เรื่องเล่าข่าวสุขภาพ | สมรรถภาพร่างกาย | สุขภาวะทางจิต | สุขภาพกับความงาม | สื่อกับสุขภาพ | สมุนไพรเพื่อสุขภาพ | ธรรมะกับสุขภาพ






สัญญาณอันตราย (จากโทรศัพท์มือถือ)



 

การใช้โทรศัพท์มือถืออาจทำให้มีอาการปวดหัวได้ เพราะหลักการรับ-ส่งสัญญาณของโทรศัพท์มือถือ คือ การแปลงเสียงพูดให้เป็นกระแสไฟฟ้า ก่อนส่งออกไปในอากาศ โดยอาศัยคลื่นพา เช่น คลื่นไมโครเวฟ แล้วไปตามสถานีเครือข่าย ที่มีทั่วประเทศไทย โดยผ่านทางเสาอากาศ

ปกติเรานำคลื่นไมโครเวฟมาใช้ในการอุ่นอาหาร เนื่องจากคลื่นถูกดูดซึมจากส่วนประกอบที่มีน้ำได้ดี และถ้ามีความเข้มสูงพอจะเกิดเป็นความร้อน ทำให้อาหารนั้นร้อนขึ้นหรือสุกได้ ถึงแม้คลื่นไมโครเวฟ ที่กระจายอยู่ในอากาศยังไม่มีความเข้มถึงขีดอันตรายที่จะเกิดความร้อนได้ แต่เสาอากาศของโทรศัพท์มือถือได้ดึงดูดคลื่นไมโครเวฟเข้าสู่เครื่องโทรศัพท์ ทำให้บริเวณที่อยู่ใกล้เสาอากาศ คือ ศีรษะจะได้รับคลื่นไมโครเวฟในปริมาณมากจนอาจเป็นสาเหตุให้เกิดอาการปวดศีรษะได้

ดังนั้นผู้ที่ใช้โทรศัพท์มือถือจำเป็นต้องหยุดใช้เครื่องชั่วคราวเมื่อมีอาการปวดศีรษะ และเปลี่ยนมาใช้โทรศัพท์ที่บ้าน หรือที่สำนักงานแทน มิฉะนั้นสมองอาจค่อยๆกระทบกระเทือนจนไม่ปลอดภัย ในรายที่ยังไม่ปวดศีรษะ ควรติดตั้งเสาอากาศโทรศัพท์ให้สูงเลยศีรษะไป อาจช่วยลดอันตรายของคลื่นไมโครเวฟได้บ้าง

ข้อเสียอื่นๆ สำหรับผู้ที่ใช้โทรศัพท์เป็นประจำคือ อาจมีอาการหูตึง เนื่องจากเสียงโทรศัพท์ไม่ชัดเจน มีเสียงรบกวนอยู่ตลอดเวลา ถ้าไม่ได้ใช้โทรศัพท์ในตำแหน่งที่รับส่งคลื่นได้สะดวก บุคลิกภาพของผู้ใช้โทรศัพท์ต้องเสียไป เนื่องจากต้องพะวักพะวงกับการหาตำแหน่งที่รับฟังได้ชัดเจน และยังต้องตะโกนพูดอยู่คนเดียว

การโทรไม่ติด หรือหลุดบ่อยทำให้อารมณ์เสีย หงุดหงิด สุขภาพจิตเสื่อมลง กล้ามเนื้อคอ หัวไหล่มักจะเกร็งเนื่องจากต้องถือโทรศัพท์อยู่ตลอดเวลา และบางครั้งยังต้องพยายามเอียงคอ และใช้มือดันโทรศัพท์ให้แนบติดกับใบหูอยู่ตลอดเวลา การเกร็งตัวของกล้ามเนื้อคอ เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ปวดศีรษะ เพราะเมื่อกล้ามเนื้อหดตัวตลอดเวลา หลอดเลือดจะส่งเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ การแก้ไขอาจต้องใช้โทรศัพท์ที่มีขนาดเบา อย่าคุยโทรศัพท์นานเกินควร และถ้าอยู่ในรถอาจผ่านขยายเครื่องขยายเสียง และใช้ไมโครโฟนในการสนทนา ซึ่งในกรณีนี้นอกจากจะไม่เป็นผลเสียต่อสุขภาพแล้ว ยังลดอุบัติเหตุบนท้องถนนลงได้ หรือลดคำแช่งด่าจากผู้ที่ขับรถตามมาด้วย เพราะมัวแต่คุยโทรศัพท์จนทำให้รถติดขัด

ข้อเสียของโทรศัพท์มือถืออีกประการหนึ่งที่ทุกคนมักไม่ได้นึกถึง คือ ถ่านไฟที่ใช้กับโทรศัพท์มือถือประกอบด้วยสารอันตรายหลายชนิด ไส้แบตเตอรี่ในโทรศัพท์มือถือที่ท่านต้องเปลี่ยนตามเวลาทุก 12-18 เดือนนั้น กำลังจะเป็นปัญหาที่น่ากลัวสำหรับตัวท่านเอง ลูกหลานและมนุษยชาติในอนาคต ไส้แบตเตอรี่ที่ใช้ในถ่านโทรศัพท์มือถือมี 2 ชนิด คือ ชนิด NICAD (Nickel Cadmium Cells) และ Hydride (Nickel Metal Hydride Cells) สารประกอบที่ใช้ในถ่านชนิดแรกคือ NICAD จัดเป็นขยะอันตรายที่จะก่อโทษกับสุขภาพของคน และเกิดมลภาวะในสิ่งแวดล้อมได้ เนื่องจากขั้วลบของถ่านชนิดนี้เป็น แคดเมียมไฮดรอกไซด์ เมื่อบรรจุไฟแล้วจะกลายสภาพเป็นแคดเมียม ซึ่งเป็นสารก่อพิษในสิ่งมีชีวิตทุกชนิดในโลก แคดเมียมเป็นโลหะหนัก มีอยู่ในธรรมชาติจำนวนน้อย หากได้รับเข้าไปทีละน้อยจากการหายใจ กินหรือดื่ม ก็จะเกิดพิษเรื้อรังทีละน้อย ด้วยอาการสำคัญคือ ไตอักเสบ ไตวาย ข้อเสื่อม ถุงลมปอดโป่งพอง ระบบหายใจผิดปกติ และทำให้เกิดมะเร็งในอวัยวะหลายชนิด ที่น่ากลัวคือ แคดเมียมที่ถูกทิ้งจากการอุตสาหกรรม หรือแบตเตอรี่จะปนเปื้อนเข้าในดิน น้ำ ซึ่งสัตว์และพืชจะรับเข้าไปในตัว เมื่อคนกินสัตว์หรือพืชเข้าไป ก็จะได้รับแคดเมียมสะสมเข้าไปในปริมาณที่เกิดพิษได้ง่าย ขณะนี้ตัวเลขที่ได้จากการจดทะเบียนมือถือทั่วประเทศมีจำนวนมาก และมีจำนวนไม่น้อยที่ใช้แบตเตอรี่แบบ NICAD ซึ่งแต่ละก้อนจะมีอายุการใช้งานประมาณ 1 ปี ดังนั้นจะมีแบตเตอรี่ NICAD เป็นพิษทิ้งจำนวนหลายล้านก้อนต่อปี ขณะนี้มีประชาชนที่รู้ถึงพิษของขยะอันตราย และพยายามแยกขยะ แต่ก็ไม่สามารถที่จะหาที่ทิ้งที่ถูกต้อง หรือหาหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงได้











ขอขอบคุณที่มา : http://www.meetingmall.com
                          ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต





 













 
๏ปฟ












เธซเธ™เน‰เธฒเนเธฃเธ | เน€เธเธตเนˆเธขเธงเธเธฑเธšเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธ„เธฃเธทเธญเธ‚เนˆเธฒเธขเนเธฅเธฐเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธ–เธดเธ•เธด | เธเธฒเธฃเธˆเธฑเธ”เธเธฒเธฃเธ„เธงเธฒเธกเธฃเธนเน‰ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ•เธดเธ”เธ•เนˆเธญเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธˆเน‰เธฒเธซเธ™เน‰เธฒเธ—เธตเนˆเธ”เธนเนเธฅเธฃเธฐเธšเธš
เนเธ™เธฐเธ™เธณเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เนˆเธฒเธงเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เน€เธเธฒเธฐเธ•เธดเธ”เธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธกเน€เธ”เนˆเธ™ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™เธ—เธตเนˆเน€เธเธตเนˆเธขเธงเธ‚เน‰เธญเธ‡ | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™| เธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™เธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž| เธเน‰เธฒเธงเนƒเธซเธกเนˆเธเธฑเธš HISO | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธžเธ›เธฃเธฐเน€เธ—เธจเน„เธ—เธข
เธเธฒเธฃเธงเธดเน€เธ„เธฃเธฒเธฐเธซเนŒเธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เน€เธฃเธทเนˆเธญเธ‡เน€เธฅเนˆเธฒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธทเนˆเธญเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เนเธšเธšเธชเธณเธฃเธงเธˆเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | webbord | เธ„เธณเธ–เธฒเธกเธ—เธตเนˆเธžเธšเธšเนˆเธญเธข | เธชเธกเธธเธ”เน€เธขเธตเนˆเธขเธกเธŠเธก | เธšเธฃเธดเธเธฒเธฃเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅ