เรื่องเล่าข่าวสุขภาพ | สมรรถภาพร่างกาย | สุขภาวะทางจิต | สุขภาพกับความงาม | สื่อกับสุขภาพ | สมุนไพรเพื่อสุขภาพ | ธรรมะกับสุขภาพ






วิจัยกล้วยไข่ให้ผิวสวย ใช้อุณหภูมิควบคุมการตกกระ


 
       

             กล้วยไข่...หนึ่งในปัญหาที่ทำให้ถูกกดราคา หรือหนักสุดคือส่งขายไม่ได้ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ส่งออกมักประสบบ่อยครั้ง คือผิวของเปลือกเป็น กระ

             เพื่อที่จะลดปัญหานี้ลง ศ.ดร.สายชล เกตุษา ภาควิชาพืชสวนคณะเกษตร มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ เมธีวิจัยอาวุโส ได้รับทุนสนับสนุน การวิจัยจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)ให้ทำการศึกษาวิจัยกล้วยไข่ทั้งก่อนและหลังการเก็บเกี่ยวเพื่อหาสาเหตุ


                ในการศึกษาเก็บข้อมูลได้ใช้ถุงพลาสติกคลุมเครือกล้วย ควบคู่กับการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อโรคทั้งก่อน-หลังการเก็บเกี่ยว อีกทั้งยังเก็บรักษาผลกล้วยให้สุกในสภาพปลอดเชื้อ-โรค แต่ก็ยังพบการตกกระของผลกล้วยไข่อยู่

                ศ.ดร.สายชล...จึงสันนิษฐานว่า การตกกระของกล้วยไข่สุก สาเหตุเบื้องต้นไม่ได้เกิดจากเชื้อโรคอย่างแน่นอน และ คงเกิดจากการที่ปล่อยทิ้งไว้ให้กล้วยงอมเต็มที่

                ซึ่งจะทำให้เนื้อเยื่อบริเวณที่เกิดรอยตกกระเกิดรอยบุ๋ม ส่งผลให้น้ำบริเวณรอบข้างไหลเข้ามาทดแทน อันเป็นเหตุทำให้เนื้อเยื่อติดเชื้อได้ง่าย กระทั่งผิวของกล้วยไข่กลายเป็นสีดำ ด้วยเหตุนี้ทางคณะวิจัยฯ จึงได้เริ่มศึกษาเปรียบ เทียบกับการเกิดสีน้ำตาล (browning)ของเนื้อเยื่อพืชชนิดต่างๆ อาทิ สีขาวของผลแอปเปิลที่ตากลมไว้เกิดสีน้ำตาล การเกิดสีผิดปกติของผลิตผลเขตร้อน เมื่ออยู่ภายใต้อุณหภูมิต่ำเหนือจุดเยือกแข็ง(chilling injury; 0-12 C)และการเกิดจุดสีน้ำตาลของผักกาดหอมห่อ(rusett spotting)

                ผลที่ได้พบว่าเมื่อได้รับเอทิลีนที่อุณหภูมิต่ำ สีน้ำตาลที่เกิดขึ้นมาเกิดจากการทำปฏิกิริยาของเอนไซม์ กับสารฟีนอลิก ในสภาวะที่มีออกซิเจน โดยเม็ดสีเหล่านี้จะรวมตัวกันเป็นโมเลกุลขนาดใหญ่และตกตะกอนอยู่ตามเนื้อเยื่อของพืช

                และ...เมื่อนำกลับมาไว้ในห้อง กล้วยไข่จะยังคงตกกระเช่นเดิม หากนำไปไว้ที่อุณหภูมิ 42 ํC นาน 6-24 ชม.ก็จะสามารถยับยั้งการตกกระของกล้วยไข่ได้อย่างถาวร อีกทั้งความชื้นสัมพัทธ์ในบรรยากาศ จะช่วยให้การตกกระเพิ่มมากขึ้นเมื่อมีความชื้นมากกว่า 95 เปอร์เซ็นต์

                เมื่อทราบถึงปัจจัยเหล่านี้จึงได้คิดวิธีการชะลอการตกกระขึ้น ด้วยวิธีการเก็บรักษากล้วยไข่สุกในบริเวณที่มีอุณหภูมิ 12-18 C หรือช่องแช่เย็นปกติ ซึ่งจะช่วยลดการตกกระได้นาน 5 วัน ใช้พลาสติกฟิล์มพีวีซี (PVC Film) หรือพลาสติกที่ยอมให้อากาศถ่ายเท ห่อผลกล้วยไข่เพื่อควบคุมปริมาณออกซิเจนให้เหลือน้อยที่สุด การใช้สารเคลือบผิว  เพื่อลดการหายใจด้วยออกซิเจนของผลกล้วยไข่

                จากการวิจัยและศึกษาการตกกระของกล้วยไข่  ได้ถูกนำมาใช้ป้องกันผิวของผลกล้วยโดยมีการนำกล้วยไข่ไปบรรจุในภาชนะ จานโฟมและห่อด้วยพลาสติก หรือแช่เก็บในชั้นวางของที่มอุณหภูมิ 12-18 C เหล่านี้ก็ “เพื่อชะลอการตกกระของกล้วยไข่และดึงดูดใจผู้บริโภค”

                นอกจากจะลดปัญหาการตกกระแล้ว สิ่งสำคัญที่สุดที่คณะวิจัยได้รับรู้ ต้องการ คือความเข้าใจในธรรมชาติของกล้วยไข่ว่าจุดตกกระเกิดขึ้น เมื่อกล้วยไข่นั้นสุกมิใช่เกิดจากโรคแต่อย่างใด











ขอขอบคุณที่มา : 
                           ปีที่ 58 ฉบับที่ 17961
                           วันจันทร์ ที่ 26 มีนาคม 2550
                           ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต





 













 
๏ปฟ












เธซเธ™เน‰เธฒเนเธฃเธ | เน€เธเธตเนˆเธขเธงเธเธฑเธšเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธ„เธฃเธทเธญเธ‚เนˆเธฒเธขเนเธฅเธฐเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธ–เธดเธ•เธด | เธเธฒเธฃเธˆเธฑเธ”เธเธฒเธฃเธ„เธงเธฒเธกเธฃเธนเน‰ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™ | เธ•เธดเธ”เธ•เนˆเธญเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เน€เธˆเน‰เธฒเธซเธ™เน‰เธฒเธ—เธตเนˆเธ”เธนเนเธฅเธฃเธฐเธšเธš
เนเธ™เธฐเธ™เธณเนเธœเธ™เธ‡เธฒเธ™ | เธ‚เนˆเธฒเธงเธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธก | เน€เธเธฒเธฐเธ•เธดเธ”เธเธดเธˆเธเธฃเธฃเธกเน€เธ”เนˆเธ™ | เธซเธ™เนˆเธงเธขเธ‡เธฒเธ™เธ—เธตเนˆเน€เธเธตเนˆเธขเธงเธ‚เน‰เธญเธ‡ | เธœเธฅเธœเธฅเธดเธ•เนเธฅเธฐเธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™| เธฃเธฒเธขเธ‡เธฒเธ™เธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž| เธเน‰เธฒเธงเนƒเธซเธกเนˆเธเธฑเธš HISO | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธžเธ›เธฃเธฐเน€เธ—เธจเน„เธ—เธข
เธเธฒเธฃเธงเธดเน€เธ„เธฃเธฒเธฐเธซเนŒเธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธ–เธฒเธ™เธเธฒเธฃเธ“เนŒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เน€เธฃเธทเนˆเธญเธ‡เน€เธฅเนˆเธฒเธ‚เนˆเธฒเธงเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เธชเธทเนˆเธญเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | เนเธšเธšเธชเธณเธฃเธงเธˆเธชเธธเธ‚เธ เธฒเธž | webbord | เธ„เธณเธ–เธฒเธกเธ—เธตเนˆเธžเธšเธšเนˆเธญเธข | เธชเธกเธธเธ”เน€เธขเธตเนˆเธขเธกเธŠเธก | เธšเธฃเธดเธเธฒเธฃเธ‚เน‰เธญเธกเธนเธฅ