได้ทั่ว ๆ ไปก็คือ ส่วนของขมับ อาการปวดหัวนี้อาจไม่ใช่สาเหตุโดยตรงที่เกิดจากความเมื่อยล้าของนัยน์ตา แต่เป็นผลข้างเคียงจากความพยายามในการจ้องมองในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม หรือจากการพยายามที่จะมองตำแหน่งนั้น ๆ หรือเอียงศีรษะเพื่อที่จะมองให้เห็นทั้งสองจุดโฟกัสที่อยู่ในตำแหน่งที่คงที่หรือกำลังเคลื่อนที่ ล้วนแล้วแต่ทำให้กล้ามเนื้อสายตาเกิดอาการล้า กล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่ควบคุมโดยตรง "กล้ามเนื้อควบคุมม่านตา (iris)" ซึ่งควบคุมการผ่านเข้าของแสง และ "กล้ามเนื้อซิเลียรี (ciliary)" ที่ควบคุมการทำงานของเลนส์เพื่อที่จะทำให้การเปลี่ยนระยะของโฟกัสหรือทำการปรับโฟกัสของเลนส์ หากสายตาของคุณมีโฟกัสที่สั้นหรือสายตาสั้น ก็จะทำให้คุณปวดหัว และมีอาการเมื่อยล้านัยน์ตาได้ง่าย


ป้องกันและบรรเทาอาการปวดตา


คุณสามารถที่จะป้องกันอาการปวดตาด้วยตัวคุณเองโดยการเปลี่ยนตารางเวลาการทำงานด้วยคอมพิวเตอร์, สภาพแวดล้อมต่าง ๆ และบางครั้งอาจจะต้องทำตามตัวอย่างต่อไปนี้

หยุดพักสายตา
หยุดพักหรือเปลี่ยนตารางเวลาการทำงานใหม่ เพื่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงของประสาทตา The National Institute of Occupational Safety and Health (NIOSH) ได้แนะนำให้มีการหยุดพักสายตาโดยจะหยุดพักสายตาครั้งละ 15 นาที ทุก ๆ 2 ชั่วโมง ซึ่งจัดว่าเป็นระดับปานกลางสำหรับการทำงานที่อยู่กับหน้าจอคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า The Video Display Terminal (VDT) หรือหยุดพักทุก ๆ ชั่วโมงเพื่อลดการเสี่ยงภัยจากจอภาพ ผู้เชี่ยวชาญบางคนก็ได้แนะนำว่าควรจะมีการหยุดพักบ่อย ๆ โดยแต่ละครั้งใช้เวลาเพียงนิดหน่อย

หลีกเลี่ยงจากต้นเหตุ
เมื่อลุกไปจากตำแหน่งที่กำลังทำงานด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์แล้ว ระหว่างนั้นก็เป็นการหยุดพัก โดยหลับตาหรือทำการบริหารตาเพื่อให้นัยน์ตาได้พักและช่วยลดอาการเมื่อยล้าได้

หลีกเลี่ยงการทำงานด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์
มีคนจำนวนไม่น้อยเลยที่ไม่ต้องทำงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์ และก็มีการหยุดพักสายตาบ่อย ๆ ตลอดทั้งวัน จึงมักไม่ค่อยมีปัญหาเกิดกับดวงตามากนัก

พักผ่อน
นัยน์ตาที่ต้องจ้องเพ่งควรจะมีการฝึกการหยุดเพ่งสายตาหรือจ้องมองเป็นเวลานาน ๆ วิธีที่ดีที่สุดก็คงเป็นการล้มตัวลงนอนและหลับตาเพียง 2-3 เวลาและปิดไฟ วางผ้าชุบน้ำหมาด ๆ ไว้บนเปลือกตา พักผ่อนและไม่ต้องกังวลกับสิ่งใด ๆ

ควบคุมความสว่างและจอภาพ
การควบคุมความสว่างภายในสภาพแวดล้อมการทำงานก็นับว่าจำเป็น ซึ่งจะช่วยบรรเทาอาการปวดหรือเมื่อยล้าตาได้, ลดการเพ่งมอง, การสะท้อนของแสงต่าง ๆ และความไม่เพียงพอของแสงในการอ่านตัวอักษร โดยคุณจะต้องปรับความสว่างที่จอคอมพิวเตอร์ให้มีความสว่างที่พอดี ซึ่งหากทำงานกับคอมพิวเตอร์ในสภาพแวดล้อมที่มีแสงจ้าและจอภาพก็มีความสว่างมากก็ยิ่งส่งผลเสียให้กับ คุณจะรู้สึกทันทีว่ามีอาการปวดร้าวดวงตาเร็วและแสบตาอย่างรุนแรง ดังนั้นควรควบคุมความสว่างจากสภาพแวดล้อมและที่จอคอมพิวเตอร์ด้วย เพื่อสุขภาพตาของคุณ

ขยายพื้นที่ในการทำงาน
ในระหว่างที่มีการกวาดสายตาเพื่อทำการอ่านข้อความบนจอเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเมื่อยล้าตา และปวดตาได้ง่าย ถ้าหากว่าระยะห่างระหว่างตากับจอภาพไม่สัมพันธ์กัน เช่น ในขณะพิมพ์ตัวอักษรให้ปรากฏบนจอภาพ ตำแหน่งของจอภาพควรห่างจากนัยน์ตาก็ควรจะห่างกันประมาณ 18-24 นิ้ว และระดับของสายตาในการมองควรจะทำมุม 15 องศากับแนวนอน


ตัวบ่งบอกเกี่ยวกับสายตา


เกิดอะไรขึ้นเมื่อคุณมองดูหน้าจอคอมพิวเตอร์ของคุณเองไม่ชัด หรือบางครั้งอาจมองเห็นภาพซ้อน และในขณะที่ทำงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์มักจะเกิดอาการปวดคอ ซึ่งอาการเหล่านี้ไม่เป็นเพียงกับคุณคนเดียวเท่านั้น แต่ยังมีผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์อีกนับล้าน ๆ คนที่ต้องทนทรมานกับอาการเมื่อยล้ากล้ามเนื้อตาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ดังเหตุทั้งสองที่จะกล่าว

- การทำงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องใช้สายตา และข้อบกพร่องของสายตาที่เกิดขึ้นอยู่ก่อนแล้ว ที่เป็นต้นเหตุให้เมื่อยล้าตาได้ แต่ถ้าหากคุณไม่รู้สึกตัวว่าเกิดข้อบกพร่องกับตาของคุณแล้วจะทำให้ยากแก่การมองเห็นจอภาพได้wbr>wbr>wกรณีที่เกิดข้อบกพร่องกับตาแล้ว

- สายตาที่มีปัญหา ซึ่งมีวิธีการแก้ปัญหาที่เกิดกับสายตาจากเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งการทำงานด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องทำการแก้ปัญหาเกี่ยวกับสายตาเพื่อให้สามารถมองจอภาพได้ดี

เนื่องจากสายตาของคนเรานั้นมักจะเสื่อมไปตามอายุ ผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ล้วนแต่ต้องการมีสุขภาพตาที่ดี และวิธีการในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับสายตา แว่นตาหรือคอนแทคเลนส์ช่วยให้การมองดีขึ้นและสะดวกสบายสำหรับผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์นับล้าน ๆ คน


ส่งท้าย


อาการปวดตาและเมื่อยล้าของนัยน์ตาก็คงจะเคยเกิดกับผู้ที่ทำงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์บ้างแล้ว ซึ่งเกิดจากการจ้องมอง เพ่งมองตัวอักษรที่พิมพ์ออกทางจอภาพ หรือสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมกับการทำงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์ล้วนแล้วแต่ส่งผลเสียหายให้กับดวงตาของเรา ฉะนั้นนัยน์ตาของคนเรานับว่ามีค่ายิ่งควรแก่การทนุถนอมไว้ โดยการหลีกเลี่ยงต้นเหตุ และป้องกันโดยการหยุดพักสายตาและกะพริบตาบ่อย ๆ ในระหว่างทำงานอยู่กับหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือวิธีการอื่น ๆ เช่น การใส่แว่นตา หรือคอนแทคเลนส์ที่เหมาะสมกับสายตา เพื่อช่วยให้ดวงตาอยู่กับเราตราบนานเท่านาน











ขอขอบคุณที่มา : กัลยา เบญจพร วารสารไมโครคอมพิวเตอร์ ยูสเซอร์ ฉบับที่ 11
                          http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet1/software/eye/
                          ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต





 













 
๏ปฟ












เธซเธ™เน‰เธฒเนเธฃเธ | เน€เธเธตเนˆเธขเธงเธเธฑเธšเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธ„เธฃเธทเธญเธ‚เนˆเธฒเธขเนเธฅเธฐเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธ–เธดเธ•เธด | เธเธฒเธฃเธˆเธฑเธ”เธเธฒเธฃเธ„เธงเธฒเธกเธฃเธนเน‰ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ•เธดเธ”เธ•เนˆเธญเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธˆเน‰เธฒเธซเธ™เน‰เธฒเธ—เธตเนˆเธ”เธนเนเธฅเธฃเธฐเธšเธš
เนเธ™เธฐเธ™เธณเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เนˆเธฒเธงเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เน€เธเธฒเธฐเธ•เธดเธ”เธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธกเน€เธ”เนˆเธ™ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™เธ—เธตเนˆเน€เธเธตเนˆเธขเธงเธ‚เน‰เธญเธ‡ | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™| เธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™เธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž| เธเน‰เธฒเธงเนƒเธซเธกเนˆเธเธฑเธš HISO | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธžเธ›เธฃเธฐเน€เธ—เธจเน„เธ—เธข
เธเธฒเธฃเธงเธดเน€เธ„เธฃเธฒเธฐเธซเนŒเธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เน€เธฃเธทเนˆเธญเธ‡เน€เธฅเนˆเธฒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธทเนˆเธญเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เนเธšเธšเธชเธณเธฃเธงเธˆเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | webbord | เธ„เธณเธ–เธฒเธกเธ—เธตเนˆเธžเธšเธšเนˆเธญเธข | เธชเธกเธธเธ”เน€เธขเธตเนˆเธขเธกเธŠเธก | เธšเธฃเธดเธเธฒเธฃเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅ