เรื่องเล่าข่าวสุขภาพ | สมรรถภาพร่างกาย | สุขภาวะทางจิต | สุขภาพกับความงาม | สื่อกับสุขภาพ | สมุนไพรเพื่อสุขภาพ | ธรรมะกับสุขภาพ






เกมออนไลน์



 

สถานการณ์การเมืองที่ทุกคนกำลังจับตามองอยู่ในขณะนี้ว่าใครจะมาเป็น นายกรัฐมนตรีแทน ทักษิณ ชินวัตร ในขณะที่สถานการณ์ปัญหาเด็กก็ยังมีให้เห็นอยู่เรื่อยๆ จะมีใครคิดบ้างหรือไม่ว่าช่วงปิดเทอม ของเด็กๆขณะนี้ยังมีปัญหาที่ เราผู้ใหญ่หรือคนทำงานที่เกี่ยวข้องกับเด็ก ทั้งภาครัฐและเอกชน จะต้องหันมาให้ความสำคัญ ทั้งในเรื่องการจัดกิจกรรมที่สร้างสรรค์ หรือมีกิจกรรมที่ดีๆสำหรับเด็กและเยาวชน เพื่อให้หลุดพ้นจากร้านเกมส์

จากที่มีการสำรวจจากเจ้าหน้าที่ของมูลนิธิฯ พบว่าช่วงปิดเทอมนี้เด็กๆในชุมชนได้เข้าไปเล่นเกมส์และใช้อินเตอร์เนตคุยกับกิ๊กแทบทุกวัน ในขณะที่ร้านเกมส์(บริเวณชุมชนหนึ่งมีประมาณ 7-8 ร้าน) ซึ่งหาเล่นได้ง่าย และร้านเกมก็มีการแข่งขันโปรโมชั่นแบบลดแลกแจกแถม เป็นที่ถูกใจเด็กๆที่จะมารวมกลุ่มกันเล่น ในขณะที่บางรายก็ซื้อแพคเก็ตในรูปแบบของแผ่น ซีดี นำไปเล่นที่บ้านแล้วชวนเพื่อนๆไปเล่นด้วย จนทำให้เกิดเหตุการณ์อย่างไม่มีใครคาดคิดว่าเด็กจะอินกับเกมส์อย่างที่เป็นข่าว (มติชนรายสัปดาห์ เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2549 "เด็ก 9 ขวบ อินจัด ปืนยิงหัวเพื่อนดับ เหตุการณ์เกิดที่จังหวัดชลบุรี เกมส์ที่กำลังฮิตของเด็กทั้ง 2 คือ "เคาน์เตอร์ สไตรก์" เป็นเกมที่ตำรวจไล่ยิงโจร )

ในขณะที่สำนักวิจัยเอแบคโพล มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ โครงการวิจัยพฤติกรรมการติดเกมออนไลน์ในกลุ่มเด็กและเยาวชนไทย เปิดเผยว่า ได้สุ่มตัวอย่างประชาชนที่มีอายุ 12 ปีขึ้นไป จำนวน 1,882 ตัวอย่างในเขต กทม.และปริมณฑลพบว่า ร้อยละ 21.4 เล่นเกมออนไลน์ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา ร้อยละ 14.6 ที่เล่นเกมออนไลน์ทุกวัน ขณะที่ร้อยละ 58.6 ระบุว่า ระยะเวลาในการเล่นเกมแต่ละครั้งนาน 1-2 ชั่วโมง กับร้อยละ 6.3 ที่เล่นเกมแต่ละครั้งนานกว่า 5 ชั่วโมง

ผลวิจัยยังระบุอีกว่า ค่าเล่นเกมโดยเฉลี่ยในแต่ละเดือนจะตกอยู่ที่คนละ 759.74 บาท ประเด็นสำคัญที่พบจากการวิจัยในครั้งนี้คือ กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 70.9 ยอมรับว่า การเล่นเกมออนไลน์ทำให้เกิดการติดเกมอยากเล่นบ่อยๆ ส่วนประเภทเกมที่ได้รับความนิยมคือเกมต่อสู้ มีจำนวนร้อยละ 37.7 รองลงมาคือเกมกีฬา

ขณะที่เกมแร็กนาร็อก ยังได้รับความนิยมอยู่ที่ร้อยละ 22.7 และร้อยละ 69.0 เล่นเกมตามเพื่อนและเล่นตามแฟชั่น โดยสถานที่เล่นเกมส่วนใหญ่จะเป็นร้านอินเตอร์เน็ต นอกจากนี้ ร้อยละ 56.9 ระบุว่าการเล่นเกมออนไลน์สามารถนำไปสู่การพนันแบบต่างๆได้ เมื่อถามว่าอยากให้รัฐบาลมีมาตรการอย่างไร ร้อยละ 80.2 ระบุว่าอยากให้รัฐบาลออกมาตรการควบคุมร้านคอมพิวเตอร์ให้เปิด-ปิดเป็นเวลา

ผลวิจัยถึงปัจจัยที่มีผลต่อการติดเกมออนไลน์ ในกลุ่มเด็กและเยาวชน กรณีศึกษาตัวอย่างเยาวชนที่เล่นเกมออนไลน์ในเขต กทม.และปริมณฑล ที่สำรวจเยาวชนที่มีอายุ 7-25 ปี จำนวน 1,300 ตัวอย่าง พบว่าในรอบ 30 วัน เด็กร้อยละ 22.2 ที่เล่นเกม 22-30 วัน ส่วนเวลาเฉลี่ยในการเล่นเกมร้อยละ 57.0 ระบุว่าเล่นเกมนานกว่า 3 ชั่วโมง และกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 42.2 ยอมรับว่าติดเกม เมื่อสอบถามถึงจำนวนร้านเกมในบริเวณใกล้ที่พักอาศัย มีถึงร้อยละ 22.0 ระบุว่ามีร้านอยู่มากกว่า 5 ร้าน และใช้เวลาในการเดินทางไปไม่ถึง 10นาที "เมื่อนำผลวิจัยจากทั้ง 2 โครงการ มาประมาณการ คณะวิจัยเชื่อว่าในเขต กทม. และปริมณฑล จะมีประชาชนจำนวนถึง 1,451,179 คน ที่นิยมเล่นเกมออนไลน์

โดยส่วนใหญ่จะใช้เวลาในการเล่นเกมนานกว่าวันละ 4 ชั่วโมง เมื่อคณะผู้วิจัยได้ศึกษานักเรียนรายหนึ่งพบว่า ก่อนที่จะติดเกมมีผลการเรียนอยู่ที่เกรด 2.70-2.80 แต่หลังจากติดเกมผลการเรียนก็ลดลง จนเหลือเทอมละ 0.4-0.5 เท่านั้น และยังพบประเด็นที่น่าสนใจอีกว่า เด็กอายุต่ำสุดที่ติดเกมมีอายุเพียง 6 ขวบเท่านั้น และเด็กคนนี้จะต้องเล่นเกมวันละ 1 ชั่วโมงทุกวัน ส่วนอายุมากที่สุดที่ติดเกมคือ 58 ปี เป็นแม่บ้านและมีลูกสาวเรียนอยู่ระดับมหาวิทยาลัย" (ศูนย์รวมข้อมูลสถิต สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์)

พ่อแม่หรือผู้ปกครอง อาจไม่สบายกับการเล่นเกมของลูก ไม่มั่นใจ ว่าลูกจะติดเกมหรือไม่ หรือคิดว่าเกมทำให้ลูกมีพฤติกรรมก้าวร้าว ไม่ยอมไปเรียน ตามที่เป็นข่าวที่เรารับรู้กัน ทำให้พ่อแม่เกิดความสงสัยและความคลางแคลงใจว่าจะยอมให้ลูกเล่นเกมต่อไปหรือไม่ จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกของเราติดเกมแล้วหรือยัง หากติดเกมแล้วจะมีวิธีการช่วยเหลือลูกอย่างไรได้บ้าง เคยมีนักวิชาการหลาย ๆ ท่านกล่าวว่า การที่เด็กติดเกมเป็นเพราะ พ่อแม่ ผู้ปกครองไม่ได้ตัดไฟแต่ต้นลม ไม่ได้กำหนดกติกาหรือฝึกให้ลูกมีวินัย เมื่อปล่อยเวลาเนินนานไปทำให้ลูกเคยชินกลายเป็นติดเกมจริง ๆ แล้วการที่เด็กติดเกม เป็นเพราะขาดการยับยั้งชั่งใจ ขาดการควบคุมตนเองนั่นเอง

การช่วยเหลือลูกติดเกม มีหลักเกณฑ์ว่าต้องค่อยเป็นค่อยไป ใช้เวลาในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อให้เด็กสามารถปรับตัวได้ ที่สำคัญพ่อแม่ต้องเป็นกำลังสำคัญให้กับลูกไม่ว่าจะเป็นกำลังกายและกำลังใจ มีการพูดคุยตกลงกำหนดกติการ่วมกับระหว่างพ่อแม่ลูก ว่าเล่นเกมได้เวลาใดบ้าง หรือ การจัดให้มีกิจกรรมสร้างสรรค์ทดแทน เพื่อสนับสนุนให้ลูกได้กล้าแสดงออก และแสดงความสามารถพิเศษ เช่น กิจกรรมนันทนาการ กิจกรรมดนตรีและ กีฬา การทำอาหารและ งานฝีมือ ควรมีกิจกรรมที่หลากหลายสำหรับทำร่วมกันระหว่างพ่อแม่ลูก อย่าให้เกมเป็นกิจกรรมเดียวที่ลูกทุ่มเทเวลาให้ รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนจะต้องหากิจกรรมที่สร้างสรรค์มารองรับในช่วงปิดเทอม ถึงแม้เป็นกิจกรรมการแก้ไขปัญหาปลายทาง แต่ยังดีกว่าปล่อยให้ปัญหาเกิดขึ้นแล้วไม่ได้รับการแก้ไข











ขอขอบคุณที่มา : http://www.iamchild.org/prsection/article/katom02.html
                          ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต





 













 
๏ปฟ












เธซเธ™เน‰เธฒเนเธฃเธ | เน€เธเธตเนˆเธขเธงเธเธฑเธšเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธ„เธฃเธทเธญเธ‚เนˆเธฒเธขเนเธฅเธฐเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธ–เธดเธ•เธด | เธเธฒเธฃเธˆเธฑเธ”เธเธฒเธฃเธ„เธงเธฒเธกเธฃเธนเน‰ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ•เธดเธ”เธ•เนˆเธญเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธˆเน‰เธฒเธซเธ™เน‰เธฒเธ—เธตเนˆเธ”เธนเนเธฅเธฃเธฐเธšเธš
เนเธ™เธฐเธ™เธณเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เนˆเธฒเธงเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เน€เธเธฒเธฐเธ•เธดเธ”เธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธกเน€เธ”เนˆเธ™ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™เธ—เธตเนˆเน€เธเธตเนˆเธขเธงเธ‚เน‰เธญเธ‡ | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™| เธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™เธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž| เธเน‰เธฒเธงเนƒเธซเธกเนˆเธเธฑเธš HISO | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธžเธ›เธฃเธฐเน€เธ—เธจเน„เธ—เธข
เธเธฒเธฃเธงเธดเน€เธ„เธฃเธฒเธฐเธซเนŒเธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เน€เธฃเธทเนˆเธญเธ‡เน€เธฅเนˆเธฒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธทเนˆเธญเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เนเธšเธšเธชเธณเธฃเธงเธˆเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | webbord | เธ„เธณเธ–เธฒเธกเธ—เธตเนˆเธžเธšเธšเนˆเธญเธข | เธชเธกเธธเธ”เน€เธขเธตเนˆเธขเธกเธŠเธก | เธšเธฃเธดเธเธฒเธฃเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅ