เรื่องเล่าข่าวสุขภาพ | สมรรถภาพร่างกาย | สุขภาวะทางจิต | สุขภาพกับความงาม | สื่อกับสุขภาพ | สมุนไพรเพื่อสุขภาพ | ธรรมะกับสุขภาพ






ยุคข่าวสารไร้พรมแดน “สื่อ” เข้าครอบงำสังคม


 

             ในยุคสมัยนี้ ต้องยอมรับอิทธิพลของ ข่าวสารข้อมูลว่า มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจ ของคนในสังคมเป็นอย่างมาก บางคนต้องบริโภคข่าวสารอยู่ตลอดเวลา เช่น ผู้ที่อยู่ในวงการหุ้น วงการธุรกิจ อย่างเราๆท่านๆ ก็ต้องชมรายการข่าวทางทีวีทุกเช้า พลาดจากทีวี ก็ต้องอ่านหนังสือพิมพ์ หรือไม่ก็เปิดดูในอินเตอร์เน็ต ซึ่งบางคนก็อาจจะใช้บริการ SMS ส่งข่าวสารผ่านเครือข่ายโทรศัพท์มือถือตลอด 24 ชั่วโมง จึงใคร่ขอนำเสนอปัจจัยอะไรที่เข้ามาเกี่ยวข้องในแง่ของทฤษฎีทางจิตวิทยา ความรู้ที่ได้จากการวิจัย รวมทั้งผลที่ปรากฏในสังคม ทฤษฎีทางการสื่อสารที่เข้ามาเกี่ยวข้อง ได้แก่


             ทฤษฎีเข็มฉีดยา (Hypodermic needle Theory) ที่เชื่อว่าองค์กรหรือผู้ส่งข่าวสาร  เป็นผู้มีอำนาจและบทบาทสำคัญที่สุด เพราะสามารถกำหนดข่าวสารและส่งข่าวสารไปยังผู้รับ โดยการคาดคะเนผลที่จะเกิดขึ้นได้ คล้ายกับหมอ ที่ฉีดยารักษาผู้ป่วย ข่าวสารที่ส่งไปจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อผู้รับได้โดยตรง อย่างกว้างขวาง และให้ผลทันที ฝ่ายผู้รับข่าวสารเป็นคนจำนวนมาก จะมีปฏิกิริยา หรือพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปตามที่ผู้ส่งข่าวสารต้องการโดยจะไม่มีอำนาจควบคุมผู้ส่งข่าวสารได้ ทฤษฎีนี้ถือว่า ผู้มีอำนาจในการตัดสินใจและเข้าใจสถานการณ์  สามารถใช้สื่อมวลชนทำให้เกิดผลตามที่ตนเองต้องการได้ ทฤษฎีเข็มฉีดยา จะมีอิทธิพลมากในสังคมประเทศเผด็จการ


             ทฤษฎีอิทธิพลอันจำกัดของสื่อมวลชน (Limited Effects of Mass media Theory) ที่ได้ระบุไว้ว่าการที่มนุษย์จะได้ยิน ได้เห็นข้อมูลข่าวสารต่างๆ จากสื่อมวลชน โดยที่มนุษย์แต่ละคนมีการกล่อมเกลา ปลูกฝัง ประสบการณ์ มีความนึกคิดที่แตกต่างกัน จากครอบครัว สถาบันการศึกษา สถาบันศาสนา สถาบันการเมือง สามารถเป็น “วัคซีน” หรือ “ภูมิคุ้มกัน” ที่ช่วยป้องกันอิทธิพลการครอบงำจากสื่อมวลชนได้ ประการหนึ่ง


             ทฤษฎีการจัดวาระ (Agenda Setting Theory) เน้นศึกษาอิทธิพลของสื่อในเรื่องของความรู้(Cognitive Theory) มีมุมมองว่า สื่อมวลชน จะสื่อสารเรื่องราวต่างๆ ที่จะทำให้ผู้คนสนใจติดตามเรื่องราวนั้น เรื่องใดที่สื่อให้ความสำคัญก็จะสื่อสารบ่อยๆ ให้พื้นที่และให้เวลากับเรื่องนั้นมากเป็นพิเศษ จนทำให้ผู้คนคิดว่า เรื่องดังกล่าว เป็นเรื่องที่น่าสนใจ และต้องให้ความสำคัญ ซึ่งในสภาพปัจจุบัน สื่อมวลชน จะเป็นผู้ที่สะท้อนความเป็นจริง(Reflecting reality)และอาจจะเป็นผู้สร้างความจริงเทียม(Creating pseudo reality) โดยการนำเสนอข่าวสารในบางประเด็นให้มีความสำคัญเกินความเป็นจริงยังมี การศึกษาของ โฮบาน (Hoban) และแวน โอร์เมอร์ (Van Ormer)ได้วิจัยและรวบรวมงานวิจัยของนักวิจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างหลักการและทฤษฎีทางจิตวิทยาการศึกษา พบว่าสื่อจะมีอิทธิพลต่อจิตใจมนุษย์ ด้วยหลักการดังนี้


             1. หลักการเสริมแรง (Principle of Reinforcement)  จะมีอิทธิพลจูงใจผู้รับสารมากที่สุดเมื่อมีเนื้อหาที่สามารถขยายประสบการณ์เดิม และส่งเสริมสนองเจตคติที่ผ่านมา แต่จะมีอิทธิพลน้อยที่สุด เมื่อ การเสนอเนื้อหาที่ผู้รับมีพื้นฐานความรู้น้อย และมีความขัดแย้งกับเจตคติเดิม


             2. หลักการให้ความรู้เฉพาะเจาะจง (Principle of Specify) จะมีอิทธิพลต่อผู้รับมาก ถ้าหากสร้างขึ้นมาเพื่อให้ข้อมูลโดยเฉพาะเกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ เช่น พูดเรื่อง พรรคการเมือง ผู้ที่ชอบเรื่องนี้ก็จะติดตามข่าว เกาะติดแหล่งข่าว


             3. หลักความสัมพันธ์ (Principle of Relevance) ถ้ามีความสัมพันธ์โดยตรงกับแรงจูงใจภายในและปฏิกิริยาของผู้รับสารที่กำลังประสบอยู่จะมีอิทธิพลมาก เช่น ข่าวการขอบริจาคช่วยผู้ประสบภัยทางธรรมชาติ ย่อมเป็นที่สนใจแก่ผู้ที่มีทรัพย์และมีใจกุศล


             4. หลักคุณสมบัติเฉพาะของผู้เรียน (Principle of Audience Variability) คุณลักษณะเฉพาะของผู้รับสารซึ่งได้แก่ ความคิด การศึกษา อายุ เพศ ประสบการณ์เดิมเกี่ยวกับเนื้อหาและข้อเสนอของ สื่อ


             5. หลักการใช้ภาพประกอบเนื้อหา (Principle of Pictorial Context) ผู้รับสารจะเลือกตอบ
สนองกับสิ่งที่เห็น ภาพที่คุ้นเคย รวมทั้งปรากฏการณ์ที่สอดคล้องกับเจตคติ ที่ตนเคยเชื่อถือมาก่อนสื่อจะใช้วิธีการเสนอซ้ำ บ่อยๆ


             6. หลักของความเป็นรูปธรรม (Principle of Subjectivity)  ผู้รับสารจะตอบสนองต่อเนื้อหาที่นำเสนอนั้นอย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อภาพเหล่านั้นมีความเป็นรูปธรรมสำหรับเขา สิ่งที่มีอิทธิพลต่อวัยรุ่นมากที่สุดเห็นจะเป็นสื่อมวลชน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ความรู้สึกนึกคิดของวัยรุ่นเปลี่ยนแปลงไปจนทำให้เกิดช่องว่างทางความคิด ระหว่างคนรุ่นพ่อแม่ กับ เยาวชนคนรุ่นใหม่ เด็กจะเลียนแบบซึมซับมาจากผู้ที่อยู่ใกล้ตัว ในโรงเรียนมีเด็กที่พฤติกรรมก้าวร้าวก่อเหตุ ก่อการทะเลาะวิวาท ก็จะทำให้เด็กก้าวร้าว บางทีเด็กก็เลียนแบบครูเช่น ครูเข้มงวด ลงโทษรุนแรง เสียงดัง เด็กจะเลียนแบบอิทธิพลของสื่อ สื่อที่รุนแรงจะมีอิทธิพลให้เกิดการเลียนแบบ เช่น ข่าวอาชญากรรม ข่าวความรุนแรง ข่าวสงครามภาพยนตร์ที่มีเนื้อหารุนแรง ต่อสู้กัน หนังสือสืบสวน การ์ตูนที่มีเนื้อหารุนแรงต่อสู้กัน ก็จะส่งผลให้เด็กอ่านแล้วมีจินตนาการและเกิดการเลียนแบบ เห็นได้จากการที่เด็กก่ออาชญากรรมหลายคดี โดยบอกว่าเลียนแบบมาจากหนัง “เกิดพฤติกรรมการเลียนแบบ” หรือที่เรียกว่า “Copy Cat” ไม่ว่าจะเป็นการแต่งกายตามแฟชั่น การก่ออาชญากรรม การก่อม็อบ การใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา ฯลฯทั้งนี้เป็นผลมาจาก การกระทำของสื่อ ดังนี้


             1. การลงข่าวครึกโครม โดยการพาดหัวข่าว ที่สะดุดตา ใช้ถ้อยคำรุนแรงนำมาขึ้นหน้าปก การเชิญออกรายการ
                 ทีวี การโพสต์ทางอินเตอร์เน็ต ซึ่งทำให้ดูเหมือนเป็นการให้ความสำคัญต่อข่าวสารดังกล่าว
             2. ใช้ภาพ สีสัน และวิธีการต่างๆ อย่างละเอียด เหมือนเป็นการแนะนำให้ความรู้ แก่ผู้รับสาร
             3. ให้สีสันของข่าวสาร จนน่าสนใจ น่าติดตาม
             4. การพยายามกระทำให้เห็นว่าพฤติกรรมในข่าวเป็นจุดเด่น เป็นฮีโร่ เป็นสิ่งที่น่าเลียนแบบ ถ้าสื่อมวลชนมีการ
                 ปรับบทบาทของตนเอง รวมทั้งรูปแบบการนำเสนอข่าวสารในมุมมองที่สร้างสรรค์ขึ้น อาทิเช่น

             อิทธิพลของสื่อ มีผลต่อพฤติกรรมในชีวิตประจำวันของคนในสังคม ก็จำเป็นที่ทุกคนในสังคมต้องสร้าง “ภูมิคุ้มกันข่าวสาร” (Mass Vaccine) กลไกของสังคมไม่ว่าจะเป็นนโยบายภาครัฐ การให้การศึกษาในสถาบันการศึกษา
การอบรมเลี้ยงดูจากสถาบันครอบครัว การขัดเกลาจากสถาบันศาสนา การให้ความรู้จากสถาบันเศรษฐกิจ การห่วงใยกันจากสถาบันสังคม ซึ่งความหลากหลายเหล่านี้จะเป็นองค์ประกอบแห่งการนำพาให้ผู้คนในสังคมไทย พ้นจากการครอบงำของสื่อ จะเป็นผู้บริโภคสื่อด้วย ความเข้าใจ อย่างมีความสุข.











ขอขอบคุณที่มา : http://www.fridaycollege.org
                          ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต





 













 
๏ปฟ












เธซเธ™เน‰เธฒเนเธฃเธ | เน€เธเธตเนˆเธขเธงเธเธฑเธšเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธ„เธฃเธทเธญเธ‚เนˆเธฒเธขเนเธฅเธฐเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธ–เธดเธ•เธด | เธเธฒเธฃเธˆเธฑเธ”เธเธฒเธฃเธ„เธงเธฒเธกเธฃเธนเน‰ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ•เธดเธ”เธ•เนˆเธญเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธˆเน‰เธฒเธซเธ™เน‰เธฒเธ—เธตเนˆเธ”เธนเนเธฅเธฃเธฐเธšเธš
เนเธ™เธฐเธ™เธณเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เนˆเธฒเธงเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เน€เธเธฒเธฐเธ•เธดเธ”เธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธกเน€เธ”เนˆเธ™ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™เธ—เธตเนˆเน€เธเธตเนˆเธขเธงเธ‚เน‰เธญเธ‡ | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™| เธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™เธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž| เธเน‰เธฒเธงเนƒเธซเธกเนˆเธเธฑเธš HISO | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธžเธ›เธฃเธฐเน€เธ—เธจเน„เธ—เธข
เธเธฒเธฃเธงเธดเน€เธ„เธฃเธฒเธฐเธซเนŒเธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เน€เธฃเธทเนˆเธญเธ‡เน€เธฅเนˆเธฒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธทเนˆเธญเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เนเธšเธšเธชเธณเธฃเธงเธˆเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | webbord | เธ„เธณเธ–เธฒเธกเธ—เธตเนˆเธžเธšเธšเนˆเธญเธข | เธชเธกเธธเธ”เน€เธขเธตเนˆเธขเธกเธŠเธก | เธšเธฃเธดเธเธฒเธฃเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅ