เรื่องเล่าข่าวสุขภาพ | สมรรถภาพร่างกาย | สุขภาวะทางจิต | สุขภาพกับความงาม | สื่อกับสุขภาพ | สมุนไพรเพื่อสุขภาพ | ธรรมะกับสุขภาพ






สื่อเพื่อเด็ก หรือเพื่อใคร


 

วันเสาร์ที่สองของเดือนมกราคมของทุกปี เป็นวันเด็กแห่งชาติเป็นเรื่องธรรมดาที่วันเด็กในแต่ละปี บุคคลสำคัญของประเทศ ตั้งแต่นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี บุคคลที่ทำงานเกี่ยวข้องกับเด็ก จะถ่ายทอดคำขวัญของตัวเองให้เด็กๆได้รับรู้ส่วนคำขวัญที่มอบให้เด็ก เด็กๆจะจดจำนำไปประพฤติปฏิบัติหรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่ง

แต่ละปีคำขวัญของผู้ใหญ่คงหนีไม่พ้นเรื่องคุณธรรม จริยธรรม ความมีวินัย ความรับผิดชอบ การเรียนรู้ในทางที่ถูกต้อง ผู้ใหญ่บอกเด็ก แต่ผู้ใหญ่ที่มีอำนาจในบ้านเมืองกลับทำตัวไม่เป็นตัวอย่างที่ดี มีข่าวในเรื่องโน้นเรื่องนี้อยู่ตลอดเวลา เขาจึงบอกว่าตัวอย่างที่ดีมีค่ามากกว่าคำสอน แล้วหากผู้ใหญ่เป็นแบบนี้จะไปสั่งสอนเด็กได้อย่างไร

โดยเฉพาะประเด็นการยื้อแย่งแข่งขัน การให้ได้มาซึ่งอำนาจ การยึดถือตัวเองเป็นใหญ่ การเอารัดเอาเปรียบกัน หลายหน่วยงานที่พร้อมใจกันจัดงานวันเด็กก็มุ่งแต่เรื่องของความสนุกสนานกันเป็นหลัก ส่วนจะประเทืองปัญญาหรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่ง

ปี 2550 ผมจึงอยากให้เป็นปีแห่งการเริ่มต้นที่เราจะมาใส่ใจปัญหาเด็กและเยาวชนอย่างจริงจัง ทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาเด็กให้ได้ ไม่ใช่ทำงานเพื่อหวังจะให้หน่วยงานหรือองค์กรของตนเองได้งบประมาณมาละเลงมากๆเข้าไว้

วันนี้ผมบอกตามตรง ผมยังฝากฝีฝากไข้กับกระทรวงที่เกี่ยวข้องไมได้ เพราะเป็นกระทรวงที่ตั้งขึ้นมาใหม่บทบาทหน้าที่ต่างๆยังไม่ชัดเจน แขนขาในการทำงานระดับภูมิภาคก็น้อยเต็มที ปี2550 ผมยังดีใจที่เริ่มมีการพูดคุยกันถึงเรื่องสื่อกับเยาวชนอย่างจริงจัง เห็นว่าเริ่มมีการจัดเรตติ้งรายการของสถานีโทรทัศน์ทุกช่อง ส่วนจะได้ผลหรือไม่ต้องติดตามกันต่อไป

เพราะอย่าลืมว่าสื่อต่างๆโดยเฉพาะสื่อเทคโนโลยีต่างๆมีมากมายเหลือเกินที่จะต้องควบคุมดูแล ยิ่งสื่อใดที่มีความล่อแหลม แต่สร้างรายได้มาก สื่อนั้นยิ่งต้องดูแลกันเป็นพิเศษ เพราะเสียงวิพากษ์วิจารณ์ที่มีต่อสื่อมวลชนทุกวันนี้ต่างพุ่งเป้าไปที่ “สาระ” ที่สื่อเสนอมา โดยเฉพาะสื่อโทรทัศน์ที่มีแต่เรื่อง “ร้ายสาระ” มุ่งแต่ความบันเทิง สร้างค่านิยมการบริโภคนิยม สร้างแบบอย่างที่ผิดๆ ประเภทหน้าต้องขาว นมต้องเด้ง ซึ่งเน้นเพียงรูปลักษณ์ภายนอก โดยละเลยความสำคัญเรื่องของพัฒนาการทางสติปัญญา

ซ้ำร้ายในจำนวนรายการมีสาระซึ่งมีอยู่น้อยนิด ก็ยังมีอันเป็นไปด้วยเหตุผลเชิงธุรกิจว่า ไม่สร้างกำไร สารคดีน่ารู้จำนวนหนึ่งจึงหลุดวงโคจรไป เรียกว่า รายการโทรทัศน์เกือบเข้าขั้นวิกฤติ กระทั่งต้องมีการรณรงค์ว่า ถ้าต้องการให้ลูกเป็นคนดี อย่าให้โทรทัศน์เลี้ยงลูก และอย่าปล่อยลูกหลานของท่านไว้กับจอโทรทัศน์

“สื่อ” มีอิทธิพลต่อความคิด การแสดงออกของผู้ชมโดยเฉพาะในกลุ่มเด็กเยาวชน ซึ่งเป็นวัยที่ยังขาดการยับยั้งชั่งใจ ไร้การไตร่ตรองอย่างหนักแน่นว่าสิ่งใดควร สิ่งใดไม่ควร และหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ต่างก็แสดงความห่วงใยต่อการรับสารของเด็กที่นับวัน จะเสพสารที่ไร้แก่นมากขึ้นทุกวัน จนกลัวว่าจะกลายเป็นการหล่อหลอมให้เด็กโตเกินวัย

มติคณะรัฐมนตรีของรัฐบาลชุดที่แล้วเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2546 กำหนดให้สื่อของรัฐ ต้องไม่มุ่งเน้นในเรื่องบันเทิงหรือมุ่งหากำไรในเชิงพาณิชย์ เท่านั้น ยังไม่เกิดผลในทางปฏิบัติเท่าที่ควร

ทั้งๆที่สื่อควรมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมมากขึ้น โดยการนำเวลาในการออกอากาศส่วนหนึ่งมาจัดทำรายการที่สร้างสรรค์สังคม เพื่อพัฒนา การศึกษาและการเรียนรู้ของเด็ก เยาวชน และครอบครัว

การดำเนินการตามแนวทางดังกล่าวสื่อเอกชนช่องอื่นๆที่ได้รับสัมปทานจากรัฐ ทั้งช่อง 3 ช่อง 7 ช่อง ITV(ที่ยังไม่รู้ว่าจะลงเอยแบบใด) และสื่ออื่นๆ เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่ อินเทอร์เน็ต วีซีดี ตู้เกม ควรดำเนินในทิศทางเดียวกัน โดยอาจมีการขอเวลาคืนจากเอกชนที่ได้รับสัมปทานมาส่วนหนึ่งเพื่อทำรายการสำหรับเด็กและครอบครัว

น่าเสียดายที่รายการดีๆที่เปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชนได้เรียนรู้กลับไปอยู่ในช่องเคเบิ้ลทีวี.ท้องถิ่น ซึ่งเยาวชนเปิดไปดูน้อยมาก และส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นสมาชิก ไม่มีจานดาวเทียมรับสัญญาณ

การทุ่มเททรัพยากรเพื่อพัฒนาเยาวชน เป็นเรื่องที่จำเป็น เป็นการลงทุนที่คุ้มค่า และผู้ใหญ่ควรเลิกพูดถึงกำไร-ขาดทุนในมิติเชิงธุรกิจได้แล้ว











ขอขอบคุณที่มา : http://www.thaichildrenright.net
                          ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต





 













 
๏ปฟ












เธซเธ™เน‰เธฒเนเธฃเธ | เน€เธเธตเนˆเธขเธงเธเธฑเธšเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธ„เธฃเธทเธญเธ‚เนˆเธฒเธขเนเธฅเธฐเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธ–เธดเธ•เธด | เธเธฒเธฃเธˆเธฑเธ”เธเธฒเธฃเธ„เธงเธฒเธกเธฃเธนเน‰ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ•เธดเธ”เธ•เนˆเธญเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธˆเน‰เธฒเธซเธ™เน‰เธฒเธ—เธตเนˆเธ”เธนเนเธฅเธฃเธฐเธšเธš
เนเธ™เธฐเธ™เธณเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เนˆเธฒเธงเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เน€เธเธฒเธฐเธ•เธดเธ”เธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธกเน€เธ”เนˆเธ™ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™เธ—เธตเนˆเน€เธเธตเนˆเธขเธงเธ‚เน‰เธญเธ‡ | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™| เธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™เธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž| เธเน‰เธฒเธงเนƒเธซเธกเนˆเธเธฑเธš HISO | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธžเธ›เธฃเธฐเน€เธ—เธจเน„เธ—เธข
เธเธฒเธฃเธงเธดเน€เธ„เธฃเธฒเธฐเธซเนŒเธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เน€เธฃเธทเนˆเธญเธ‡เน€เธฅเนˆเธฒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธทเนˆเธญเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เนเธšเธšเธชเธณเธฃเธงเธˆเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | webbord | เธ„เธณเธ–เธฒเธกเธ—เธตเนˆเธžเธšเธšเนˆเธญเธข | เธชเธกเธธเธ”เน€เธขเธตเนˆเธขเธกเธŠเธก | เธšเธฃเธดเธเธฒเธฃเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅ